Future Economy 2025: Powered by Technology
-
04/02/2025
-
13.00 – 16.00
-
โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ
Situational Judgement คือสิ่งที่ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ให้ได้ดีที่สุด ผู้บริหารต้องตัดสินใจว่าในสถานการณ์นี้จะใช้เครื่องมืออะไร ไม่ใช่เลือกใช้แค่เครื่องมือที่เราถนัด วันนี้ให้ทุกท่านลองปรับโหมดให้กลับมาเรียนรู้สิ่งที่เป็น Fundamental คือเรื่องของ Visual Thinking ทุกๆท่านมีโอกาสได้วาดรูป ท่านที่เคยคิดว่าตนไม่มีความสามารถในการวาดรูปก็สามารถวาดได้ องค์กรที่มี Innovation และ Creativity ก็จะสะท้อนผ่านการวาดรูปออกมา ความเสี่ยงของการวาดภาพอย่างมากก็แค่วาดใหม่ หลายองค์กรมีปัญหาเรื่องการ Communication เมื่อวิธีการแบบเดิมๆใช้ไม่ได้ผลในองค์กร ADGES จึงได้นำเสนอ Visual Thinking เพื่อแก้ปัญหาการสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง เมื่อการสื่อสารมีแต่ Text ตัวอักษร แต่กลับไม่มีคนสนใจเพราะน่าเบื่อ การวาดรูปเพื่อการสื่อสารไม่ได้เน้นสวยแต่เน้นการ Translate Concept ของเราให้มีประสิทธิภาพ เพียงแค่ Dare to Draw เเละการสื่อสารมี 3 โหมดคือ โหมดเขียน โหมดพูดเเละโหมดวาดภาพ ในทางวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ออกมาแล้วว่าเซลล์สมอง 70% สามารถจำข้อมูลผ่านรูปภาพ สมองเราจำเป็นรูป แต่ยิ่งเราโตขึ้นเราสื่อสารผ่านภาพน้อยลง การสื่อด้วย Visual Thinking จะช่วยให้เราเข้าถึงประเด็นได้เร็ว สนุกและสามารถที่จะเพิ่มไอเดียไปด้วยกันได้กับคนในทีม สามารถนำไปใช้ได้ในหลายรูปแบบ ปกติ
“เราจะสร้าง New Gen. Leader Program อย่างไรและที่สำคัญไปกว่านั้นคือจะสร้างไปทำไม?” องค์กรจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำรุ่นใหม่ๆมาเติมเต็มทางด้านธุรกิจขององค์กรและสามารถขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กรไปในสถานการณ์ซึ่งสามารถแข่งขันได้อนาคต วันนี้แอดเจสจึงอยากนำเสนอแนวคิด 4 ประการ ที่จะทำให้องค์กรสามารถออกแบบหลักสูตร New Gen. Leader ให้ประสบความสำเร็จ ข้อแรก องค์กรต้องมีความชัดเจนว่า Performance ขององค์กรและของ New Gen. Leader ว่าคือเรื่องใด หลากหลายองค์กรไม่ได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่าอะไรคือ Performance และในเรื่องของ Potential หรือศักยภาพ คำถามคือ ถ้าทำงานในตำแหน่งปัจจุบันได้ดี เราจะคาดเดาได้เลยไหมว่างานในอนาคตนั้นก็จะต้องทำได้ดีเหมือนกัน ผู้บริหารเก่งๆ หลายท่านทำงานในตำแหน่งปัจจุบันได้ดี แต่พอเมื่อได้รับการ Promote ในตำแหน่งงานที่สูงขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้นกลับไม่มีความพร้อม เพราฉะนั้นเกิดอะไรขึ้น? สิ่งที่เราเจอในหลากหลายองค์กรคือคำว่า ศักยภาพไม่มีการชี้วัดอย่างชัดเจน หลายองค์กรเก่งในเรื่องการวัดประสิทธิภาพในปัจจุบัน แต่เมื่อถึงบริบทที่ต้องถามตนเองว่า แล้วผู้บริหารท่านนั้นพร้อมสำหรับในอนาคตหรือไม่ กลับไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตอบโจทย์ ข้อ 2 แล้วการวัดศักยภาพวัดอย่างไร? หลายองค์กรใช้ Concept ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Competency หรือ Leadership competency ต่างๆ
Data Visualization คืออะไร? ข้อมูล (Data) กลายเป็นหัวข้อที่ร้อนแรงที่สุดในปัจจุบัน ทุกวันนี้คนหันมาให้ความสนใจกับคำว่า Data กันมากขึ้น เพราะยุคดิจิทัลในอดีต เรื่องของ Data นั้นเป็นเรื่องไกลตัว มีราคาแพงมหาศาลและหายาก แต่ปัจจุบันมันได้เปลี่ยนแปลงมาสู่สิ่งที่จับต้องง่ายมากขึ้นและมีราคาถูกลง “นอกจากนี้การมาถึงของแนวคิด ‘Big data’ ที่กล่าวว่าข้อมูลบนโลกของเรามีปริมาณมหาศาล และนั่นทำให้เป็นเรื่องท้าทายในการมองภาพรวม ทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน Software ปกติทั่วไป อย่างไรก็ตามเครื่องมือทั้งหมดนี้ทำหน้าที่ของมันได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วทั้งในแง่การใช้งานส่วนบุคคลและสำหรับธุรกิจ“ ข้อมูลปริมาณมากกว่าเทราไบท์ที่อยู่ในศูนย์ข้อมูลหากปล่อยไปโดยไม่นำมันมาใช้งานก็จะเป็นการเสียประโยชน์ แต่หากเรารู้จักวิธีการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นอย่างถูกต้อง มันจะกลายเป็นทองคำในโลกดิจิทัลไปทันที ข้อมูลมักถูกนำไปใช้งานร่วมกับ Machine learning เพื่อสร้างการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับกระบวนการวิเคราะห์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวนำคุณค่ามาสู่ข้อมูลเหล่านั้น หากคุณไม่มีปริญญาด้าน Data science ล่ะก็ Data Visualization ก็คือคำตอบที่เข้ามามีบทบาทในกระบวนการนี้ กระบวนการ Data Visualization คือ การนำข้อมูลดิบมาเปลี่ยนเป็นกราฟ แผนภูมิ หรือแม้กระทั่งวิดีโอที่ช่วยอธิบายปริมาณ ตัวเลข และช่วยให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลเหล่านั้น การใช้ Data Visualization เปลี่ยนแนวคิดของเราเกี่ยวกับการสร้างคุณค่าให้กับข้อมูล ทำให้เราค้นพบรูปแบบใหม่ๆ และมองเห็นแนวโน้มของข้อมูลมากขึ้น
“นวัตกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงล้วนเป็นเรื่องยากสำหรับบริษัทเสมอ ถึงแม้จะมีการลงทุนด้านการอบรม เครื่องมือ และเนื้อหาการศึกษา แต่โครงการที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก็มีอัตราล้มเหลวสูงถึง 70% ที่น่าตกใจไปมากกว่านั้นก็คือสถิตินี้แทบจะไม่เปลี่ยนเลยนับตั้งแต่ปี 1970” แต่การคิดด้วยภาพ เข้ามาเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร? หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้บริษัทไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ก็คือ ไม่สามารถมีส่วนร่วมกับพนักงานในกระบวนการเปลี่ยนแปลง มองเห็นผลประโยชน์ของบริษัทมาเป็นอันดับแรกและพนักงานมาเป็นอันดับสอง ตัวอย่างเช่น การนำระบบ IT ใหม่ล่าสุดมาใช้ สิ่งแรกที่บริษัทให้แก่พนักงานคือ รายละเอียดการทำงานของระบบใหม่ แต่ผลกระทบจากมันที่มีต่อพนักงานกลับถูกมองข้าม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่อาจอยู่อย่างยั่งยืนได้หากปราศจากการสนับสนุนโดยพนักงาน ถึงแม้ว่ามันจะประสบความสำเร็จในช่วงแรกก็ตาม ประโยชน์ของการคิดด้วยภาพ (Visual Thinking) 1. การคิดด้วยภาพช่วยให้พนักงานมองเห็นภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งตามมาด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาลที่พนักงานต้องทำความเข้าใจ แต่ถึงจะมีข้อมูลเหล่านี้พวกเขากลับไม่รู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ความคิดเห็นถูกมองข้าม และข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงการขาดความร่วมมือและความเข้าใจของพนักงานนี่เองที่เป็นปัญหาหลักในการเปลี่ยนแปลงขององค์กร “แต่การนำ Mind mapping มาใช้ จะช่วยให้พนักงานเห็นภาพรวมของข้อมูลได้ดีขึ้น มันคือหนึ่งในเครื่องมือการคิดด้วยภาพที่เรียบง่ายแต่สามารถใช้งานได้จริง Mind mapping สามารถเปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆ ให้เชื่อมโยงกันได้ด้วยหัวข้อหลักเพียงหัวข้อเดียว ช่วยให้การนำเสนอข้อมูลมีความเรียบง่ายแต่เจาะลึก มันคือเครื่องมือที่มีประโยชน์มากที่สุดในการทำให้พนักงานมีส่วนร่วมกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง” 2. การคิดด้วยภาพนำไปสู่ความรู้และความเข้าใจแนวคิดสำคัญ หลายๆ ครั้งในการประชุมหรือการนำเสนอ บริษัทมักใช้คำศัพท์นามธรรมอย่างเช่น “ลูกค้าที่มุ่งเน้น” “ความยืดหยุ่น” หรือ “การก้าวล้ำ” ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาคือความไม่เข้าใจ หรือที่แย่กว่านั้นคือพนักงานเข้าใจแต่เป็นความเข้าใจกันคนละทิศละทาง
Visual Thinking เป็นวิธีการจัดระเบียบความคิดพร้อมเพิ่มทักษะการคิดและความสามารถในการสื่อสารด้วยภาพที่เรียบง่าย กับวลี “ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดนับพันคำ” ซึ่งการสื่อสารผ่านรายงาน PowerPoint หรือตัวเลขในตารางมากมาย อาจจะไม่ตอบโจทย์ในบางกรณี โดยเฉพาะการเข้าใจยาก ไม่รู้ว่าอะไรเริ่มก่อนหลัง อะไรสำคัญกว่ากัน แต่ละอันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร จนอาจพาลทำให้ผู้รับสารเข้าใจผิดได้ โดยมีการศึกษาว่า Visual Thinking ช่วยให้การสื่อสารครบถ้วนมากยิ่งขึ้น กับการวาดภาพโครงสร้าง ร่างความคิดขึ้นมาในใจเพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งกว่าเดิม ช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการพัฒนาด้านเทคโนโลยีได้เปลี่ยนการเรียนการสอนในห้องเรียนหลายแห่ง ปัจจุบันมีการสื่อสารผ่านภาพในรูปแบบดิจิทัลที่มีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยภาพนิ่งและภาพวิดีโอการจำลอง ผู้สอนสามารถนำเสนอเนื้อหาการเรียนการสอนผ่านภาพและสื่อมัลติมีเดียเพื่อดึงดูดความสนใจผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงอาจเพิ่มในเรื่องของการมีส่วนร่วมและสร้างความจดจำได้ดีอีกด้วย การใช้ภาพมาเล่าเรื่องแทนตัวหนังสือหรือตัวเลขมากมาย ทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งแต่ละสิ่ง เห็นลำดับความสำคัญ เห็นทิศทาง และที่สำคัญคือเราได้เห็นภาพรวม ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นโอกาสที่เราไม่เคยมองเห็นจากตัวหนังสือหรือตารางตัวเลข ทำให้เราเห็นต้นเหตุของปัญหา และทางแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนขึ้น ปัจจุบัน แน่นอนว่าผู้เรียนยังคงต้องพึ่งพาการอ่านเป็นทักษะในการเรียนรู้หลัก แต่พวกเขาสามารถใช้ Visual Thinking เป็นกระบวนการเสริมเพื่อฝึกฝนการพูด การเขียน และถ่ายทอดสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้ด้วย อนึ่งมีงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ Visual Thinking ระบุว่า ภาพจะถูกประมวลผลได้เร็วกว่าข้อความ ผู้ที่คุ้นเคยกับการสื่อสารผ่านภาพจะมีกลยุทธ์ในการคิดที่ดี เป็นระบบ ซึ่งการสื่อสารรูปแบบดังกล่าวจะแสดงข้อมูลรวมถึงแนวคิดต่างๆที่มากกว่าการสื่อสารผ่านทางข้อความหรือการบรรยาย อย่างไรก็ตาม Visual
รูปภาพหนึ่งรูป แทนคำพูดได้มากกว่าล้านความหมาย แต่สำหรับข้อมูลรูปภาพ (Data Visualization) นั้นจะมีค่ามากเท่าไร? สำหรับโลกของการทำธุรกิจ เมื่อเราเอ่ยถึงข้อมูลรูปภาพหรือ Data Visualization เราไม่ได้หมายถึงแผนภูมิวงกลมหรือกราฟแท่ง แน่นอนว่ากราฟิกเหล่านี้สามารถแสดงข้อมูลได้หลากหลาย แต่มันก็ยังไม่สามารถแสดงข้อมูลทางธุรกิจที่ละเอียดขนาดเรียลไทม์หรือรายวันได้ องค์กรของคุณอาจมีเทคโนโลยีอัจฉริยะช่วยรวบรวมข้อมูล แต่คุณสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำอะไรต่อได้? บางครั้งมันก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลที่มี แต่ขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณนำมาใช้ ซึ่งในส่วนนี้เองที่ข้อมูลรูปภาพช่วยเราได้ “ข้อมูลรูปภาพมีประโยชน์หลายอย่างต่อธุรกิจของคุณ คุณค่าของมันมีมากกว่าการนำเสนอ Presentation” และนี่คือ 5 ประโยชน์ที่ข้อมูลรูปภาพสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของคุณได้ 1. เล่าเรื่องได้ดีกว่า หนึ่งในสาเหตุที่สื่อโซเชียลมีเดียได้รับความนิยม เป็นเพราะรูปภาพสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ดีกว่าแผนภูมิ ข้อความบนเว็บบล็อก หรือแม้แต่ Presentation ลองค้นหาแนวคิดที่แท้จริงที่คุณต้องการนำเสนอว่าคุณต้องการพูดถึงเรื่องอะไร ลืมการใช้แผนภูมิหรือกราฟไปก่อน แต่หันมาเลือกวิธีแสดงข้อมูลแบบ Data Visualization ที่มีความเป็นพลวัตร (Dynamic) ที่ผู้ชมสามารถรับรู้เรื่องราวที่คุณต้องการเล่าได้ง่ายกว่า เพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ดวงตาและสมองทำงานอย่างสัมพันธ์กัน 2. ทำให้ข้อเสนอดูมีคุณค่ามากขึ้น ข้อมูลแบบ Data Visualization นั้นมีพลังทางการตลาดอย่างมาก เพราะมันสามารถแสดงผลลัพธ์และดึงความสนใจของผู้ชมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังทำให้พวกเขาจินตนาการตามข้อมูลที่ได้รับได้อีกด้วย ลองนำการแสดงข้อมูลแบบ Data Visualization มาใช้ บนหน้าแรกของเว็บไซต์หรือบล็อกเพื่อโปรโมทโปรโมชั่นหรือข้อเสนอทางการตลาดของธุรกิจ แล้วคุณจะพบว่าผู้ชมมีการตอบสนองกับข้อความเหล่านี้มากขึ้น มากกว่าการเสนอขายด้วยการใช้ตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว
Design Thinking เป็นวิธีการออกแบบที่ทำให้เกิดแนวทางพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาต่างๆ มันมีประโยชน์อย่างมากในการจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อนด้วยการทำความเข้าใจความต้องการของมนุษย์ การกำหนดกรอบของปัญหาโดยเน้นมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง การระดมสมองเพื่อหาไอเดียที่หลากหลาย และการสร้างต้นแบบไปจนถึงการทดสอบวิธีการนั้น มาทำความเข้าใจกับ 5 ขั้นตอนของกระบวนการ Design Thinking ที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้มันเพื่อแก้ปัญหาอันซับซ้อนที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในบริษัท ในประเทศ หรือแม้แต่ปัญหาระดับโลก 1. Empathise ขั้นตอนแรกของกระบวนการ Design Thinking คือการทำความเข้าใจปัญหาที่เราพยายามแก้ไข โดยการสังเกต การมีส่วนร่วม และการเอาใจใส่ผู้คนรอบตัวเพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์และแรงจูงใจของพวกเขา การเอาใจใส่เป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางอย่างแนวคิด Design Thinking เป็นอย่างมาก เพราะมันช่วยให้เราสามารถตั้งสมติฐานเกี่ยวกับผู้คนรอบตัวและความต้องการของพวกเขาได้ 2. Define ขั้นตอนนี้สิ่งที่เราต้องทำก็คือการนำข้อมูลทั้งหมดที่หาได้จากขั้น Empathise มารวมกันเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งที่ได้ จากนั้นจึงเลือกเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเราจริงๆ ออกมาแล้วจึงนำมันมาอธิบายปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ แต่อย่าลืมว่าเราควรกล่าวถึงปัญหาในแบบ “เน้นมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง” ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “เราจำเป็นต้องเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารในหมู่เด็กสาววัยรุ่นขึ้นอีก 5%” แต่เปลี่ยนเป็น “ผู้หญิงวัยรุ่นต้องกินอาหารที่มีประโยชเพื่อการเจริญเติบโตและร่างกายที่แข็งแรง” จะดีกว่า ในขั้นตอนนี้จะช่วยให้ทีมรวบรวมแนวคิดเพื่อนำไปสร้างองค์ประกอบอื่นที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. Ideate ในขั้นตอนที่สามของกระบวนการ Design Thinking เป็นขั้นที่เราจะเริ่มนำไอเดียที่ได้มาสร้างให้เป็นรูปธรรม จากขั้นแรกที่ทำให้เราเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น ส่วนขั้นที่สองเราได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
If you have questions or require more information about our services.
latest Events
GET IN TOUCH
© 2022 ADGES. All rights reserved