Mindfulness

  • สติที่ให้สันติสุขภายใน: ‘หลุมหลบภัย’ ใจให้สงบสุขด้วยพลังของ ‘สติ’ 

    บทความดีๆจากดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ ที่ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการขบวนการ “สว. สูงวัยไปต่อ” ทางคลื่น FM 96.0 Mhz. โดยคุณจารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล ผู้ดำเนินรายการ  วิธีการสร้างหลุมหลบภัยหรือการอยู่อย่างมีความสุขท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว อีกทั้งปัจจุบันสภาพแวดล้อมและสังคมมีความวุ่นวาย จึงมักมีแรงปะทะส่งผลกระทบทางจิตใจอยู่เสมอ   ปกติสิ่งที่มนุษย์คนหนึ่งต้องเจอในทุกคน คือรูปแบบ เริ่มจากวัยเรียน วัยทำงาน วัยเกษียณ โดยระหว่างทางจะต้องมีสิ่งที่กระทบเข้ามาในแต่ละช่วงวัย เพราะมนุษย์จะมีเซ็นเซอร์ที่ติดตัวมาตลอดนั่นคือ ตา หู จมูก ลิ้น ใจ ซึ่งพอมีการเขยื้อนก็จะมีความสามารถในการปรุงดีหรือปรุงร้ายก็ได้ และสติจะเป็นตัวช่วยได้ เหมือนเปรียบเทียบกับการขับรถหากขับสะเปะสะปะ จะต้องมีการกระทบกระทั่ง ชน หรือเราจะเลือกขับตามเส้นทางของเราไปโดยมีคนที่อยู่ในรถที่คุ้นชิน และเป็นคนที่เราเปิดเพลงหรืออยากปฏิสัมพันธ์ด้วย สิ่งเหล่านี้เราสามารถเลือกได้ โดยมีสติเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เราไม่ต้องขับไปเจออุบัติเหตุ เพราะสติคือเป็นเพื่อนแท้ที่อยู่กับเราอยู่แล้วไม่ว่าเราจะรู้จักกับเขาหรือไม่   วิธีการดูว่าสติอยู่กับเราหรือไม่  เพื่อนแท้ของสติ นั่นคือ การตระหนักรู้ (Self-awareness) เวลาทำงานหรือร้องเพลง ความสามารถอยู่กับปัจจุบัน เช่น การพูดจา ฟังเสียงเพลงในขณะนั้น เท่ากับว่าตอนนั้นเรารู้ในสถานการณ์ปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร นั่นคือตัวเราอยู่แล้ว แต่ในหลายๆ ครั้งเราไม่สามารถดึงเอาสติตัวแท้มาใช้ได้ในสถานการณ์ที่เราต้องการเขา เปรียบเทียบให้เห็นเหมือนเวลาเข้าฟิตเนสไปหยิบก้อนเหล็กเวทที่หนักมา และเชื่อว่าหลายคนที่ไม่เคยยกเวทมาก่อนอาจจะยกไม่ไหว แต่ถ้าเราฝึกไปเรื่อยๆ การฝึกสติด้วยการอยู่กับปัจจุบัน

    11/03/2024
  • Mindfulness Is A Heart of Leadership Skill

    ขับเคลื่อนความเป็นผู้นำของคุณด้วย “สติ” ทักษะของผู้นำที่จำเป็นในปัจจุบันนั้นไม่เหมือนกับทักษะที่เป็นที่นิยมเมื่อหลายสิบปีก่อน ยุคสมัยของผู้นำแบบใหม่ไม่ใช่เพียงแค่เกิดขึ้น แต่กลายเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเราจะไม่ส่งเสริมผู้นำที่สร้างอำนาจด้วยการคุกคาม (Command) และความก้าวร้าว (Control) ในทางกลับกัน ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ นักฟัง และนักประสานงาน ซึ่งสามารถรักษาสมดุลของผลประโยชน์ระยะสั้นกับความต้องการระยะยาวนั้นจึงปรากฏขึ้นมา เพราะผู้นำเหล่านี้เข้าใจว่าในขณะที่กำลังเป็นผู้นำ การตัดสินใจของผู้นำนั้นจะส่งผลกระทบต่อส่วนรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือสังคมที่ผู้นำมีส่วนร่วมด้วย แน่นอนว่าทักษะเหล่านี้สามารถสอนกันได้ แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานของทักษะทั้งหมดนั้นคือ “สติ” “การมีสติ คือ ความตระหนักรู้ที่เกิดจากการเอาใจใส่ เป็นไปตามเจตนา อยู่ในขณะปัจจุบัน และไม่ตัดสิน โดยการทำสมาธิเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างสติ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเข้าใจผิดที่มักเกิดขึ้นว่าการทำสมาธิไม่ได้ช่วยทำให้จิตใจปลอดโปร่ง” ธรรมชาติของจิต คือ การคิดสำรวจ ไม่ว่าคุณจะทำสมาธิบ่อยแค่ไหน จิตก็มักจะฟุ้งซ่านและความคิดต่างๆ มักจะปรากฏขึ้นมา ซึ่งคือสิ่งที่จิตกระทำเป็นปกติ ดังนั้นพลังจึงอยู่ที่การฝึกการตอบสนองและการสังเกตการเดินทางของจิต การทำสมาธิจึงเป็นการสร้างความเคยชินให้จิตกลับมายังขณะปัจจุบัน ด้วยการสังเกตว่าจิตล่องลอยไปเมื่อใดและที่ใด และนำจิตกลับมายังขณะปัจจุบันโดยไม่ตัดสิน การฝึกสมาธิเหล่านี้จึงเป็นแกนหลักในเกือบทุกทักษะความเป็นผู้นำที่ต้องมีเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ เพราะอะไรจึงบอกว่า “สติ” จึงเปรียบเสมือนหัวใจแห่งทักษะการเป็นผู้นำ 1. สติทำให้เกิดความตั้งใจ (Mindfulness fosters intentionality) ในการทำสมาธิ การฝึกจิตให้กลับมาอยู่กับปัจจุบันหรือกลับไปที่เป้าหมายซ้ำไปซ้ำมา การฝึกนั้นสร้างความแข็งแรงให้กับระบบประสาท เพื่อที่ว่าเมื่อจิตใจของเราล่องลอยหรือเมื่อความสนใจของเราหลุดไป ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวันหรือในห้องประชุม เราจะสามารถโฟกัสใหม่ได้ง่ายขึ้น

    06/02/2024
  • Mindfulness in Organizations: Cultivating Inspiration and Leadership in the Pursuit of Collective Wisdom 

    เมื่อพูดถึงการเป็นผู้นำรมณีย์ที่ใช้การฝึกสติ Mindfulness มาใช้ในการพัฒนาตัวเองและสร้างองค์กรรมณีย์ เราต่างได้เจอผู้เข้าร่วมอบรมที่มีความคาดหวังที่หลากหลาย หลายคนมาเพื่ออยากรู้ว่าคืออะไร หลายคนมาหา How-to เพราะรู้ Basic มาหมดแล้ว หลายคนมาเพราะ HR ไม่ก็ CEO บอกให้มา แต่ส่วนใหญ่อาจจะเคยผ่านการอบรมหรือเข้า Course ปฏิบัติธรรมมาบ้างแล้ว พอจะรู้คำแนะนำในการทำสมาธิมาบ้าง แต่จะเอาไปใช้จริงหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง บางท่านมีการฝึกสติอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว แต่ต้องการที่จะมาเอา Idea ว่าจะนำไปใช้ต่อยอดในองค์กรได้อย่างไร ถึงแม้ว่าผลลัพธ์การประเมินของหลักสูตรมีผลลัพธ์ที่ดีมาก แต่ก็ยังมีข้อสังเกตุในมุมส่วนตัวที่อยากสรุป Self-reflection ไว้เตือนตัวเองดังนี้  1. Mindfulness Leader starts within yourself  อย่างที่เราชอบพูดกันใน Program รมณีย์เริ่มที่ตัวเรา ผู้บริหารไม่สามารถที่จะ Outsource ความเป็นรมณีย์ให้กับผู้บริหารระดับล่างหรือ HR ได้ วันที่ผมสอนในวันสุดท้าย ผมชอบที่จะถามผู้เรียนว่าให้คิดถึงผู้นำที่ดีที่สุดในชีวิตเขาที่เคยเจอมา พร้อมทั้งขอให้ระบุถึงพฤติกรรมที่ผู้นำในใจของเราทำ เมื่อคนเรียนได้ร่วมกัน Share พฤติกรรมออกมา สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้นั้นก็คือ พฤติกรรมดีๆเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำรมณีย์อยู่แล้ว แตกต่างแค่คำศัพท์และภาษาที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น Integrity Empathy คุณธรรม

    26/01/2024
  • The Leadership Elements

    ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ ความสามารถในการโน้มน้าวหรือชักจูงผู้อื่นให้ปฏิบัติตามแนวทางหรือเป้าหมายที่ผู้นำกำหนดไว้ ภาวะผู้นำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จของทุกองค์กรเพราะผู้นำจะเป็นผู้ที่กำหนดทิศทางและนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ในยุคปัจจุบัน ภาวะผู้นำไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความสามารถในการบริหารงานหรือการจัดการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และนำพาองค์กรไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนอีกด้วย ธาตุทั้ง 5 ซึ่งมาจากธาตุตามธรรมชาติสี่ธาตุ และอีกหนึ่งธาตุตามความเชื่อในหลักศาสนาของชาวตะวันออกมาเรียงร้อยตามทฤษฎีของการจัดการ หลักการทางด้าน Personality  1. Appreciation – EARTH หรือธาตุดิน พื้นดินที่เราเหยียบเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวตนของเรา คุณค่าที่เรายึดถือ แรงจูงใจในการใช้ชีวิต องค์กรก็เป็นส่วนขยายของตัวเรา และองค์กรยังเป็นส่วนย่อของจักรวาล (Universe) ถ้าเราอยู่ในองค์กรที่ไม่มีพื้นแผ่นดินที่เราจะสามารถสะท้อนความเป็นตัวตนของเรา แน่นอนที่สุดพนักงานในองค์กรคงไม่มี Sense of Belonging แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าองค์กรไหนมีธาตุดินมากจนเกินไป อาจจะเกิด Comfort zone เกิดความคุ้นชินกับสภาพแวดล้อมเดิม การมองไม่เห็นคุณค่าของการออกมาจากกรอบเดิมๆ องค์กรเองย่อมที่จะอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน   2. Association – WATER หรือธาตุน้ำ ทุกครั้งเมื่อเรามองเห็นน้ำ เรามักที่จะมองเห็นชีวิต ความสดชื่น มิตรภาพ ความเชื่อถือและความปรองดอง ส่วนประกอบหลักของชีวิตคือน้ำ คือคิดเป็นประมาณสองในสามของร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยน้ำ ซึ่งถ้าเราดูสัดส่วนของน้ำและพื้นดินของโลกของเราก็เป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันนั้นก็คือสองในสามนั่นเอง น้ำหรือความรักใคร่ปรองดองเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในองค์กร องค์กรที่ปราศจากน้ำถึงแม้ว่าจะมีผลประกอบการที่ดี

    25/01/2024
  • Mindfulness: The Power of Being ‘Here and Now’

    สติ: พลังของการอยู่ ‘ที่นี่และเดี๋ยวนี้’ “เมื่อเราตระหนักได้ว่าเหตุการณ์ในอดีตและอนาคตเป็นสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ เราจะพร้อมที่จะจดจ่อกับช่วงเวลาปัจจุบันได้มากขึ้น ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเราเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และงานของเราจะมีประโยชน์และเป็นผลมากขึ้น” ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันในปัจจุบัน เรามักจะบ่นว่าไม่มีเวลาสำหรับความสงบและความสุข เราหมกมุ่นอยู่กับการ “กระทำ” มากจนไม่มีเวลา “อยู่” ในขณะนั้น จิตใจของเราบิดเบี้ยวอยู่ตลอดเวลา เช่น ตัวเรากำลังเข้าร่วมการประชุมแต่จิตใจเรากลับอยู่ที่อื่น สิ่งรบกวนจิตใจสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากจิตใจภายในของเราหรือผ่านวัตถุภายนอก ด้วยการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี สิ่งรบกวนของเราก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหลักๆ แล้วเกิดจากโทรศัพท์มือถือ อีเมล ข้อความ แชท เป็นต้น ในการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดในโลกแห่งการแข่งขัน จิตใจของเราจึงพยายามที่จะพาความคิดของเราไปสู่อดีตอันยุ่งยากหรืออนาคตที่ไม่แน่นอน นำความรู้สึกของเราที่เป็นอยู่ในปัจจุบันออกไป การมีสติเป็นศาสตร์ของการพยายามจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน อยู่ในขณะนี้ “ที่นี่และเดี๋ยวนี้” แต่จิตใจในระดับจิตสำนึกของเรานั้นกลับพยายามที่จะเติมเต็มความว่างเปล่าด้วยความคิดภายในใจผ่านการหลุดไปกับอดีตหรืออนาคต การไม่ควบคุมจิตใจของเราจะส่งผลให้เราเข้าสู่โหมดการขับเคลื่อนของพฤติกรรมแบบอัตโนมัติ หรือ Auto Pilot จิตใจของเรายังคงส่งเสียงดังแม้ว่าสิ่งต่างๆ ในโลกภายนอกจะสงบ ส่งผลให้อารมณ์ไม่มั่นคง โดยเมื่อเราหมกมุ่นอยู่กับความคิดภายใน เราจะสูญเสียพลังงานและความสงบสุขไป สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางอารมณ์และสติปัญญา ประสิทธิภาพการทำงานของเราจะลดลง ในขณะที่ความสามารถในการจัดการอารมณ์ของเราก็หมดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเราต้องกำหนดใจให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเรามุ่งความสนใจไปที่ความเงียบสงบของจิตใจโดยไร้สิ่งเร้าล่อใจให้หลงทาง เราจะสามารถดำเนินชีวิตตามเป้าหมายหลักของการมีชีวิตอยู่ หรือการอยู่อย่างสันติ มีความสุข และเต็มไปด้วยความรัก ในโลกของจิตวิญญาณ การทำสมาธิแบบเจริญสติช่วยเพิ่มพลังความตั้งใจ ความสงบ

    12/01/2024
  • 10 Mindfulness Techniques to Practice at Work

    การทุ่มเทกับการทำงานเรื่องที่ดี แต่บางครั้งการทำงานหนักเป็นเวลานานหลายชั่วโมงจนไม่มีให้ตัวเองได้หยุดพัก และบ่อยครั้งอาจทำให้คุณรู้สึกว่ากำลังใช้พลังงานชีวิตทั้งแรงกายแรงใจทั้งหมดไปกับการทำงาน เหมือนกำลังแลกช่วงเวลาที่ต้องใช้ชีวิตไปกับการทำงานโดยไม่ได้มีโอกาสได้หยุดพัก  ทุกวันนี้ พนักงานและบริษัทต่างๆ มุ่งให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสภาพการทำงานผ่านเทรนด์สุขภาพอย่างหนึ่ง นั่นคือ “สติ” สติ คือ ความสามารถในการรับรู้ในทุกช่วงของความคิด ความรู้สึกทางกาย และสภาพแวดล้อมโดยรอบผ่านมุมมองที่อ่อนโยน โดยการใช้เทคนิคการฝึกเจริญสติ โดยเฉพาะในที่ทำงาน จะช่วยให้คุณคลายความเครียด และเพิ่ม Productivity ให้กับคุณได้ ดังนั้น เพื่อช่วยให้คุณพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ นี่คือ 10 วิธีเจริญสติในที่ทำงาน 1. ตั้งเป้าหมายในทุกๆ เช้า เพื่อให้สิ่งที่คุณตั้งใจลงมือทำประสบความสำเร็จ คุณควรเขียนความตั้งใจเพื่อให้ตนเองมีสมาธิจดจ่อ ความตั้งใจอาจะเป็นเป้าหมายในการเรื่องการทำงานหรือเรื่องส่วนตัว เช่น ฉันจะมองทุกอุปสรรคในวันนี้เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี อาจจะเป็นการเขียนลงบนโพสต์อิทแล้วแปะไว้ที่โต๊ะทำงานหรือย้ำเตือนซ้ำๆกับตนเอง โดยการทำวิธีนี้ จะเป็นการกระตุ้นให้คุณอยู่กับตัวเองเพื่อพิจารณาพฤติกรรมที่คุณสามารถเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับความตั้งใจของตัวเองมากขึ้น  2. ทำให้งานของคุณมีความหมาย เป็นเรื่องยากที่จะตั้งสติให้จดจ่ออยู่กับงานที่คุณไม่อยากทำ นี่คือเหตุผลที่คุณต้องหาเป้าหมาย (Purpose) ในสิ่งที่คุณทำ ลงใช้เวลาทบทวนดูว่า ทำไมคุณถึงตัดสินใจสมัครงานนี้? ช่วงเวลาใดในตอนที่ทำงานแล้วทำให้คุณมีความสุข? ลองเขียนลิสต์ออกมาเป็นข้อๆ เมื่อคุณมีวันที่รู้สึกว่าทุกข์ใจ ให้คุณลองหยิบลิสต์นี้ออกมาย้ำเตือนตัวเองถึงจุดประสงค์ของการลุกขึ้นมาในแต่ละวัน 3. เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน ไม่ว่าคุณจะทำงานในสภาพแวดล้อมแบบไหน คุณก็สามารถสติหลุดได้ง่ายๆ เมื่อคุณรู้ตัวว่ากำลังเสียสมาธิ ให้คุณหยุดเพื่อทบทวนตัวเองดูสักพัก มีคำถามอยู่ 2-3 ข้อที่คุณสามารถใช้ถามตัวเองเพื่อตั้งสติและอยู่กับปัจจุบัน เช่น  การใช้เวลาสังเกตตัวเองและงานของตนจะทำให้คุณรู้สึกกลับมามีกำลังใจ ช่วยเพิ่มสมาธิ ให้คุณมีแรงฮึด และทำให้คุณมีสมาธิทำงานได้จนจบวัน 4. พักสมองบ้าง คุณกำลังเครียดอยู่หรือเปล่า? พักสมองบ้างสิ แม้ว่าว่าปกติสติจะถูกควบคุมด้วยความคิด แต่บางครั้งคุณต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่งเพื่อจดจ่อกับสิ่งที่สำคัญ ในระหว่างวันลองหยุดพักสัก 10 นาที เพื่อออกไปสูดอากาศข้างนอก ฟังพอดแคสต์สั้นๆหรือกิจกรรมที่ทำให้คุณได้ผ่อนคลายเพื่อรีเซ็ตสมองของคุณ ทำให้เมื่อกลับไปทำงาน คุณจะรู้สึกสดชื่นและพร้อมที่จะทำงานต่อ 5. ทำงานทีละอย่าง คุณเคยพยายามทำอะไรหลายๆ สิ่งพร้อมกันไหม? หากคุณเคยทำ มีงานใดสำเร็จลุลวงไปด้วยดีหรือไม่? สิ่งสำคัญในการฝึกสติคุณควรจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อคุณพยายามทำงานหลายอย่างจนล้นมือ คุณจะรู้สึกหนักใจและไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จได้อย่างเต็มความสามารถ ลองเปลี่ยนเป็นการเรียงลำดับความสำคัญแล้วเริ่มมือทำตามลำดับ เมื่อคุณทำงานสำเร็จแล้วมองย้อนกลับไปคุณจะรู้สึกอิ่มเอมใจ 6. ฝึกการมีความคิดแบบ Growth Mindset ทุกความสำเร็จมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ การต้องมี Growth Mindset แทนที่คุณจะมัวแต่พูดว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ลองเปลี่ยนเป็นการพยายามพัฒนาทักษะของตนเองให้ดีขึ้น แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ลงมือทำยาก เพื่อฝึก Growth Mindset ของตัวเอง ลองเริ่มจากการตั้งเป้าหมายเล็กๆ

    08/01/2024
  • ส่งมอบความคิด ชาร์ทพลังบวก ผ่านประสบการณ์ใช้ชีวิตเรียบง่ายที่แสนธรรมดา ด้วย Mindfulness กับ ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ

    ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ (Founder & CEO ADGES) ได้มีโอกาสเป็นผู้บรรยาย CuriousTalk59th ร่วมเดินทางส่งมอบความคิด ชาร์ทพลังบวก ผ่านประสบการณ์ใช้ชีวิตเรียบง่ายธรรมดา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของ Mindfulness และเทคนิคต่างๆ ในการพัฒนาสติปัญญาและความมั่นคงใจในชีวิตประจำวัน ที่จัดขึ้นโดยรายการ CuriousTalk ของ AISDataClub+  ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ ได้เริ่มจากการเล่าประวัติของตนเองซึ่ง เรียนจบวิศวะมาแต่เมื่อทำงานทำให้รู้ว่า People Skill เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นหัวหน้าที่ต้องรับผิดชอบโปรเจ็กต์ต่างๆ ทำให้อยากเรียนรู้เพิ่มเติม โดยมองว่า Leadership Skill เป็นสิ่งจำเป็นจึงเรียนต่อด้านปริญญาเอกและลาออกมุ่งมั่นกับการเรียนให้จบ จากนั้นตัดสินใจตั้งบริษัทที่ปรึกษาและเดินทางทั่วเอเชียแปซิฟิกเพราะพาร์ทเนอร์บริษัทมีจำนวนมาก โดยเอนจอยกับสิ่งที่ทำเหมือนเปิดประตูบานหนึ่งก็จะมีการเปิดประตูบานต่อไปเรื่อยๆ เพราะเมื่อลงสนามได้เจอคนที่เก่งทั่วภูมิภาค การได้เดินทางและเห็นที่ต่างประเทศทำให้เราหยุดนิ่งไม่ได้ แต่สุดท้ายถามตัวเองชอบและรักในสิ่งที่ทำหรือไม่เพราะการทำบริษัทที่ปรึกษาต้องถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นแล้วต้องทำให้เขาเชื่อให้ได้ว่าเรามี Value อะไรที่เราจะไปแลกเปลี่ยนหรือพูดคุยกับเขา บางทีต้องสอนหนังสือให้ฝรั่งจากที่เราเป็นคนเอเชียและเป็นคนไทย จึงพบคำตอบว่า   “บางทีการลงสนามยากๆ บ้างก็จะทำให้เราได้แกร่งขึ้น จะเฟลหรือจะสำเร็จอย่างน้อยก็กลับมาเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับเรา”  หมั่นเติมไฟให้เอนจอยกับสิ่งที่ทำ  เราต้องตั้งคำถามเรารักเราชอบอะไรทำอย่างไรให้สุดและเติมไฟให้เราเอนจอยกับสิ่งที่เราทำ แม้ช่วงที่ยากลำบากที่ผ่านมาตอนโควิด-19 งานหลักไม่ได้เยอะ แต่มีงานการกุศลมากมาย และได้รับโอกาสจากวงการธุรกิจทำอีเวนท์หรือการแชร์เรื่องการทรานฟอร์มธุรกิจ หรือภาวการณ์เป็นผู้นำในสถานการณ์นั้น ที่พบว่า “อะไรดีก็ทำ” ตั้งแต่ร่วมมือกับ IOD แลกเปลี่ยนพูดคุยเพราะอยากให้คนไทยสามารถแข่งขันได้

    12/12/2023
  • Mindfulness Leader : เดินทางเข้าสู่จักรวาลภายใน (Innerverse)

    ‘Who looks outside, dreams; who looks inside, awakes.’ – Carl Jung สะดุดใจกับ Quote ข้างบน ที่ตอนแรกนึกว่าเป็น Quote ที่มาจากศาสนาพุทธแน่ๆ แต่กลับกลายเป็นว่าคนที่พูดเป็นนักจิตวิทยาชาวสวิส เจ้าของทฤษฏี Type Dynamic ที่สุดท้ายมีคนอเมริกันสองคนสร้างเป็นแบบประเมินที่ชื่อว่า Myer Brigg Type Indicator หรือ MBTI โดยใช้หลักคิดของ Jung ADGES ได้มีโอกาสร่วม Strategic Workshop กับโรงพยาบาลชั้นนำที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นที่นำทางของจังหวัดได้เชิญเรามานำเสนอเรื่อง Mindfulness Leader ก่อนที่จะเข้าสู่การพูดคุยเกี่ยวกับแผนกลยุทธ์ จึงขอเชิญคุณหมอรวมถึงผู้บริหารโรงพยาบาลให้กลับมามองย้อนดูตัวเอง โดยให้เดินทางเข้ามาข้างในซึ่งขอเรียกโดยรวมว่า Innerverse หรือจักรวาลภายใน โดยใช้เวลาคุยใน 3 เรื่องคือ 1. การตระหนักรู้ตัวเอง (Awareness) การตระหนักรู้ตัวเอง ให้เข้าใจว่าจริต บุคลิคลักษณะ (Personality) รูปแบบทางความคิด และรูปแบบทางพฤติกรรม

    07/12/2023
  • Mindfulness ในที่ทำงานดีอย่างไร

    การส่งเสริม Mindfulness ในองค์กรมีผลประโยชน์หลายด้านทั้งการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีความสมดุลและการสร้างความพร้อมใจที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของทีมและบุคคลทั้งในด้านทางจิตใจและการทำงานทุกวัน ดังนี้: 1. สร้างการรับรู้ สนับสนุนพนักงานให้มีความตระหนักต่อสภาวะปัจจุบันขณะทำงาน ด้วยการสร้างการรับรู้, พนักงานสามารถปรับตัวและเลือกวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีสติ ผู้นำสามารถแบ่งปันหลักการของ Mindfulness เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจและนำไปใช้ในการทำงานประจำวัน 2. ลดความเครียด Mindfulness ช่วยลดความเครียดโดยเพิ่มความสามารถในการจัดการกับความกดดันและปัญหาทางอารมณ์ ผ่านการใช้ทฤษฎีและเทคนิค Mindfulness ในการปฏิบัติ ในการปฏิบัติ Mindfulness ไม่ใช่เเค่เพียงการนั่งสมาธิเท่านั้น เเต่รวมถึงการพักเบรคซัก 10 นาทีเพื่อมองต้นไม้ มีสมาธิ พักเบรกจากสิ่งรอบข้าง มีสติอยู่กับตนเอง หรือเเม้กระทั่งการหายใจเข้าเเละหายใจออกรับรู้ถึงลมหายใจของตนเองก็ช่วยได้เช่นกัน 3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดี การใช้ Mindfulness ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจในการสื่อสาร ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างพนักงานและทีม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารกัน คนในทีมตั้งใจฟังความเห็น มุมมอง ความคิดของกันเเละกัน ลดการโต้ตอบอย่างเร่งรีบที่อาจส่งผลกระทบให้ทีมขัดเเย้งกัน 4. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน Mindfulness สามารถช่วยให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเพิ่มเเรงจูงใจและส่งเสริมการตัดสินใจที่ดีขึ้น ร่วมถึงเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจในสิ่งที่ซับซ้อน เพราะการมีสติทำให้พนักงานสามารถมองเห็นปัญญา ช่วยในการพัฒนาสมาธิและความจำ การฝึกสมาธิยังช่วยลดความสับสนและเพิ่มความสามารถในการจดจำข้อมูลที่สำคัญอย่างชัดเจนและตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย 5. สร้างความพร้อมใจในการเรียนรู้ การใช้ Mindfulness ในการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะทำให้พนักงานมีความรับรู้ที่ลึกซึ้งและการเรียนรู้ที่เป็นประจำ เปิดใจที่จะเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆที่จะทำให้ตนเองได้พัฒนาความสามารถทั้งทางหน้าที่การงานเเละทางการจัดการกับอารมณ์

    30/11/2023
  • เข็มทิศของ Mindfulness Leader

    ความเข้าใจแรกจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเมื่อได้ยินหัวข้อ Mindfulness Leadership หรือผู้นำรมมณีย์ จะคิดว่าบริษัทส่งมาให้มานั่งเรียนอะไรน่าเบื่อๆ ได้นั่งสมาธิ ฟังธรรมกันแน่นอน ทาง ADGES  จึงอยากมาเล่าให้ฟังบรรยากาศการร่วมทำ Workshop รวมถึงหัวข้อต่างๆที่ได้พูดคุยกันในวันนั้น  เข็มทิศของ Mindfulness Leader มีด้วยกัน 4 ทิศคือ East – Who you are?  อย่างแรกเลยผู้เข้าร่วมWorkshop จะได้ทำ Self Assessment เพื่อรู้จักกระบวนทางความคิดและลักษณะพฤติกรรมของตนเองที่ตนชอบใช้ จุดแข็งและจุดอ่อนของจน เมื่อผู้นำทุกๆท่านรู้จักตนเองแล้วจึงหันมารู้จักและเข้าใจผู้อื่นในที่นี้ก็รวมถึงภาพรวมขององค์กรด้วยเช่นกัน  South – What Values / Motivation that you represent?  เมื่อเข้าใจตนเองแล้ว เราต้องเข้าใจคุณค่า ค่านิยม สิ่งที่ปลูกฝังเรามา หรือสิ่งที่เราเชื่อว่าดีผ่านประสบการณ์ชีวิต การทำงาน บางท่านให้คุณค่ากับ ปัญญา (Wisdom) หรือบางท่านให้คุณค่ากับความยุติธรรม (Justice) มากกว่า ผู้เข้าร่วมได้เขียน Lifeline ของตนเองว่าช่วงเวลาไหนของตนในชีวิตที่ตนรู้สึกว่าดี ช่วงไหนที่ตนรู้สึกว่าแย่

    19/10/2023
  • 4 Immeasureable Qualities โดยท่าน Mingyur Rinpoche

    ‘ถ้ามีคำถามที่ว่า คนที่เกลียดที่สุดคือตัวเราเอง เราจะเจริญเมตตาได้อย่างไร’ เมื่อมีคำถามนี้เกิดขึ้นในขณะที่มีการเรียนเรื่อง The Joy of Living โดยท่าน Mingyur Rinpoche ท่านยิ้มรอให้ถามคำถามให้จบ หลังจากที่พวกเราได้ยินคำถามแล้ว ท่านถึงกล่าวว่า ‘แท้จริงแล้ว ผู้ที่ถามคำถามนี้ก็มีความเมตตาอยู่ในคำถามแล้ว ดังนั้นจะภาวนาแบบอื่นได้น่าจะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก’ อย่างที่สองสำหรับคนที่ยังไม่ได้รักตัวเองอีกให้สำรวจตรวจสอบในแต่ละวันเพื่อหาสิ่งที่เราสามารถนำมาชมตัวเองได้ ไม่ก็จะเป็น การที่ยังหายใจอยู่ การนำสิ่งดีๆให้กับชีวิตหรือ การกระทำอย่างไรบ้างอย่างที่ทำเราตัวเองได้ประโยชน์ เช่น ล้างจาน กับพาตัวเองมางานปฏิบัติธรรมและตั้งคำถามเหล่านี้ ท่าน Mingyur ยังชวนเราคุยต่อว่า ถ้าเรามีเมตตากับตัวเองแล้ว ลองนึกถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคนที่เรารัก เราที่เราเกลียด หรือสรรพสัตว์ทั้งหมดในภพภูมิต่าง ทุกสรรพสัตย์ยอมปรารถนาความสุขและเกลียดทุกข์กันทั้งนั้น การปฏิบัติภาวนาไม่ควรจะเป็นการเอาตัวเองให้พ้นๆ เเละถ้าเป็นการสร้างความทุกข์ให้คนอื่นแบบนี้คงเป็นชาวพุทธที่ไม่มีคุณภาพ ท่านให้เราพิจารณาถึงหลัก 4 Immeasureable Qualities หรือ อัปปมัญญาสี่ ที่มีพื้น ฐานมาจากพรมวิหารสี่ที่เรารู้จักกันดี แต่ข้อแตกต่างคือเป็นการสร้างความรู้สึกแผ่ออกไปไม่มีประมาณให้แก่ทุกสรรพสัตย์โดยประกอบไปด้วยข้อธรรมทั้งสี่ดังนี้ ๑. เมตตา (Love and Kindness) ความรักใคร่ปรารถนที่จะเห็นคนอื่น สัตว์อื่นเป็นสุข การสร้างความรู้สึกมุ่งให้สัตว์เหล่านั้นอยู่อย่างไม่มีเวรไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ประทุษร้ายกัน ให้อยู่ดีมีสุข

    12/10/2023
  • Innerverse นักเดินทางภายใน เสถียรธรรมสถาน

    ก่อนจะรักคนอื่น ให้รู้จักรักตัวเอง และก่อนจะรักตัวเอง ให้รู้จักตัวเองก่อน เราเริ่มชวนน้องคุยโดยให้น้องๆ ทุกคนลองประเมินรูปแบบทางความคิดที่เราถนัด (Thinking Preference) เพื่อเริ่ม Dialogue ในเรื่องของการตระหนักรู้ (Self-Awareness) ของตัวเราซึ่งเมื่อเริ่มเข้าใจตัวเองแล้ว การเปิดใจรู้จักผู้อื่นทำได้ไม่ยาก การใช้แบบประเมินใดๆ กับเด็กเป็นเรื่องที่ต้องระวังมาก จำได้ว่าเมื่อตอนที่คุยกับคุณยายในเรื่องของการใช้แบบประเมินในเด็ก มีคุณครูท่านหนึ่งที่ร่วมประชุมด้วยกันได้เล่าให้คุณยายฟังถึงลักษณะจำเพาะของลูกตัวเองตามผลของการประเมิน คุณครู (คุณแม่ของเด็ก) ก็รู้สึกอินกับศาสตร์ที่เรียนมา หลังจากที่อธิบายมาได้สักพักใหญ่ คุณยายก็กล่าวว่า ‘หยุดเอาป้าย Sticker มาแปะหลานชั้นได้แล้ว ให้เขาเป็นในแบบของเขาเอง อย่าไปบอกเขาว่าต้องเป็นอะไร คิดอย่างไร ต้องทำอะไร’ ก็เลยเป็นที่มาของ Presentation ที่พูดให้กับน้องๆในห้องว่า ‘เราไม่ใช่นำ้โซดา อย่าให้ใครเอาป้ายมาแปะเราว่าเราเป็นรสอะไร’ ถ้าน้องมี Growth Mindset น้องทำได้ทุกอย่าง แต่การสร้างความเข้าใจตัวเองในรูปแบบความคิดของตัวเองจะทำให้เรามองความต่างอย่างสร้างสรรค์ และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทุกคนได้เห็นรูปแบบทางความคิดที่หลากหลายจากน้องๆ จนทำให้น้องๆเห็นว่าเราไม่เห็นจำเป็นต้องเหมือนใคร เรามีดีในแบบของเราเอง ลองนึกถึงพ่อแม่ผู้ปกครองที่ยัดเยียดความคาดหวังให้กับลูกว่าจะต้องเป็นแบบฉัน คิดแบบฉัน เด็กจะรู้สึกกดดันแค่ไหน รู้จักตนเองเพื่อที่จะรักตนเอง เมื่อรู้จักตนเองกันเรียบร้อยแล้วก็รู้สึก Surprise มากว่าน้องๆ Get concept เรื่องความตระหนักรู้ได้เร็วมากและสามารถเห็นความแตกต่างในเรื่องรูปแบบการคิดของตนเองและจากกิจกรรมกลุ่ม จนมาถึงกิจกรรมที่ให้น้องๆ ได้เขียนถึงจุดแข็งของตัวเองและสิ่งที่ภูมิใจในตัวเองซึ่งน้องๆทำได้ดีมากและมีความใสๆในแบบฉบับของตัวเอง

    29/08/2023
  • พลังที่ยิ่งใหญ่ มาด้วยความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ (With great power comes great responsibility)

    ‘With great power comes great responsibility’ Spider-Man บางทีก็ถึงเวลาที่มนุษย์ในสำนักงานอาจขอความสนใจและความสุขจาก “Spider-Man” ในชื่อโครงการ “Sati Space” เพื่อช่วยให้หายห่วงจากความเครียดที่กลุ่มคนในสำนักงานต้องเผชิญหน้ากับความสำเร็จภายนอก ซึ่งอาจมีงานดีๆ และเงินเดือนที่ดี แต่เชื่อมั่นว่าความเป็นจริงคือพนักงานในสำนักงานเป็นคนที่ต้องพิจารณาซ่อนความทุกข์ไว้และไม่กล้าบ่นเสียง ถ้าพูดมากจะถูกพิจารณาว่าขี้บ่น และอาจต้องพบกับ HR เมื่อออกอาการ โครงการ “Sati Space” เป็นการบุกเข้าสู่สำนักงานใกล้บ้านเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่เต็มเปี่ยมด้วยธรรมะและกิจกรรมให้กับพนักงานในสำนักงาน อาจมีการนั่งมองท้องฟ้า โยคะ ภาวนา และ Emphatic Listening เพื่อให้พนักงานสามารถนำเอาธรรมะไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้คนที่หลากหลายสามารถสัมผัสและลองตระหนักถึงความสุขแห่งธรรม และคิดให้เอาเองว่าจะนำไปประยุกต์ในประสบการณ์แต่ละวัน โครงการนี้เกิดขึ้นจากดำริของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ที่มีความห่วงใยต่อกลุ่มคนที่มีความทุกข์แต่ไม่มีใครคอยช่วยเหลือ ทางสวนโมกข์กรุงเทพเล็งเห็นอุดมการณ์ที่เกิดขึ้น ‘หนึ่งในกลุ่มคนที่มีความทุกข์มาก แต่ยังไม่ค่อยมีคนพูดถึงหรือเข้าไปช่วยเท่าไร ก็คือพวกพนักงาน Office มีโอกาสก็ไปช่วยเขาหน่อยนะ’ ทางสวนโมกข์มีภาคีทางธรรมะที่หลากหลาย และมีอุดมการณ์เดียวกันคือการนำเอาธรรมะที่เข้าไปสู่ใน Lifestyle ของกลุ่มนี้ เพราะเรามี Painpoint เดียวกันนั้นคือความ’ทุกข์’ การนำเสนอธรรมะไม่ควรที่จะถูกปิดกั้น แต่ควรจะถูกเปิดใจให้ผู้คนที่หลากหลายได้ลองลิ้มลองรสชาติแห่งธรรม แล้วคิดต่อเอาเองว่าจะทำอย่างต่อประสบการณ์ตรง (Experience)

    07/08/2023

how can we help you?

If you have questions or require more information about our services.