10 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าถึงเวลาเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร

จะเห็นได้ว่าหลายองค์กรที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับค่านิยม วัตถุประสงค์ และภารกิจขององค์กรนั้น มักจะมีผลงานที่ออกมาดีเหนือความคาดหมาย ส่วนองค์กรณ์หรือบริษัทที่มีให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กรณ์นั้น ผลงานและผลประกอบการณ์ก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

“จากการสำรวจล่าสุด CEO และผู้นำในฝ่ายทรัพยากรบุคคลกว่า 82% เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน พวกเขาเข้าใจว่าสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรม นวัตกรรม แนวทางการบริการลูกค้า และอื่นๆ อีกมากมาย”

แต่การระบุอย่างเจาะจงว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเป็นเรื่องยาก แม้แต่ผู้นำที่มีประสบการณ์ก็อาจมองข้ามความเป็นจริงว่าสภาพแวดล้อมในที่ทำงานของพวกเขาต้องการการปรับปรุง ดังนั้นการตระหนักถึงสัญญาณที่เล็กน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งจำเป็น

และนี่ก็คือสัญญาณ 10 ข้อ ที่บ่งบอกว่าถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายในองค์กร

1. ประสิทธิภาพทางการเงินและตัวชี้วัดอื่น ๆ ต่ำกว่าเกณฑ์

แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจเกิดขึ้นจากกระแสของธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามหากผลกำไรขององค์กรลดลงพร้อมกับตัวชี้วัดอื่น เช่น คะแนนความพึงพอใจจากลูกค้าหรือมาตรฐานการบริการ ก็อาจเป็นผลกระทบมาจากคุณภาพของวัฒนธรรมองค์กร

2. บุคลากรในบริษัทรู้สึกลังเลที่ต้องสื่อสาร แม้จะเป็นการสื่อสารที่สำคัญก็ตาม

การสื่อสารคือองค์ประกอบสำคัญของความเป็นองค์กร ลองสำรวจดูว่าบุคลากรในบริษัทของคุณลังเลที่จะต้องสื่อสารหรือพูดคุย แสดงความคิดเห็น แม้ในช่วงเวลาสำคัญหรือไม่ คุณอาจใช้เครื่องมืออย่าง Emergenetics ในการทำความเข้าใจรูปแบบที่แตกต่างกันของการสื่อสารของคนแต่ละประเภท หากพบว่าการสื่อสารในองค์กรไม่ราบรื่นนั่นก็หมายความว่าวัฒนธรรมภายในถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง

3. พนักงานเข้ากับผู้นำหรือเพื่อนร่วมงานไม่ได้

ความเข้ากันไม่ได้อาจหมายถึงมีความเห็นต่างกัน ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไปจนถึงไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เครื่องมือ Emergenetics ช่วยให้เรารับรู้ข้อแตกต่างเหล่านี้และหาทางปรับปรุงแก้ไขต่อไปได้ เพื่อนำผลลัพธ์ไปใช้ในการประเมินสภาพแวดล้อมและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรของคุณ

4. คู่แข่งไม่หยุดที่จะก้าวนำหน้าองค์กรของคุณ

ในฐานะผู้นำหนึ่งในงานของคุณคือจับตาดูตลาดและการแข่งขัน ขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้องค์กรของคุณสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดไปยังผู้อื่น แต่เมื่อคู่แข่งดูเหมือนจะมีอำนาจเหนือกว่า อาจลองตรวจสอบดูว่าวัฒนธรรมในองค์กรมีส่วนไหนที่เราสามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดได้บ้าง

5. พนักงานมีความผูกพันกันน้อยหรือไม่มีเลย

มีส่วนร่วมของพนักงานเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดของคุณภาพองค์กร หากทีมของคุณมีส่วนร่วมในการทำงานอยู่เสมอ พวกเขาก็มีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำงานและทำเพื่อองค์กรมากขึ้น หากความผูกพันตรงส่วนนี้ไม่แข็งแกร่ง อาจถึงเวลาต้องประเมินสถานการณ์และปรับปรุงหลายๆ สิ่งได้แล้ว

Blog 1600 × 500px 3

6. มีการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร

องค์กรที่ตระหนักถึงธรรมชาติของความเปลี่ยนแปลงและพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จมากกว่าองค์กรที่หยุดนิ่งและไม่ทำการเปลี่ยนแปลง หากพนักงานมีลักษณะของการต่อต้านสิ่งใหม่ๆ ความก้าวหน้า หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกใดๆ ก็เป็นเวลาที่คุณต้องเริ่มพิจารณาการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในองค์กร

7. พลาดโอกาสอยู่เสมอ

เมื่อมีโอกาสใหม่มาถึงแต่พนักงานกลับเมินเฉยหรือเลือกที่จะปล่อยโอกาสเหล่านั้นไป อาจหมายถึงพวกเขากำลังรู้สึกว่าไม่ได้รับการเอาใจใส่และการสนับสนุนเท่าที่ควร

8. สูญเสียพนักงานที่มีความสามารถ

คุณสังเกตหรือไม่ว่าการรักษาพนักงานที่เก่ง เป็นคนดีและมีความสามารถกลายเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนเหล่านี้มักชื่นชอบองค์กรที่มีวัฒนธรรมเชิงบวก ได้รับการสนับสนุนและโอกาสในการเรียนรู้ หากต้องการรักษาบุคลากรคุณภาพเหล่านี้เอาใจ คุณก็ต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรอย่างเหมาะสม

9. ทุกคนโฟกัสที่อดีตมากกว่าอนาคต

การมุ่งมั่นและตั้งใจปฏิบัติตามค่านิยมดั้งเดิมของบริษัทอาจเป็นสิ่งดี แต่หากต้องการอนาคตที่มั่นคง พนักงานและผู้นำในองค์กรควรให้ความสำคัญกับปัจจุบันและอนาคตมากกว่า

10. ค่านิยมของผู้นำถูกมองข้าม

วัฒนธรรมถูกกำหนดโดยค่านิยมซึ่งส่วนใหญ่แล้วขับเคลื่อนโดยผู้บริหารหรือผู้นำ ดังนั้นหากผู้นำมองข้ามความสำคัญของค่านิยมและวิสัยทัศน์ อาจสงผลให้พนักงานและองค์กรดำเนินไปอย่างไร้ทิศทางในที่สุด

Blog 1600 × 500px 4

เมื่อสังเกตเห็นถึงสัญญาณเหล่านี้ แม้จะเป็นสัญญาณที่เล็กน้อยที่สุด นั่นก็หมายถึงเวลาของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายในองค์กรกำลังจะมาถึง ยิ่งตระหนักได้เร็วเท่าไร คุณก็ยิ่งสามารถปรับปรุงและเปลี่ยนองค์กรให้มุ่งไปข้างหน้าได้เร็วขึ้นเท่านั้น

สนใจการนำเครื่องมือ Emergenetics มาใช้เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ADGES e-mail: marketing@adges.net หรือ 088-028-1111 หรือเว็บไซต์ www.adges.net