การทำให้พนักงานมีส่วนร่วมกับบริษัทอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ แรงงานกลุ่ม Millennials กว่า 87 เปอร์เซ็นเห็นว่าการพัฒนา (Development) คือปัจจัยสำคัญในการทำงาน นอกจากนี้พนักงานกว่า 40 เปอร์เซ็นที่ได้รับการฝึกอบรมน้อยกว่าที่ควรและไม่มีโอกาสพัฒนาตัวเองมีแนวโน้มจะออกจากงานภายใน 5 ปี
กลยุทธ์การเรียนรู้และพัฒนา หรือ Learning and Development (L & D) ที่ล้มเหลวนี้สะท้อนให้เห็นถึงการพลาดโอกาสในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคตให้เติบโต
ผลการวิจัยจาก Find Courses’ 2018 Report แสดงข้อมูลเขิงลึกให้เราเห็นว่า บริษัทที่มีประสิทธิภาพสูง มีแนวโน้มที่จะใช้โปรแกรม L & D มากกว่าบริษัททั่วไปถึง 5 เท่า และ 42 เปอร์เซ็นของผู้เชี่ยวชาญด้าน L & D ระบุว่า พนักงานของพวกเขามีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ต่างๆ เป็นอย่างมาก
จากผลวิจัยทำให้เราสามารถระบุเคล็ดลับ 5 ข้อที่จะมาช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานผ่านการเรียนรู้และพัฒนา นั่นก็คือ
1. ตระหนักถึงความสำคัญของ L & D
โลกปัจจุบันมีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้นิยามความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานและการเรียนรู้ยังถูกคาดหวังจากคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะคนกลุ่ม Millennials จากการคาดการณ์ ภายในปี 2563 ประชากรอย่างสหรัฐอเมริกาจะให้ความสำคัญกับอาชีพอิสระที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และจะเกิดแนวคิดสองอย่าง คือ
- 1. อาชีพยุคใหม่จะกลายเป็นเส้นทางการเรียนรู้ควบคู่การทำงาน มากกว่าเป็นแค่งานเท่านั้น
- 2. ความต้องการให้สถานที่ทำงานเป็นศูนย์กลางการพัฒนาตัวเองเพิ่มสูงขึ้น
ด้วยเหตุนี้เองบริษัทจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการนำโปรแกรม L & D ต่างๆ มาใช้งานไม่ว่าจะในปัจจุบันหรือในอนาคตอันใกล้ก็ตาม เพื่อการรักษาพนักงานรวมถึงสร้างความมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงานรุ่นใหม่ด้วย
2. เน้นย้ำความสำคัญให้กับทุกคนในบริษัท
สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้พนักงานมีส่วนร่วมโดยการแบ่งปันการเรียนรู้จากโปรแกรม L & D ของบริษัท จากสถิติระบุว่า กว่า 90 เปอร์เซ็นของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ของพนักงานมักจะมีผู้บริหารระดับสูงที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเหล่านี้อยู่เสมอ
การส่งเสริมการเรียนรู้ในที่ทำงานจะช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างพนักงานและผู้นำภายในองค์กร รวมถึงเป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในบริษัท
3. หลีกเลี่ยงการใช้วิธีแก้ปัญหาแบบ ‘One-Size-Fits-All’
“ไม่มีพนักงานคนไหนเหมือนกัน 100 เปอร์เซ็น แต่ละคนก็มีความคาดหวังและเป้าหมายในการทำงานแตกต่างกันออกไป การนำกลยุทธ์ L & D มาใช้ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะตอบสนองและให้ผลลัพธ์เท่ากัน ดังนั้นอย่าลืมเพิ่มการฝึกอบรมที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงานแต่ละคนให้มากที่สุด”
นอกจากนี้ อาจใช้วิธีการอบรมแบบอิสระในรูปแบบต่างๆ เช่น E-learning, In-House Training หรือการเรียนรู้ผ่านระบบจำลองสถานการณ์ เป็นต้น ถึงแม้โปรแกรมการเรียนรู้เหล่านี้จะมีต้นทุนสูงกว่า แต่พนักงานจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่แน่นอน
4. เปิดรับเทคโนโลยี
“เราอาจคุ้นเคยว่าการฝึกอบรมทั่วไปคือการนั่งฟังบรรยายที่น่าเบื่อจากวิทยากรที่ไม่น่าสนใจ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนการฝึกอบรมให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้โซเชียลมีเดีย, E-learning, การเล่นเกม หรือแม้แต่การใช้เทคโนโลยี Simulation ก็ล้วนแต่ทำให้การอบรมสนุกและเพิ่มการมีส่วนร่วมได้มากขึ้น”
จากผลการวิจัยระบุว่า บริษัทที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้แข็งแกร่งมักนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการอบรม รวมถึงใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการอบรมให้เหมาะสมกับความต้องการของพนักงานแต่ละคนด้วยเช่นกัน
5. ติดตามความคืบหน้า
ถึงแม้ว่าการติดตามผลจะเป็นทฤษฎีที่เรียบง่ายที่สุด แต่มันก็มักถูกละเลยในการนำมาใช้เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์และการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของพนักงาน ทั้งในด้านการฝึกอบรมและการเพิ่มบทบาทหน้าที่ทางอาชีพให้กว้างขึ้น
“การนำเทคโนโลยีมาใช้ในขั้นตอนนี้จะช่วยให้การติดตามผลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
อย่างเช่น ระบบ LMS (Learning Management System) เพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้และความคืบหน้า รวมถึงสามารถนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อระบุจุดแข็งและจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขในอนาคต
นอกจากนี้การนำระบบติดตามผลอย่าง LMS มาใช้ยังทำให้ข้อมูลมีความโปร่งใส อีกทั้งยังทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถติดตามความคืบหน้าโดยไม่ล่วงล้ำพนักงาน รวมถึงสามารถนำผลที่ได้มาปรับปรุงโปรแกรมการฝึกอบรมได้อีกด้วย
นอกจากเคล็ดลับทั้ง 5 ข้อแล้ว บริษัทยังต้องหาวิธีการสร้างแรงจูงใจ เช่น การให้รางวัล เพื่อให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและอยากมีส่วนร่วมกับการฝึกอบรมต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้การมองหากลยุทธ์ L & D ใหม่ๆ อยู่เสมอ ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้บริษัททำตามเป้าหมายในการพัฒนาพนักงานได้สำเร็จเช่นกัน
สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และพัฒนา (L & D) ให้แข็งแกร่ง และพัฒนาบุคลากรในบริษัทอย่างเหมาะสม ด้วยหลักสูตร Coaching จาก ADGES สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากได้ที่ e-mail: info@adges.net หรือ 6688-028-1111 หรือเว็บไซต์ www.adges.net