Future Economy 2025: Powered by Technology
-
04/02/2025
-
13.00 – 16.00
-
โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ
เราสามารถที่จะมีชีวิตที่ดีได้โดยคำนึงถึงหลักสี่ประการ
อย่างแรกก็คือการตระหนักรู้ลงเป็นปัจจุบัน (Awareness) รวมไปถึงความสามารถของจิตของเราที่จะมุ่งโฟกัสไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและลดในเรื่องของการความคิดที่กระจัดกระจายหาจุดโฟกัสไม่เจอ ซึ่งคุณภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทางสมองเรียกว่า Meta-Awareness ซึ่งเป็นความรู้สึกที่รู้ว่าตอนนี้จิตของเราทำอะไรอยู่ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราอ่านหนังสือและเรามีความรู้สึกว่าเราไม่ได้จดจ่อกับหนังสือ ที่เราอ่านแล้วเรากลับมารู้สึกตัวอีกครั้งนึงสิ่งเหล่านี้เรียกว่า Meta Awareness นั่นเอง
ส่วนที่สองเรียกว่า Connection หรือการเชื่อมโยงทางความรู้สึกกับผู้อื่น การเชื่อมโยงเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่เรามีกับผู้อื่น รวมถึงคุณสมบัติอย่างอื่นยกตัวอย่างเช่น ความชื่นชม ความรัก ความเมตตา การมีมุมมองที่ดีในการใช้ชีวิต แล้วก็การวิจัยที่บอกว่ามันได้ใช้พลังงานมากมายเลยในการที่จะเริ่มในสิ่งเหล่านี้
หลักการที่สามจะเป็นเรื่องของความเข้าใจตัวเองหรือว่า Insight Insight เป็นเหมือนกับบทภาพยนตร์ที่เราบอกให้กับตัวเราเองนั่นเองว่า เราเป็นใครและมีความรู้สึกยังไงบ้าง และที่สำคัญเราเอาเรื่องร้ายร้าย เรื่องลบลบ ออกจากบทภาพยนตร์ที่มีชื่อว่าตัวเราได้อย่างไร รวมถึงบทที่ทำให้เรารู้สึกเศร้ารวมไปถึงโอกาสใหม่ใหม่ที่เราเปิดให้กับตัวเองได้บ้างไหม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเริ่มความสัมพันธ์ครั้งใหม่ หรือการแก้ไขความสัมพันธ์ที่ผ่านมาที่ไม่ได้เป็นอย่างที่ใจเราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัวกับเพื่อนร่วมงานหรือกับคนที่เรารัก สิ่งเหล่านี้เราเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องเริ่มจากความเชืื่อของเราก่อน
ส่วนสุดท้ายเป็นเรื่องของเป้าประสงค์ (Purpose) นั่นก็คือว่าเรามีจุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิตที่สูงกว่าตัวเราเองได้อย่างไรเราอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของคนอื่นได้อย่างไร ซึ่งการมีมีชีวิตที่มีเป้าประสงค์อาจจะไม่ใช่หมายถึงการไปสร้างอะไรที่ยิ่งใหญ่ทุกครั้ง แต่รวมไปถึงกิจกรรมปกติสามัญที่เราทำยกตัวอย่างเช่น การเอาขยะไปทิ้งการออกไปเดินเล่นนั่นเอง ซึ่งมันก็จะสะท้อนว่ากิจกรรมเหล่านี้มันกลับมาตอบโจทย์ชีวิตของเราอย่างไรกันแน่ ไม่ว่าจะเป็นการทำประโยชน์ให้ผู้อื่นและชุมชน การไม่เป็นภาระให้กับคนอื่น การส่งมอบองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ ยอมสร้างผลกระทบอันใหญ่หลวงให้กับ สุขภาพ และสภาวะทางจิตใจที่ดีให้กับเรานั้นเอง
ดังนั้นด้วยข้อมูลที่นำมาพูดข้างต้น คงจะเพียงพอที่จะทำให้ทุกคนได้เริ่มที่จะโน้มน้าวว่ าถ้าอย่างนั้นเรามาฝึกเจริญสติหรืออยู่กับปัจจุบันดีกว่า คำถามแรกก็คือแล้วเราจะเริ่มได้ยังไงมี สองวิธีที่เราสามารถที่จะเรียนรู้ในสิ่งเหล่านั้นได้
อันแรกเป็นสิ่งที่เรียกว่าความพยายามจะเข้าใจในตัวเนื้อหาหรือการเรียนรู้ในสิ่งที่เราอยากจะพัฒนาเพิ่มเติมซึ่งเราจะพยามที่จะเรียนรู้ในเรื่องของความเมตตากรุณา ความใจดี การยกย่องชื่นชมของคนอื่น เพื่อที่จะเข้าใจว่ามันมีขบวน กระบวนการยังไงมันมีสเต็ปยังไงมีตัวเลขมีงานวิจัยยังไงแ ต่อย่างที่เราพอที่จะเข้าใจได้ก็คือว่ามันก็ยังมีข้อจำกัดอยู่
รูปแบบที่สองจะเป็นขบวนการนำเอาไปปฏิบัติจริงๆ ซึ่งในทางของวิทยาศาสตร์ทางสมองก็ได้บอกว่าคนเราสามารถจะปรับเปลี่ยนสภาพของสมองของเราได้ ถ้าเราเริ่มทำอะไรที่แตกต่างเมื่อนั้นสมองเองก็จะเริ่มปรับเปลี่ยนแล้วก็ทรานฟอร์มทักษะความสามารถของสมองเพื่อเปลี่ยนสมองได้ มีตัวอย่างในงานวิจัยที่ระบุว่า ให้กลุ่มของผู้ทำการทดลองได้ลองฝึกในสิ่งที่เรียกว่า การฝึกที่จะมีความเมตตา (Compession Training) เป็นเวลาสองอาทิตย์ สิ่งที่พบก็คือว่าเมื่อเราลองสแกนสมองของผู้ร่วมทำการวิจัยก่อนและหลังการฝึกเจริญเมตตาเราจะพบว่าจะมีความแตกต่างที่เห็นอย่างชัดเจน โดยที่คนที่ทำการฝึกมาเป็นเวลา 7 ชั่วโมงเราจะเริ่มเห็นสมองในส่วนที่ใช้ในเรื่องของความรู้สึกที่เป็นบวกมีกิจกรรมที่แข็งแรงมากขึ้น และรวมไปถึงข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นว่าสมองของเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เนี่ยอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงถาวร แต่ประเด็นก็คือถ้าเราทำอยู่เรื่อยเรื่อยและสม่ำเสมอการเปลี่ยนแปลงนั้นก็สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
กล่าวโดยสรุปนั่นก็คือการเจริญสติการกลับมาอยู่กับปัจจุบันเป็นสิ่งที่โลกใบนี้ต้องการอย่างเร่งด่วน เพราะในเมื่อเราเองก็เกิดมาแล้วแทนที่จะหายใจทิ้งไปวันวันหรือปล่อยให้จิตของเราสร้างความทุกข์ให้กับเราเพราะว่าเราไม่ได้มีหลักยึด ให้จิตได้กลับมาสู่บ้านที่แท้จริงเราก็คงพูดได้ว่า เราใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพที่เรามีอยู่ และในเมื่อทุกคนต้องการความสุขและปฏิเสธความทุกข์ ดังนั้นต้นทางที่จำเป็นนั้นก็คือการเจริญสตินั่นเอง
latest Events
GET IN TOUCH
© 2022 ADGES. All rights reserved