ขับเคลื่อนความเป็นผู้นำของคุณด้วย “สติ”
ทักษะของผู้นำที่จำเป็นในปัจจุบันนั้นไม่เหมือนกับทักษะที่เป็นที่นิยมเมื่อหลายสิบปีก่อน ยุคสมัยของผู้นำแบบใหม่ไม่ใช่เพียงแค่เกิดขึ้น แต่กลายเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเราจะไม่ส่งเสริมผู้นำที่สร้างอำนาจด้วยการคุกคาม (Command) และความก้าวร้าว (Control) ในทางกลับกัน ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ นักฟัง และนักประสานงาน ซึ่งสามารถรักษาสมดุลของผลประโยชน์ระยะสั้นกับความต้องการระยะยาวนั้นจึงปรากฏขึ้นมา เพราะผู้นำเหล่านี้เข้าใจว่าในขณะที่กำลังเป็นผู้นำ การตัดสินใจของผู้นำนั้นจะส่งผลกระทบต่อส่วนรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือสังคมที่ผู้นำมีส่วนร่วมด้วย
แน่นอนว่าทักษะเหล่านี้สามารถสอนกันได้ แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานของทักษะทั้งหมดนั้นคือ “สติ”
“การมีสติ คือ ความตระหนักรู้ที่เกิดจากการเอาใจใส่ เป็นไปตามเจตนา อยู่ในขณะปัจจุบัน และไม่ตัดสิน โดยการทำสมาธิเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างสติ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเข้าใจผิดที่มักเกิดขึ้นว่าการทำสมาธิไม่ได้ช่วยทำให้จิตใจปลอดโปร่ง”
ธรรมชาติของจิต คือ การคิดสำรวจ ไม่ว่าคุณจะทำสมาธิบ่อยแค่ไหน จิตก็มักจะฟุ้งซ่านและความคิดต่างๆ มักจะปรากฏขึ้นมา ซึ่งคือสิ่งที่จิตกระทำเป็นปกติ ดังนั้นพลังจึงอยู่ที่การฝึกการตอบสนองและการสังเกตการเดินทางของจิต
การทำสมาธิจึงเป็นการสร้างความเคยชินให้จิตกลับมายังขณะปัจจุบัน ด้วยการสังเกตว่าจิตล่องลอยไปเมื่อใดและที่ใด และนำจิตกลับมายังขณะปัจจุบันโดยไม่ตัดสิน การฝึกสมาธิเหล่านี้จึงเป็นแกนหลักในเกือบทุกทักษะความเป็นผู้นำที่ต้องมีเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ
เพราะอะไรจึงบอกว่า “สติ” จึงเปรียบเสมือนหัวใจแห่งทักษะการเป็นผู้นำ
1. สติทำให้เกิดความตั้งใจ (Mindfulness fosters intentionality)
ในการทำสมาธิ การฝึกจิตให้กลับมาอยู่กับปัจจุบันหรือกลับไปที่เป้าหมายซ้ำไปซ้ำมา การฝึกนั้นสร้างความแข็งแรงให้กับระบบประสาท เพื่อที่ว่าเมื่อจิตใจของเราล่องลอยหรือเมื่อความสนใจของเราหลุดไป ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวันหรือในห้องประชุม เราจะสามารถโฟกัสใหม่ได้ง่ายขึ้น
ในการประชุม เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะจมอยู่กับความคิด เรื่องสำคัญ หรือการนำเสนอที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเบี่ยงเบนความสนใจจากการเก็บเกี่ยวรายละเอียดที่สำคัญและจำเป็น การฝึกความตั้งใจนี้จึงจะช่วยให้เราอยู่ในความเป็นจริง
2. สติช่วยลดปฏิกิริยาตอบโต้ (Mindfulness mitigates reactive tendencies)
ปฏิกิริยาท่าทีบางอย่างเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของความเป็นผู้นำอย่างมีนัยยะสำคัญ ผู้นำบางคนระเบิดอารมณ์ออกมา บางคนตอบสนองด้วยความเงียบงัน ในขณะที่บางคนเลือกทำเป็นตามน้ำไป แน่นอนว่าเมื่อมีการตอบโต้ สมองของเราเสมือนถูกดึงเข้าสู่สภาวะแห่งความกลัวหรือความโกรธ ซึ่งบั่นทอนความสามารถในการตอบสนองอย่างรอบคอบ
เมื่อเราพัฒนาทักษะในการสังเกตโดยไม่มีอคติ เราจะมีแนวโน้มที่จะหยุดยั้งการกระทำชั่วคราว ซึ่งการหยุดชั่วคราวนั้นทำให้เราสามารถโต้ตอบได้ดังใจ อีกทั้งยังเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดได้อย่างตั้งใจ
ในท้ายที่สุด การหยุดชั่วคราวนั้นไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการตอบสนองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการตอบสนองด้วย ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่ใช่แค่สิ่งที่คุณพูด แต่เป็นวิธีการที่คุณพูด”
3. สติช่วยบ่มเพาะดุลยพินิจที่สร้างสรรค์ (Mindfulness cultivates creativity)
เมื่อเราหลุดจากภวังค์ของการตอบโต้ ซึ่งมักถูกขับเคลื่อนด้วยความวิตกกังวลและความกลัว เราจึงมีพื้นที่สำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเมื่อความกลัวและความวิตกกังวลเข้าครอบงำ สมองของเรากลายเป็นเหมือนวงออร์เคสตราที่เล่นผิดพลาด เราจะได้ยินแต่เสียงไวโอลินและทรอมโบนที่เพี้ยนเท่านั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ยินสิ่งอื่น
ดังนั้น การทำสมาธิไม่เพียงช่วยให้เราตระหนักถึงความต้องการที่ตอบโต้และเลือกการกระทำที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราได้ยินเสียงซิมโฟนีที่เหลือและช่องว่างระหว่างโน้ตด้วย ซึ่งดุลยพินิจที่สร้างสรรค์จะเกิดขึ้นเสมอในชั่วขณะนั้น
4. สติก่อให้เกิดมุมมองที่กว้างขึ้น (Mindfulness facilitates broader perspective)
เมื่อการฝึกทำสมาธิเริ่มกลายเป็นนิสัย ความตระหนักรู้ก็จะมากขึ้นด้วยเช่นกัน การสังเกตเห็นว่าจิตใจได้ล่องลอยไปโดยไม่ตัดสินแต่เต็มไปด้วยความตระหนักรู้ ทำให้เราสามารถเข้าถึงความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเรา นิสัยของเรา และช่วงเวลาปัจจุบัน ในมุมมองที่กว้างขึ้นนี้ส่งจะช่วยเสริมวิจารณญาณที่ดีขึ้น
5. สติช่วยเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ (Mindfulness increases emotional intelligence (EI or EQ))
ชุดความคิดในสมัยก่อนเชื่อว่าไม่มีที่ว่างสำหรับอารมณ์ในที่ทำงาน แต่งานวิจัยและกรณีศึกษาในปัจจุบัน ได้แสดงให้เห็นว่า EQ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นผู้นำที่ดี
การทำสมาธิเพิ่ม EQ ผ่านการเพิ่มความสามารถในการหยุดยั้งและตรวจสอบก่อนตอบสนอง เช่นเดียวกับการพัฒนาความตระหนักรู้ที่สม่ำเสมอและไม่ตัดสิน ซึ่งทักษะทั้งสองนี้ส่งเสริมองค์ประกอบสำคัญของ EQ รวมถึงการตระหนักรู้ในตนเอง ความเอาใจใส่ การควบคุมตนเอง และทักษะทางสังคม
การทำสมาธิสามารถช่วยจัดระบบและเสริมสร้างส่วนต่างๆ ของสมองได้ ไม่เพียงด้านความใส่ใจและความเห็นอกเห็นใจ แต่รวมถึงความทรงจำและการเรียนรู้ อีกทั้งยังสามารถจัดระบบกับส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดได้อีกด้วย เช่นเดียวกับการออกกำลังกาย การฝึกสติและทำสมาธิเป็นการฝึกฝนที่ต้องอาศัยความสม่ำเสมอ แต่คำตอบที่มักได้ยิน คือ “ไม่มีเวลา” ทั้งที่มันสามารถเริ่มได้ด้วยเวลาเพียงไม่กี่นาที แม้ว่าประโยชน์ที่ได้รับจะครอบคลุมในด้านความเป็นผู้นำ แต่อันที่จริงการฝึกสติจะส่งผลต่อทุกด้านของชีวิต
ADGES พัฒนาความเป็น Leadership ให้เหมาะสมกับองค์กรและคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วยเครื่องมือพัฒนาความเป็นผู้นำ ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรของคุณโดยเฉพาะ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ e-mail : info@adges.net Tel : 088-028-111 Website www.adges.net
Source: www.forbes.com