AON – Building Workforce Resilience

“What’s the most important or best thing HR can give an employee? The answer is a company that wins in the marketplace.” – Dave Ulrich

ขอขอบคุณทาง AON Thailand และ AON Southeast Asia ที่ให้เกียรติเชิญ ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ (Founder & CEO ADGES) ได้เป็น Panelist ในงานใหญ่ประจำปีของบริษัทโดยใช้ชื่อว่า Building Workforce Resilience โดยทาง AON ได้ขนเอาทีมงานและผู้บริหารในภูมิภาคมาพูดคุยกับลูกค้าชาวไทยเพื่อสร้างความมั่นใจในศักยภาพของตัวบริษัทและทิศทางธุรกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น ในส่วนของ Panel Discussion ที่ได้ AON Market Leader ของเมืองไทยมาเป็น Moderator โดยมี Panelist อย่างคุณเอ สุดคนึง ขัมภรัตน์ (President of Personnel Management Association of Thailand, PMAT) และคุณธญา วิชญเธียร (SVP, Head of Organization Development Division, Bank of Ayudhya Public Company Limited) ที่ทาง ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ (CEO, ADGES) เคยรวมงานสมัยที่ยังอยู่ที่บริษัท Mercer เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา โดยได้สรุปเนื้อหาที่พูดคุยในงานสำหรับคำถามที่ว่า อะไรเป็นข้อแตกต่างในการสร้าง Workforce Resilience ในบริบทของประเทศไทย

Dave Ulrich – Father of Modern HR และ Partner กับทาง ADGES ตั้งแต่ปี 2016 ชอบกล่าวว่า

“ถ้าเรามองเรื่องที่สำคัญในองค์กร เราจะมองใน 3 เรื่อง มือข้างหนึ่งคือ Talent อีกข้างหนึ่งคือองค์กร การที่เอามือทั้งสองข้างมาประสานกันเป็นหน้าที่ของ Leadership”

1. Talent

ในเรื่องของ Talent แบ่งเป็นเรื่องของ

Skill Set – ทักษะในโลกสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลง Convergence of skill และ Divergence of skill ค่อนข้างเร็ว งานในอนาคตส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นไปได้สูงที่ต้องการทักษะใหม่ๆ เช่นเดียวกัน ดังนั้นการสร้างทักษะจำเป็นต้องดูประกอบในหลายเรื่อง เช่น การสร้างความเข้าใจพื้นฐานในเรื่อง Literacy การสร้าง Competency ที่จำเป็น รวมถึงการสร้าง Character ที่สำคัญสำหรับโลกอนาคต อย่างเวลาหาโรงเรียนให้ลูก จะมองเห็นว่าโรงเรียนส่วนมากจัดการเรื่องวิชาการได้ดี แต่สิ่งที่อยากเห็นมากกว่าคือโรงเรียนเหล่านี้มี Eco-System ที่เอื้อต่อการสร้าง Character ของเด็กนักเรียนได้หรือไม่

Mindset – ส่วนตัวมองว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าคือการสร้าง Mindset ที่เหมาะสมกับโลกอนาคตและสิ่งที่เราต้องกล้าที่จะเผชิญ ใน Panel มีการพูดคุยในเรื่องของการที่องค์กรต้องลุกขึ้นมาทำในเรื่องของ Digital Transformation หลายองค์กรพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร Mindset นึงที่มีผลอย่างมากคือ ความกล้าที่จะล้มเหลวหรือ Fail First, Fail Fast, Fail Forward ที่ทั้งโรงเรียนและองค์กรส่วนมากไม่มีพื้นที่ให้นักเรียนและคนในองค์กรได้ได้ลองเสี่ยงหรือเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่จะล้มเหลว ซึ่งการขาด Future Oriented Mindset ทำให้เราจมอยู่กับอดีตและสิ่งที่คุ้นเคย ในขณะที่ HR เร่งสร้างทักษะ แต่ทักษะเหล่านั้นกลับไม่ได้ถูกนำไปใช้เพราะขาด Mindset ที่ดี

และส่วนสุดท้ายที่ขอนำเสนอคือ

Sunset – เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัว โดยจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ค่าเฉลี่ยของอายุอยู่ที่ประมาณ 50 ปี ในขณะที่เวียดนามมีค่าเฉลี่ยประมาณ 40 ปี นอกจากที่ประเทศเราจะมีผู้สูงอายุเป็นจำนวน 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดแล้ว ยังมีผลโดยตรงสำหรับในเรื่องของการ Upskill และ Reskill ยังไม่ต้องพูดถึงสังคมของผู้สูงวัย และสังคมของวัยทำงาน Dynamism ของที่ทำงานในองค์กรว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างใด ยิ่งไปว่านั้นทาง Business School ชื่อดังอย่าง IMD ได้การศึกษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศพบว่า ความสามารถในการแข่งขันของประเทศอยู่ในลำดับที่ 26 จาก 64 เศรษฐกิจหรือประเทศทั่วโลก แต่ในปีที่แล้วลำดับของเราตกลงมาที่ลำดับ 33 อีกทั้งยังในเรื่องของ Talent Ranking ที่เราอยู่ที่อันดับที่ 43 และ Digital Rank ที่เราอยู่ที่อันดับที่ 38 จะเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันทั้งในเรื่องของ Human Capital และ Digital ของเราค่อนข้างที่จะไม่ Competitive

โดยสรุปได้ว่า หากองค์กรอยากที่จะสามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับประเทศเราต้องเร่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพกันต่อไป

Final ปก Blog 35 1

2. Organization

ในตอนนี้องค์กรต่างเร่งสร้างความสามารถในการแข่งขัน องค์กรต้องไม่หลงประเด็นโดยมองเรื่องการปรับเปลี่ยนองค์กรในมุมมองของ Transform While Perform คือองค์กรต้องอยู่กับปัจจุบันและสามารถแข่งขันได้ใน Marketplace ปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันองค์กรต้องสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับอนาคตด้วย ทาง IMD เรียกการเปลี่ยนแปลงทั้งสองด้านว่า Dual Transformation และองค์กรจำเป็นต้องมีผู้นำที่สามารถทำเรื่อง Transform While Perform ได้จริง เมื่อมองดูจากงานวิจัยของทาง Deloitte ประเทศไทยในเรื่องของ Digital Survey แล้วกลับพบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทำเรื่อง Digital Transformation มี 3 เรื่องหลักๆ คือ

  • 1. ขาดทักษะและประสบการณ์ในเรื่องการทำ Digital Transformation ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • 2. วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง
  • 3. SILO Mentality ภายในองค์กรที่ทำงานขัดแย้งกันเองและไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีม

กลายเป็นว่าองค์กรไร้ความสามารถในการแข่งขันเพราะเรายึดติดกับสิ่งที่เรารู้จักและคุ้นเคย แต่ยังไม่สามารถรับฟังและเปิดใจในการเร่งพัฒนาองค์กร ยิ่งด้วยกระแสของ Tech Layoff รวมถึงความไม่แน่นอนของสภาบันทางการเงิน ที่เริ่มที่จะเหมือนว่าจะไม่คลี่คลายได้ง่ายๆ และอาจจะมี Domino Effect ทำให้ในวันที่องค์กรพร้อมจะเปลี่ยนแปลง อาจจะเป็นวันที่องค์กรไม่เหลืออะไรรวมถึง SILO ที่เราเคยหวงแหนเอาไว้ก็ได้

Screen Shot 2023 03 22 at 4.01.12 PM

3. Leadership

เรื่องสุดท้ายในเรื่องของ Dual Transformation องค์กรจำเป็นต้องเร่งสร้างทีม Leader ที่สามารถ Deliver ทั้งในสิ่งสำคัญและผลประกอบการในปัจจุบัน อีกทั้งในเรื่องของการสร้าง New S Curve ให้กับองค์กรเพื่อตอบโจทย์องค์กรในอนาคต จากการวิจัยของทาง IMD ได้ระบุเอาไว้ว่า องค์กรจำเป็นที่จะต้องสร้าง Ambidextrous Leadership คือ ผู้นำที่มีความถนัดทั้งสองด้าน ทั้งการ Deliver for Today และการ Create Opportunity for the Future ซึ่ง Leadershipd Model ที่ทาง IMD นำเสนอ มีอยู่ 5 Domain คือ

  • 1. Leading Strategy ผู้นำในการสร้างกลยุทธ์สำหรับธุรกิจปัจจุบัน และยังมี Spirit ของการ Transformer ในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่อนาคต
  • 2. Leading Execution ผู้นำที่สามารถใช้ Infrastructure และ Eco-system ในปัจจุบันในการสร้างผลลัพธ์ให้กับองค์กร และยังมี Spirit ของการเป็นนักทดลอง Experimenter ในการสร้างธุรกิจสำหรับอนาคตอีกด้วย
  • 3. Leading People ผู้นำในอนาคตต้องสามารถสร้างสมดุลย์ในการ Lead in Front คือใช้ Style ในการทำงานแบบ Command & Control ซึ่งหลายองค์กรมองว่าเป็นเรื่องล้าสมัยแต่ Style จะสร้างผลลัพธ์ในเรื่องของ Productivity และ Efficiency อย่างไรก็ตาม ผู้นำจะหยุดอยู่ที่ Style อย่างเดียวไม่ได้ ผู้นำต้องเรียนทักษะในเรื่องของการ Lead from Behind คือการสร้างทักษะในการ Coach เพื่อสร้าง Engagement ขวัญและกำลังใจโดยอาศัยการตั้งคำถามและการฟังอย่างตั้งใจ
  • 4. Leading Stakeholder ผู้นำในอนาคตต้องเก่งในเรื่องของการ Leverage องค์กรและ Internal Resource ในการ Deliver Outcome ผู้นำต้องไม่มองข้ามโอกาสในการทำงานกับ Vendors, Partners และ Potential Alliances ในการต่อยอดจุดแข่ง เปิดโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจในปัจจุบันและธุรกิจในอนาคตอีกด้วย
  • 5. Leading Self สุดท้าย Career ในฐานะ Leader เป็น Life-long Career ไม่มีประโยชน์อันใดที่องค์กรได้ทำงานกับผู้บริหารที่เก่งเพียงแค่ในช่วงเวลาอันสั้น เพราะผู้นำเอาอาจจะ Burn-Out เร็วหรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ดังนั้น การการสร้างวินัยในการดูแลตัวเองของผู้นำและการเติมสิ่งใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ ให้กับตัวผู้นำเองนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าผู้นำดูแลตัวเองได้ดีแล้ว ย่อมมีความพร้อมในการดูแลผู้อื่น
Screen Shot 2023 03 22 at 3.57.54 PM

ถือเป็น Panel Discussion ที่ดีมากได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ จาก Panelist ท่านอื่นๆ ที่เคยได้ทำงานด้วยกันและลูกค้าอีกหลายท่าน ต้องขอขอบคุณทาง Aon Thailand และ Aon Southeast Asia ที่ให้เกียรติมาให้ร่วมพูดคุยกันในครั้งนี้

เรื่อง : ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ (CEO, ADGES)