Building Purpose-Driven Organization

‘Efforts and courage are not enough without purpose and direction.’
– John F. Kennedy –

เราคงได้ยินคำว่าองค์กรต้องขับเคลื่อนไปด้วยเป้าประสงค์ (Purpose) บ่อยขึ้นและถี่ขึ้น อาจจะมาจากคนทำงานในองค์กรได้มองเห็นความไม่แน่นอนของชีวิต ที่ก่อตัวขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดในช่วงของ COVID-19 ที่ในตอนแรกเป็นเรื่องความเป็นความตายใกล้ตัวและต้องลุ้นรายวันกันเลยทีเดียว จนทำให้คนหันมาตั้งคำถามที่ว่า เรามีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไรกันแน่ ประกอบกับคนรุ่นใหม่เองเริ่มตั้งคำถามที่ว่า คนรุ่นก่อเรียนกันมาจากวัตถุประสงค์หลักขององค์การนั้นคือ ‘การแสวงหาความรำ่รวยให้กับผู้ถือหุ้นอย่างสูงสุดหรือ (Maximizing Shareholders’ Values)’ พร้อมกับการแสวงหาความมั่งคงก็กลับทำลายโลกอย่างไม่คิดว่าจะทิ้งอะไรให้กับคนรุ่นต่อไป

ส่วนตัวผมเองนอกจากที่ชอบตั้งคำถามในเรื่องของเหตุผลของการใช้ชีวิตแล้วจนคนรอบข้างบอกว่าหยุดถามบ้างก็ได้ ยังได้รับบทบาทในการเป็นวิทยากรในหลักสูตร Purpose-Driven Transformation (PDT) ที่ทาง Thai Institute of Directors (IOD) ได้ตั้งใจออกแบบหลักสูตรออกมาและมีการทำหลักสูตรออกมาแล้วหลายรุ่น ทุกครั้งที่มีโอกาสใด้นำเสนอหลักสูตร (อย่าเรียกว่าสอนเลยเพราะคนที่มาเรียนเป็นผู้บริหารระดับสูงที่เห็นอะไรมามากกว่าผมเยอะ) ก็พยายามที่จะตั้งคำถามว่าจะพอมี Case Study ขององค์กรไทยที่จะสามารถนำมาใช้ในหลักสูตรได้หรือไม่

จนมีโอกาสได้ไปฝัง รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงการสร้างองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าประสงค์แล้วประทับใจ จนอดมาเล่าให้ทางทีมหลักสูตร จนทางทีมได้ติดต่อคุณหมอและนัดแนะเพื่อได้สัมภาษณ์อาจารย์

วันนี้ได้มีโอกาสได้คุยกับคุณหมอฉันชาย ก็ยิ่งประทับใจในแนวคิดจนทำให้เห็นมุมมองที่ชัดเจนว่าองค์กรที่วางเรื่องเป้าประสงค์ได้ถูกต้องและถูกตรงจะสร้างประโยชน์ได้อย่างไร จนอดที่จะนำมาแชร์ตต่อในเรื่องของ

’10 บทเรียนในการสร้างองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าประสงค์‘ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการสัมภาษณ์ดังนี้ครับ

1. First thing first, let begin with your individual Ikigai

อาจารย์เชื่อว่าเราไม่สามารถที่จะกำหนดเป้าประสงค์ขององค์กรได้ ถ้าเรายังไม่สร้างบริบทของ เหตุผลที่เราตื่นขึ้นมาในตอนเช้าหรือ Ikigai ให้กับตัวเองได้ ถ้าเราไม่ใช่เป็นคนตั้งคำถามที่ว่า เรารักที่จะทำอะไร อะไรที่โลกต้องการ อะไรเป็นสิ่งที่เราใช้ในการเลี้ยงชีวิตได้ รวมถึงสิ่งไหนเป็นสิ่งที่เราเก่งและถนัด ถ้าคำถามพวกนี้เราไม่ได้ถามตนเอง เราคงยังไม่พร้อมที่จะไปสร้างเป้าประสงค์ให้กับองค์กร

2. Be honest and authentic about your purpose

อย่าสร้างเป้าประสงค์แบบหวังผลทางด้าน CSR หรือ PR แต่ขาดความเชื่อพื้นที่ที่เรากำหนดเอาไว้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ เป้าประสงค์ของคณะแพทยศาสตร์จุฬานั้นคือ ‘สถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรมและมาตรฐานระดับนานาชาติ สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า และให้บริการทางการแพทย์และวิชาการตอบแทนสังคม’ ที่สะท้อนความเป้นตัวตนขององค์กร และมีขบวนการที่ช่วยกันคิด ไม่ได้มาจาก Top-Down

3. Beyond Purpose is…Purpose with Impact

องค์กรต้องไม่หยุดอยู่แค่เป้าประสงค์ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเหมือนเอาความฝันมาเล่าให้คนอื่นๆฟังและชวนคนมาฝันด้วยกัน แต่สิ่งทำให้องค์กรชั้นที่ยังยืนแตกต่างจากองค์กรทั่วๆคือ องค์กรชั้นนำคิดเรื่องเป้าประสงค์ไปพร้อมกับเรื่องผลกระทบหรือ Impact ที่องค์กรสามารถสร้างให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือ (Stakeholder) ต่อไปให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น Stakeholder ภายในหรือภายนอกองค์กร ในกรณีของคณะแพทย์จุฬาฯ มีการกำหนด Impact ในเรื่องของ นวัตกรรม ระดับนานาชาติ สร้างบรรทัดฐานในการเข้าถึง รวมถึงเรื่องคุณธรรมสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดการขยายผลของเป้าประสงค์

4. Connect your purpose with core DNA

เป้าประสงค์เป็นคำที่สูงที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้ แต่ขั้นตอนถัดไปเป็นการระบุถึง DNA สำคัญที่จะขยายความในเรื่องของเป้าประสงค์ที่ได้วางไว้ จากเป้าประสงค์ที่วางเอาไว้จะสามารถมองเห็นถึงค่านิยมพื้นฐานที่คนในองค์กรต้องเชื่อด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คุณธรรม ความดี ความถูกต้อง ในความเป็นจรองบุคคลากรก็จะมีระดับความใช่ และระดับความอินที่แตกต่างกัน แต่อาจารย์ขอให้เชื่อว่าถ้าเราวางเป้าประสงค์ให้ชัดรวมทั้งมีการกำหนด DNA ให้ชัดด้วย สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดขบวนการการคัดเลือกทางธรรมชาติขึ้นมาเอง

5. Mindset is everything

จากค่านิยมหรือ DNA ที่มีการช่วยกันกำหนดขึ้นมาซึ่งไม่ได้มาจาก top-down ย่อมจะมองเห็น Mindset ของคนในองค์กรได้อย่างชัดเจนไม่ว่าเป็นเรื่องของ นวัตกรรม ความดี การเข้าถึงคนทุกชั้นชนเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องรำ่รวยจากการเป็นแพทย์จุฬาอาจจะเป็นเรื่องรอง รวมถึงการทำใจไว้เลยว่าลูกศิษย์ไปทำงานเอกชนแล้วเงินมากกว่าอาจารย์แน่นอน อาจารย์ถึงกับบอกว่าเรื่อง Mindset สำคัญที่สุดและเป็นเรื่องที่ต้องสื่อสารซำ้ไปซำ้มาเพื่อให้เกิดความเข้าใจจริงๆในองค์กร

6. Purpose is 1% inspiration, and 99% of handworks through process and execution

การกำหนดถึงเป้าประสงค์ แล้วต่อยอดด้วยแผนงานทางกลยุทธ์ที่ส่งต่อเป็น Action Plan จะเป็นขบวนการสร้างมูลค่าที่คนในองค์กรสามารถสัมผัสได้ รวมถึงการสร้างความอินให้เกิดขึ้นในองค์กร อาจารย์พูดถึงความสำคัญในการสร้างพันธมิตรที่มีความเก่งที่แตกต่างกัน แต่ก็พร้อมที่จะเข้ามาช่วยกันเพราะพันธมิตรเองก็ซื้อในเรื่องของเป้าประสงค์ขององค์กรและพร้อมที่จะช่วยสร้างเป้าประสงค์นั้นให้เป็นจริง อาจารย์ยังเน้นยำ่อีกว่าการทำงานสมัยใหม่ เก่งคนเดียวคงไม่พอ จำเป็นที่จะต้องมีเพื่อนด้วย

7. Make Purpose sticks through Empowerment and Engagement

การเปรียบกลุ่มผู้นำในองค์กรเป็นกลุ่มนี้เริ่มชูประเด็นในเรื่องของการสร้างเป้าประสงค์ก็คงเปรียบได้คล้ายกับการจุดเทียนขึ้นมาเล่มหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นเปลวเทียวก็ได้ถูกจุดต่อๆกันในทั้งองค์กรเห็นเป็นแสงที่สว่างไสวและมั่นคง การที่จะทำแบบนี้ได้ต้องใช้การสร้างความมีส่วนร่วม (Engagement) จนถึงการมอบอำนาจ (Empower) ในขอบเขตที่คนในองค์กรสามารถที่จะขยายผลในเรื่องของเป้าประสงค์ใน version ของตนเองและอำนาจรับผิดชอบของแต่ละคน

8. Lead by Example

ซึ่งการเปิดพื้นที่ให้มีส่วนรวมต้องอาศัยการเปิดใจ รวมถึงการที่ผู้บริการเองทำตัวให้เป็นตนแบบ อาจารย์เล่าให้ฟังถึงเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสวนและต้นไม้ในโรงพยาบาลซึ่งเมื่อเห็นคนมาโรงพยาบาลแล้วมักที่จะถ่ายรูปกับสวนของโลกพยาบาลรวมถึงการจัดพื้นที่ให้ร่มรื่นและน่าอยู่ก็มีผลต่อการรักษาพยาบาล จนทำให้คนสวนที่โรงพยาบาลบอกว่าเข้าไม่ได้ทำหน้าที่จัดสวน แต่เขาเป็น Wellbeing Office รวมถึงเป็นบุคลากรที่ช่วยในการรักษาดูแลผู้ป่วย สิ่งเล่านี้ไม่ต้องบอกเลยว่าทำงานด้วยใจ ไม่ใช่ตาม Job Description สิ่งที่ผู้บริหารสามารถทำได้คือการชื่นชมและให้กำลังในการเป็นต้นแบบที่ดี

9. Data drives Destiny

คุณหมอยังพูดถึงบทบาทสำคัญของการนำเอาเรื่อง Data มาเป็นตัวระบุว่าเราบรรลุถึงเป้าประสงค์ของเราแล้วหรือยัง รวมถึงการที่เปิดโอกาสให้ Stakeholder ได้มีส่วน Feedback ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าเป็นคุณภาพของนักศึกษาแพทย์จากจุฬา ว่าอะไรเป็นจุดเด่น อะไรเป็นจุดด้อยแล้วใช้ข้อมูลเล่านั้นมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจ มีช่องว่างก็ต้องเปิดใจยอมรับและทำอะไรกับมัน มากกว่าที่จะนั่งทับปัญหาเอาไว้แล้วบอกว่าเป็นเรื่องของผู้อื่น

10. Walk the talk

เมื่อพูดถึงเรื่องคุณธรรม รวมถึงเรื่องสุขภาวะของบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ผลลัพธ์ที่คุณหมออยากเห็นคือ การที่แพทย์ใช้เวลาส่วนใหญ่ดูแล ใส่ใจคนไข้ มีคุณธรรม ไม่เห็นแก่ตัวเอง คุณหมอเล่าให้ฟังว่า นักเรียนแพทย์ที่มีแต่คนเก่งๆ ก็มักที่จะแข่งกันเรียน พอมีสอบก็โดนการเข้าเวรมาอ่านหนังสือ คุณหมอรวมถึงผู้บริหารท่านอื่นเลยตัดสินใจที่ยกเลิกระดับเกรดในคณะ แต่ให้เป็นผ่านกับไม่ผ่านแทน คุณหมอบอกว่าต้องทำการสื่อสารพูดคุยกันพอสมควร เพราะอาจารย์จะทำงานหนักมากขึ้น นักเรียนที่ผ่านจะต้องมีคุณภาพที่สูงขึ้น พร้อมทั้งมีการประเมินในมิติอื่นเพิ่มเติม คุณหมอบอกว่าการตัดเกรดมันง่าย แต่การประเมินแบบผ่านไม่ผ่านเป็นการเอาชื่อเสียงของคณะเป็นเครื่อง Guarantee แทน

สุดท้ายเมื่อคุณหมอถูกถามว่าชอบเล่าให้องค์กรที่เหลือให้ทราบถึงประโยชน์ของ Purpose และทำไมองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการพูดคุยกันในเรื่องนี้ไม่มี Purpose ก็ยังอยู่กันได้ ไม่มีไม่ได้เหรอ คุณหมอบอกว่าให้ถามตัวเองให้ดีๆว่าอะไรเป็นสาเหตุในการดำรงอยู่ขององค์กรเรา นั้นคืออะไรเป็น Reason for existing เพราะถ้าคณะแพทย์จุฬาเองไม่มีการตั้งคำถามในเรื่องและยังคิดอยู่ว่ายังไงก็ตามสังคมก็ยังต้องการองค์กรของเราในอนาคต เราอาจจะตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าสิ่งที่เราคิดอาจจะไม่เป็นความจริงอีกต่อไป

ถ้าเรายังไม่สามารถตอบโจทย์ของ Stakeholder ทั้งภายในและภายนอกได้ เมื่อนั้นองค์กรเราคงไม่มีคุณค่าอีกต่อไป ดังนั้นอย่ารอให้เราพาองค์กรให้ไปสู้จุดนั้น เราสามารถที่จะระเบิดเอาศักยภาพของคนและองค์กรออกมาได้ และนี้คือบทบาทที่สำคัญที่สุดของผู้นำที่ขับเคลื่อนองค์กรด้วยเป้าประสงค์ต้องทำให้เกิดขึ้น

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณหมอสำหรับโอกาส และหวังว่าทางคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาจะเป็นต้นแบบในการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าประสงค์ ที่สามารถการจุดประกายให้กับองค์กรอื่นๆได้ต่อไป

Leave a Reply