‘ถ้ามีคำถามที่ว่า คนที่เกลียดที่สุดคือตัวเราเอง เราจะเจริญเมตตาได้อย่างไร’
เมื่อมีคำถามนี้เกิดขึ้นในขณะที่มีการเรียนเรื่อง The Joy of Living โดยท่าน Mingyur Rinpoche ท่านยิ้มรอให้ถามคำถามให้จบ หลังจากที่พวกเราได้ยินคำถามแล้ว ท่านถึงกล่าวว่า
‘แท้จริงแล้ว ผู้ที่ถามคำถามนี้ก็มีความเมตตาอยู่ในคำถามแล้ว ดังนั้นจะภาวนาแบบอื่นได้น่าจะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก’
อย่างที่สองสำหรับคนที่ยังไม่ได้รักตัวเองอีกให้สำรวจตรวจสอบในแต่ละวันเพื่อหาสิ่งที่เราสามารถนำมาชมตัวเองได้ ไม่ก็จะเป็น การที่ยังหายใจอยู่ การนำสิ่งดีๆให้กับชีวิตหรือ การกระทำอย่างไรบ้างอย่างที่ทำเราตัวเองได้ประโยชน์ เช่น ล้างจาน กับพาตัวเองมางานปฏิบัติธรรมและตั้งคำถามเหล่านี้
ท่าน Mingyur ยังชวนเราคุยต่อว่า ถ้าเรามีเมตตากับตัวเองแล้ว ลองนึกถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคนที่เรารัก เราที่เราเกลียด หรือสรรพสัตว์ทั้งหมดในภพภูมิต่าง ทุกสรรพสัตย์ยอมปรารถนาความสุขและเกลียดทุกข์กันทั้งนั้น การปฏิบัติภาวนาไม่ควรจะเป็นการเอาตัวเองให้พ้นๆ เเละถ้าเป็นการสร้างความทุกข์ให้คนอื่นแบบนี้คงเป็นชาวพุทธที่ไม่มีคุณภาพ ท่านให้เราพิจารณาถึงหลัก 4 Immeasureable Qualities หรือ อัปปมัญญาสี่ ที่มีพื้น ฐานมาจากพรมวิหารสี่ที่เรารู้จักกันดี แต่ข้อแตกต่างคือเป็นการสร้างความรู้สึกแผ่ออกไปไม่มีประมาณให้แก่ทุกสรรพสัตย์โดยประกอบไปด้วยข้อธรรมทั้งสี่ดังนี้
๑. เมตตา (Love and Kindness)
ความรักใคร่ปรารถนที่จะเห็นคนอื่น สัตว์อื่นเป็นสุข การสร้างความรู้สึกมุ่งให้สัตว์เหล่านั้นอยู่อย่างไม่มีเวรไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ประทุษร้ายกัน ให้อยู่ดีมีสุข แต่ให้แค่ความรัก (Love) อาจจะเจือปนไปด้วยกิเลสการเอาเข้ามาเป็นของเรา เลยต้องมีความว่าเมตตาหรือ Kindness มาขยายความด้วย
๒. กรุณา (Compassion)
ต้องการที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลอื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ มีความปรารถนาให้คนที่กำลังประสบความทุกข์และต้องการให้หลุดพ้นจากความทุกข์ โดยรากศัพท์แล้ว Com คือ together ส่วน Passion คือ Suffer ดังนั้นเอาคำทั้งสองมารวมกัน การรับรู้และการเข้าไปสัมผัสถึงความทุกข์และอยากที่จะทำให้ความทุกข์เหล่านั้นหมดไป
๓. มุทิตา (Sympatic Joy)
มุทิตา นั้นคือ ความรู้สึกผ่องใสเบิกบานที่เกิดขึ้นในจิตที่สามารถชื่นชมอย่างแท้จริง ในความดี ความงาม ความเจริญ และความสุขที่เป็นบุญเป็นกุศลของผู้อื่น มุทิตา ยังเป็นคุณธรรมที่คอยประหัตประหารความอิจฉา
๔. อุเบกขา (Equanimity)
โดยส่วนตัวมองว่าการแปลคำว่าอุเบกขาว่าปล่อยวาง ไม่ยินดียินร้าย อาจจะสร้างความสับสนมามากพอสมควร เช่นทำงานแบบมีอุเบกขาคือทำงานแบบปล่อยวาง หรือปล่อยเกียร์ว่าง ใครประสบความสำเร็จก็ไม่ยินดียินร้าย นั้นคงเป็นคำแปลที่ไม่ถูกต้อง ท่านพุทธทาสแปล อุเบกขานี้ว่า การวางเฉย อยู่ในความถูกต้อง คือรอเวลาที่มันจะไปถึงที่สุดที่มันจะให้ผล เมื่อถูกต้องหมดแล้วเราก็เฉย ท่าน Mingyur อธิบายเพิ่มเติมว่า การส่งความรักความปรารถนาดีออกไปทำได้ไม่ยากถ้าเราทำให้กับคนที่เรารักและคนในครอบครัว และทำได้ยากกว่ามากถ้าเราแผ่เมตตาไปยังศัตรูและสรรพสิ่งทุกชีวิตในทุกภพภูมิซึ่งต้องใช้อุเบกขาในการส่งความรู้สึกดังกล่าวออกไป
โดยในแต่ละหัวข้อของอัปปมัญญาจะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อเราลงมือในการปฏิบัติในการแผ่ความปรารถนาดีให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยท่าน Mingyur แนะนำว่า ถ้าใครอยากจะลองปฏิบัติให้ลองใช้เทคนิคที่เรียกว่า Sending and Taking Meditation ซึ่งทำได้ดังนี้
เริ่มจากการวางใจที่ว่า ลมหายใจเข้าของเราสามารถที่จะนำพาความทุกข์จากทุกสรรพสัตว์ที่อุปมาเหมือนกับความมึดเข้ามาในตัวเรา และถ้าเรามีความเข้าที่ถูกต้องเราจะเข้าใจว่าสิ่งต่างๆที่เป็นความทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ของผู้อื่น เมื่อเรานำเข้ามาแล้วจะสามารถแปรเปลี่ยนไปเป็นปัญญาได้ และเมื่อเราหายใจออกเราสามารถที่จะส่ง ความรัก ความเมตตา ความกรุณาให้กับทุกสรรพสัตว์ ที่เปรียบเสมือนแสงสว่างที่สามารถสอดส่องไปให้กับทุกสรรพสัตว์ อุปมาเหมือนตัวเราสามารถ Recycle แสงอันมึดมิดและสามารถแปลเปลี่ยนเป็นแสงที่ส่องสว่างออกไปได้
ท่าน Mingyur ถึงกับแนะนำว่าถ้ามองว่าการแผ่เมตตา ความรัก ความปรารถนาดีให้กับผู้อื่นเป็นเรื่องยาก ให้ลองนึกถึงตัวเองในอดีตและในอนาคตและให้ลองส่งความรัก ความเมตตาและความกรุณาให้กับตัวเองแทนอาจจะทำได้ง่ายกว่า
นับว่าเป็นบทความที่เขียนยากที่สุดอีกบทความหนึ่ง คนส่วนใหญ่น่าจะท่องพรหมวิหารสี่ได้ ส่วนอัปปญญาอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่การอธิบายในสายธรรมมหายานในเรื่องนี้มีความละเอียดลึกซึ้งและมีข้อธรรมจากการปฏิบัติและประสบการณ์ตรงที่อยู่นอกเหนือความเข้าใจในระดับตัวหนังสือ ทำให้เห็นถึงความสำคัญของ Love and Kindness, Compassion, and Wisdom เพราะถ้ายิ่งปฏิบัติแล้วยิ่งมี ‘กู‘ ที่อยากจะหลุดพ้นจากทุกข์คนเดียวน่าจะมาผิดทาง
Source: Dr.Nattavut Kulnides