“นวัตกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงล้วนเป็นเรื่องยากสำหรับบริษัทเสมอ ถึงแม้จะมีการลงทุนด้านการอบรม เครื่องมือ และเนื้อหาการศึกษา แต่โครงการที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก็มีอัตราล้มเหลวสูงถึง 70% ที่น่าตกใจไปมากกว่านั้นก็คือสถิตินี้แทบจะไม่เปลี่ยนเลยนับตั้งแต่ปี 1970”
แต่การคิดด้วยภาพ เข้ามาเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร?
หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้บริษัทไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ก็คือ ไม่สามารถมีส่วนร่วมกับพนักงานในกระบวนการเปลี่ยนแปลง มองเห็นผลประโยชน์ของบริษัทมาเป็นอันดับแรกและพนักงานมาเป็นอันดับสอง ตัวอย่างเช่น การนำระบบ IT ใหม่ล่าสุดมาใช้ สิ่งแรกที่บริษัทให้แก่พนักงานคือ รายละเอียดการทำงานของระบบใหม่ แต่ผลกระทบจากมันที่มีต่อพนักงานกลับถูกมองข้าม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่อาจอยู่อย่างยั่งยืนได้หากปราศจากการสนับสนุนโดยพนักงาน ถึงแม้ว่ามันจะประสบความสำเร็จในช่วงแรกก็ตาม
ประโยชน์ของการคิดด้วยภาพ (Visual Thinking)
1. การคิดด้วยภาพช่วยให้พนักงานมองเห็นภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งตามมาด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาลที่พนักงานต้องทำความเข้าใจ แต่ถึงจะมีข้อมูลเหล่านี้พวกเขากลับไม่รู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ความคิดเห็นถูกมองข้าม และข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงการขาดความร่วมมือและความเข้าใจของพนักงานนี่เองที่เป็นปัญหาหลักในการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
“แต่การนำ Mind mapping มาใช้ จะช่วยให้พนักงานเห็นภาพรวมของข้อมูลได้ดีขึ้น มันคือหนึ่งในเครื่องมือการคิดด้วยภาพที่เรียบง่ายแต่สามารถใช้งานได้จริง Mind mapping สามารถเปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆ ให้เชื่อมโยงกันได้ด้วยหัวข้อหลักเพียงหัวข้อเดียว ช่วยให้การนำเสนอข้อมูลมีความเรียบง่ายแต่เจาะลึก มันคือเครื่องมือที่มีประโยชน์มากที่สุดในการทำให้พนักงานมีส่วนร่วมกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง”
2. การคิดด้วยภาพนำไปสู่ความรู้และความเข้าใจแนวคิดสำคัญ
หลายๆ ครั้งในการประชุมหรือการนำเสนอ บริษัทมักใช้คำศัพท์นามธรรมอย่างเช่น “ลูกค้าที่มุ่งเน้น” “ความยืดหยุ่น” หรือ “การก้าวล้ำ” ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาคือความไม่เข้าใจ หรือที่แย่กว่านั้นคือพนักงานเข้าใจแต่เป็นความเข้าใจกันคนละทิศละทาง การนำภาพมาใช้จึงช่วยเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรมให้สามารถจับต้องได้มากขึ้น ก่อให้เกิดข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ภาพวาดจะช่วยให้เราสามารถตีความและเข้าใจสิ่งที่ผู้นำเสนอต้องการได้อย่างชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3. การมองเห็นช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้ดีขึ้น
สมองสามารถประมวลผลภาพได้เร็วกว่าตัวอักษรถึง 60,000 เท่า และจากคำกล่าวที่ว่า “เราจำสิ่งที่ได้ยิน 10% จำสิ่งที่อ่าน 20% แต่จำสิ่งที่เราเห็นและทำได้ถึง 80%” นั้นล้วนแต่แสดงให้เห็นว่า ภาพวาดสามารถสะท้อนสิ่งต่างๆ ออกมาได้มากกว่าข้อความหรือคำพูด
เมื่อเราวาดภาพแนวคิดต่างๆ สมองจะเกิดการจดจำอัตโนมัติระหว่างกระบวนการคิด ทำให้แนวคิดนั้นเข้าใจง่ายขึ้น และจดจำได้ดีขึ้น เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “Draw Effect” ลองยกตัวอย่างการอธิบายคำว่า “การก้าวล้ำ (Groundbreaking)”
- Observe – เริ่มจากการคิดถึงคุณสมบัติทางกายภาพของคำนี้
- Visualize – คิดถึงภาพคุณสมบัติของมัน เช่น จรวด
- Draw – วาดรูปจรวดลงบนกระดาษ
- See – และสุดท้ายเราเก็บภาพของคำนี้เอาไว้ในใจ
จะเห็นว่าเรามีกระบวนการคิดหลายขั้นตอนก่อนคิดเป็นภาพออกมา สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เราจดจำและเข้าใจข้อมูลต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
“การคิดด้วยภาพมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงในองค์กร มันช่วยให้พนักงานเข้าใจและจดจำข้อมูลต่างๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งพนักงานเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลง อีกทั้งการนำกระบวนการคิดด้วยภาพมาใช้ยังมีประสิทธิภาพกว่า ช่วยลดต้นทุนรวมถึงช่วยให้ประหยัดเวลาอีกด้วย”
สนใจเทคนิคการคิดด้วยภาพเพื่อพัฒนาพนักงานและองค์กร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ADGES e-mail: marketing@adges.net หรือ 6688-028-1111 หรือเว็บไซต์ https://adges.net/