How Mindfulness changes the emotional life of our brain?

สมองของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทางสมองใช้คำว่า Neuro Plasticity ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสมองมีผลมาจากสิ่งรอบข้างที่เข้ามากระทบเรานั่นเองซึ่งการตระหนักรู้หรือการอยู่ในสภาวะปัจจุบัน (Awareness) จะสามารถที่จะช่วยสร้างและขึ้นรูปใหม่ (reshape) สมองของเราได้

มีคำถามที่ว่าเราใช้ชีวิตด้วยความตระหนักรู้ในสภาวะปัจจุบันจริงๆหรือเปล่า คำตอบก็คืออาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคิด เพราะว่าไม่ว่าอ้างผลการทำวิจัย หรือประเมินจากประสบการณ์ตรงของเราก็ พอที่จะทราบได้ว่าเราใช้ชีวิตโดยที่ไม่ได้อยู่กับสภาวะปัจจุบันสักเท่าไหร่ 

ซึ่งมีคำพูดที่พูดว่าจิตที่ซัดส่ายนั้นทำให้เกิดความทุกข์เกิดขึ้น ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ทางสมอง ได้ทำงานวิจัยที่ศึกษาว่าสาเหตุที่ทำให้คนปัจจุบันมีความสุขน้อยลงมาจากสาเหตุไหนกันแน่ และสรุปได้ว่าสาเหตุหลักมีอยู่ปัจจัยนั่นก็คือ 

1. Distractibility

ตัวแรก จิตคนเราถูกดึงโดยสิ่งเร้าจากภายนอกได้ง่าย หรือวอกแวกง่าย (Distractibility) ก็คือการหลงคิดไปเรื่องต่างๆนานาได้ค่อนข้างง่าย มีการวิจัยที่ส่งข้อความผ่านมือถือแล้วถามคนที่ได้รับข้อความว่า 

1. เรารู้ไหมว่าเราทำอะไรอยู่ ณ ปัจจุบัน
2. เรารู้ไหมว่าจิตของเราตอนนี้คิดในเรื่องอะไรอยู่
3. ในสภาวะปัจจุบันเรามีความสุขหรือไม่มีความสุขกันแน่
คำตอบที่เราได้นั่นก็คือ 47% ของคนที่ ตอบคำถามบอกว่าตอนนี้กำลังหลงอยู่หรือไม่ได้รู้เลยว่าจิตกำลังคิดในเรื่องอะไร ตัวเลขนี้คงเป็นตัวเลขซึ่งสะท้อนในสภาวะสังคมและปัจจุบันที่ดูเหมือนว่าเรามีสิ่งต่างๆมากมายที่แก่งแย่งช่วงชิงความสนใจจากเราอยู่ และเมื่อเราไม่ได้ใส่ใจในสภาวะปัจจุบันเราเองก็มีความสุขน้อยลง ซึ่งในวิถีพุทธเองก็มีคำพูดคำนี้ที่พูดมานานว่า ‘จิตส่งออกนอก เป็นทุกข์’ 

2. Loneliness

ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์เองก็มีการเก็บสถิติที่ทำให้เราพบว่า เด็กรุ่นใหม่มีปัญหาในเรื่องของความบกพร่องของความใส่ใจหรือ Attention Deficit นั่นเองซึ่งเรามักจะเห็นว่า ถึงแม้เด็กรุ่นใหม่จะเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมีโซเชียลมีเดียที่ดูเหมือนว่าทำให้เขาวุ่นวายกับหน้าจอมือถือได้ทั้งวัน แต่เราก็มักที่จะพบว่าเด็กรุ่นใหม่เองก็มีปัญหาในเรื่องของความเหงาหรือ Loneliness นั่นเองแล้วยิ่งไปกว่านั้นเราก็จะพบว่า เด็กวัยรุ่นกว่า 76% ในประเทศอเมริกาได้ระบุว่า รู้สึกเหงาเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่เหงาเป็นครั้งเป็นคราวแต่เป็นความเหงาแบบถาวร ซึ่งก็ต้องบอกว่าความเหงาเนี่ยแหละก็จะเป็นโรคระบาดที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของเรานั่นเอง ซึ่งในวงของวิทยาศาสตร์ได้สรุปว่าความเหงาเป็นตัวชี้วัดว่าเราจะมีอายุที่ยืนยาว โดยมีความถูกต้องมากกว่าตัวชี้วัดทางสุขภาพมากกว่าสองเท่าเลยทีเดียว

ดังนั้นคำถามที่สำคัญก็คือแล้วสมองกับร่างกายของเราความสัมพันธ์กันยังไงกันแน่

3. Negative Thought and Depression 

ในเรื่องที่สามที่งานวิจัยระบุไว้นั่นก็คือ คนเรามักจะมีความคิดเชิงลบ (Negative Thought) แล้วก็ชอบบอกตัวเอง (Narrative) ในเรื่องของความคิดเหล่านั้น ซึ่งความคิดลบมักที่จะมากับความซึมเศร้า (Depression) 

เรามีคำบอกเล่าที่เราบอกกับจิตของเราว่าเราเป็นใครมีดีมีเสียอย่างไร รวมถึงความคิดลบ ความคิดขยะที่เรามี เราเองก็เป็นตัวสะสมความซึมเศร้า ความซึมเศร้าเป็นสิ่งที่เราพบเจอในการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ถ้าเราดูในแนวโน้มที่สองสามปีในกลุ่มของวัยรุ่นซึ่งมีอายุตั้งแต่ 12 ถึง 17 ปี จะบอกว่าตนเองรู้สึกว่าตัวเองซึมเศร้าและมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น เมื่อเราพูดถึงเรื่องของความซึมเศร้าเรายังต้องดูในเรื่องของอัตราการฆ่าตัวตายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ของวัยรุ่น ซึ่งเราก็จะเห็นว่านับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกซึ่งจะมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นแล้วก็ลดลงหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง แต่เราจะเริ่มเห็นว่าแนวโน้มของการฆ่าตัวตายกลับพุ่งขึ้นสูงขึ้นหลังจากปี 2000 ซึ่งอัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นก็ได้สูงขึ้นเป็นสองเท่าเลยทีเดียว

4. Life Meaning and Purpose 

เรื่องที่สามเป็นเรื่องของความหมายในการใช้ชีวิต (Life Meaning and Purpose) สิ่งที่เรามักจะเจอนั่นก็คือ คนที่หาความหมายในการใช้ชีวิตไม่เจอมักที่จะมีอายุสั้น มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งระบุว่าคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีแต่มีระดับความพึงพอใจในการใช้ชีวิตหรือระดับของเป้าหมายในการใช้ชีวิตในระดับต่ำจะมีอายุสั้นกว่าคนที่อายุเท่ากันแต่มีเป้าหมายในการใช้ชีวิตสูงกว่าถึงห้าปีเลยทีเดียว 
เราสามารถที่จะมีชีวิตที่ดีได้โดยคำนึงถึงหลักสี่ประการ

1. Awareness 

อย่างแรกก็คือการตระหนักรู้ลงเป็นปัจจุบัน (Awareness) รวมไปถึงความสามารถของจิตของเราที่จะมุ่งโฟกัสไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและลดในเรื่องของการความคิดที่กระจัดกระจายหาจุดโฟกัสไม่เจอ ซึ่งคุณภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทางสมองเรียกว่า Meta-Awareness ซึ่งเป็นความรู้สึกที่รู้ว่าตอนนี้จิตของเราทำอะไรอยู่ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราอ่านหนังสือและเรามีความรู้สึกว่าเราไม่ได้จดจ่อกับหนังสือ ที่เราอ่านแล้วเรากลับมารู้สึกตัวอีกครั้งนึงสิ่งเหล่านี้เรียกว่า Meta Awareness นั่นเองและเราสามารถสร้างได้ จากการเจริญสติที่ทำซำ้ๆและต่อเนื่อง ไม่ต้องบังคับตัวเองให้ทำที่ละนานๆ แต่ทำได้แค่วันสองวันก็เลิก Dr. Davidson บอกว่าขอวันละสามนาทีก็พอ

2. Connection 

ส่วนที่สองเรียกว่า Connection หรือการเชื่อมโยงทางความรู้สึกกับผู้อื่น การเชื่อมโยงเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่เรามีกับผู้อื่น รวมถึงคุณสมบัติอย่างอื่นยกตัวอย่างเช่น ความชื่นชม ความรัก ความเมตตา การมีมุมมองที่ดีในการใช้ชีวิต แล้วก็การวิจัยที่บอกว่ามันไม่ได้ใช้พลังงานมากมายเลยในการที่จะเริ่มในสิ่งเหล่านี้ หลายคนบอกว่าตนเองเป็น Introvert โปรดเข้าใจกันบ้าง แต่ในที่นี้ระบุแค่การมีความรัก เมตตา ถึงแม้ว่าอาจจะไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ สิ่งเหล่าสร้างได้ ยังมีนักจิตวิทยาอีกท่านหนึ่งบอกว่า การยิ้มแย้ม และทักทายเป็นสิ่งที่เรียกว่า Causual Relationship หรือความสัมพันธ์แบบไม่จริงจังมาก แต่มองหาโอกาสที่จะทำให้ผู้อื่นรู้สึกดี ซึ่งการทำอย่างนี้บ่อยๆและเรื่อยๆ จะทำให้เราและคนรอบข้างมีความในที่สุดนั้นเอง

3. Insight (about yourself)

หลักการที่สามจะเป็นเรื่องของความเข้าใจตัวเองหรือว่า Insight การเข้าใจตนเองเป็นเหมือนกับบทภาพยนตร์ที่เราบอกให้กับตัวเราเองนั่นเองว่า เราเป็นใครและมีความรู้สึกยังไงบ้าง และที่สำคัญเราเอาเรื่องร้ายร้าย เรื่องลบลบ ออกจากบทภาพยนตร์ที่มีชื่อว่าตัวเราได้อย่างไร รวมถึงบทที่ทำให้เรารู้สึกเศร้า เราสามารถสร้างบทภาพยนต์ในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่เราเปิดให้กับตัวเองได้บ้างไหม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเริ่มความสัมพันธ์ครั้งใหม่ หรือการแก้ไขความสัมพันธ์ที่ผ่านมาที่ไม่ได้เป็นอย่างที่ใจเราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัวกับเพื่อนร่วมงานหรือกับคนที่เรารัก สิ่งเหล่านี้เราเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องเริ่มจากความเชื่อของเราก่อน

4. Meaning of Life and Purpose 

ส่วนสุดท้ายเป็นเรื่องของเป้าประสงค์ (Purpose) นั่นก็คือว่าเรามีจุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิตที่สูงกว่าตัวเราเองได้อย่างไร เราอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของคนอื่นได้อย่างไร ซึ่งการมีมีชีวิตที่มีเป้าประสงค์อาจจะไม่ใช่หมายถึงการไปสร้างอะไรที่ยิ่งใหญ่ทุกครั้ง แต่รวมไปถึงกิจกรรมปกติสามัญที่เราทำยกตัวอย่างเช่น การเอาขยะไปทิ้ง การออกไปเดินเล่น การช่วยเหลือตนเอง ไม่ต้องรอน้อยใจลูกๆหลานๆที่หายหน้า หายตาไป ซึ่งมันก็จะสะท้อนว่ากิจกรรมเหล่านี้มันกลับมาตอบโจทย์ชีวิตของเราอย่างไรกันแน่ ไม่ว่าจะเป็นการทำประโยชน์ให้ผู้อื่นและชุมชน การไม่เป็นภาระให้กับคนอื่น การส่งมอบองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ ยอมสร้างผลกระทบอันใหญ่หลวงให้กัย สุขภาพ และสภาวะทางจิตใจที่ดีให้กับเรานั้นเอง

ดังนั้นด้วยข้อมูลที่นำมาพูดข้างต้น คงจะเพียงพอที่จะทำให้ทุกคนได้เริ่มที่จะโน้มน้าวว่ าถ้าอย่างนั้นเรามาฝึกเจริญสติหรืออยู่กับปัจจุบันดีกว่า คำถามแรกก็คือแล้วเราจะเริ่มได้ยังไงมี สองวิธีที่เราสามารถที่จะเรียนรู้ในสิ่งเหล่านั้นได้

อันแรกเป็นสิ่งที่เรียกว่าความพยายามจะเข้าใจในตัวเนื้อหาหรือการเรียนรู้ในสิ่งที่เราอยากจะพัฒนาเพิ่มเติมซึ่งเราจะพยามที่จะเรียนรู้ในเรื่องของความเมตตากรุณา ความใจดี การยกย่องชื่นชมของคนอื่น เพื่อที่จะเข้าใจว่ามันมีขบวน กระบวนการยังไงมันมีสเต็ปยังไงมีตัวเลขมีงานวิจัยยังไง แตามันก็ยังมีข้อจำกัดอยู่แค่ในตัวอักษร

รูปแบบที่สองจะเป็นขบวนการนำเอาไปปฏิบัติจริงๆ ซึ่งในทางของวิทยาศาสตร์ทางสมองก็ได้บอกว่าคนเราสามารถจะปรับเปลี่ยนสภาพของสมองของเราได้ ถ้าเราเริ่มทำอะไรที่แตกต่างเมื่อนั้นสมองเองก็จะเริ่มปรับเปลี่ยนแล้วก็ทรานฟอร์มทักษะความสามารถของสมองเพื่อเปลี่ยนสมองได้ มีตัวอย่างในงานวิจัยที่ระบุว่า ให้กลุ่มของผู้ทำการทดลองได้ลองฝึกในสิ่งที่เรียกว่า การฝึกที่จะมีความเมตตา (Compassion) เป็นเวลาสองอาทิตย์ สิ่งที่พบก็คือว่าเมื่อเราลองสแกนสมองของผู้ร่วมทำการวิจัยก่อนและหลังการฝึกเจริญเมตตาเราจะพบว่าจะมีความแตกต่างที่เห็นอย่างชัดเจน โดยที่คนที่ทำการฝึกมาเป็นเวลา 7 ชั่วโมง เราจะเริ่มเห็นสมองในส่วนที่ใช้ในเรื่องของความรู้สึกที่เป็นบวกมีกิจกรรมที่แข็งแรงมากขึ้น และรวมไปถึงข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นว่าสมองของเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เนี่ยอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงถาวร แต่ประเด็นก็คือถ้าเราทำอยู่เรื่อยเรื่อยและสม่ำเสมอการเปลี่ยนแปลงนั้นก็สามารถที่จะเกิดขึ้นได้

กล่าวโดยสรุปนั่นก็คือการเจริญสติการกลับมาอยู่กับปัจจุบันเป็นสิ่งที่โลกใบนี้ต้องการอย่างเร่งด่วน เพราะในเมื่อเราเองก็เกิดมาแล้วแทนที่จะหายใจทิ้งไปวันวันหรือปล่อยให้จิตของเราสร้างความทุกข์ให้กับเราเพราะว่าเราไม่ได้มีหลักยึด ให้จิตได้กลับมาสู่บ้านที่แท้จริงเราก็คงพูดได้ว่า เราใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพที่เรามีอยู่ และในเมื่อทุกคนต้องการความสุขและปฏิเสธความทุกข์ ดังนั้นต้นทางที่จำเป็นนั้นก็คือการเจริญสตินั่นเอง