เวลาเปลี่ยน…คนเปลี่ยน
คิดยังไงกับคำที่ว่า ‘เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน’ ทำให้นึกถึงเรื่องความย้อนแย้งหรือ Paradox ที่เป็นคำฮิตสมัยนี้ เลยอดที่จะคิดต่อไปไกลว่าจะมีเวลาไหนที่ ‘เวลาเปลี่ยน…คนไม่เปลี่ยนบ้าง’ คำตอบคือ ‘คงไม่มี’ แต่คำถามที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ เรารับมือยังไรกับการเปลี่ยนแปลง
Content and Context
ส่วนมากเรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงโดยการสร้าง Content ใหม่ๆ ดูจากในองค์กรที่เร่งสร้างทักษะและ Skill ใหม่ๆและติดอาวุธทางปัญญาให้กับพนักงานอย่างเร่งด่วน แต่เชื่อไหมจากคนที่ทำงานเรื่องการศึกษา เชื่อว่าการสร้างทักษะเป็นเรื่องง่าย แต่การนำเอาความรู้ที่เรียนไปใช้ รวมถึงการสร้าง Insight ให้กับตัวเองยากกว่ามาก ส่วนมากเรียนมาแล้วไม่ทันใช้ก็ลืมไปเสียแล้วว่าเรียนอะไรมา สิ่งที่ยากที่สุดคือการให้คนในองค์กรได้เข้าใจเรื่องบริบทของการเปลี่ยนแปลงหรือเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า Context ที่แต่ละองค์กรเผชิญไม่เหมือนกัน องค์กรชั้นนำเข้าใจเรื่อง Context Change จนกลับมาสร้าง Content ที่เหมาะสมกับองค์กร แต่หลายองค์กรเร่งสร้าง Content ใหม่โดยยังไม่มีการเข้าใจเรื่อง Context เฉพาะมากพอ ซึ่งเป็นการสร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลให้กับองค์กร
Transform and Perform
องค์กรมักมองว่าตัวเองขาดทักษะจนต้องเร่งที่จะเติม แต่หลายองค์กรมีของดีอยู่กับตัวแต่มองไม่เห็น ในเรื่องของการ Transform องค์กรต้องเข้าในในเรื่องของ Dual Transformation
แน่นอนที่สุดองค์กรต้องมีทักษะในเรื่องของการ Transform มองไปข้างหน้า ตั้งคำถามว่าทักษะไหนที่เรายังขาด วัฒนธรรมในการทำงานในเรื่องไหนที่เราต้องเติม ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใด องค์กรต้องมีเรื่อง Transformational Intelligence ภายในองค์กรนั้นก็คือความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเอง
แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่องค์กรมี ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ที่อยู่คู่องค์กร การผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นเวลานานเป็น Performing Intelligence ที่องค์กรก็ยังทิ้งไม่ได้ เพราะเมื่อองค์กรได้ก้าวข้ามในเรื่องของ Transfomation และเริ่ม Stabilize Operation ขององค์กร องค์กรต้องสร้างผลลัพธ์ในเรื่องของ Performance และ Execution ไปในเวลาเดียวกัน ไม่มีองค์กรไหนที่จะสามารถอยู่รอดได้ถ้า Transform โดยไม่ Perform ดังนั้นอย่าเพิ่งทิ้ง Resource Culture Competency ที่ทำให้องค์กรมาถึงจุดนี้ของเรา
Let innovation plays, dare to fail
หลายองค์กรอยากได้นวัตกรรม แต่ไม่พร้อมที่จะล้มเหลว แล้วนวัตกรรมจะสร้างได้อย่างไร ที่สำคัญกว่า องค์กรต้องการนวัตกรรมจริงหรือไม่ หรือที่องค์กรทำเป็นการจัดฉากเรื่องนวัตกรรม (Innovation Theater) ขึ้นมาเพื่อเหตุผลบางอย่าง
ADGES มีโอกาสได้ทำงานกับ CEO ขององค์กรชั้นนำของประเทศไทยองค์กรหนึ่ง ท่านบอกว่าจุดแข็งขององค์กร ไม่เคยเป็นเรื่องนวัตกรรม องค์กรไม่ควรจะเป็น Pioneer ในเรื่องแต่การ Invent สิ่งใหม่ๆ แต่องค์กรมีจุดแข็งในเรื่องของการมาเป็นที่สองแต่ทำ Operation ให้ดีที่สุดและ Be the best ที่สำคัญคือผู้บริหารจะต้องซื่อตรงกับสิ่งที่องค์การเป็นหรือเข้าใจ Authenticity ขององค์กร อย่างไป Fake ตามกระแส เพราะถ้าเราไม่ทำสร้างความแตกต่างขององค์กรหรือ Differentiator จาก Top คนในองค์กรจะสับสน แต่ถ้าองค์กรมองว่าทางรอดขององค์กรคือการสร้างนวัตกรรมองค์กรต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องขึ้นมาโดยด่วน แต่สิ่งสำคัญก็คือให้จริงใจกับสิ่งที่องค์กรเป็น
Source: Nattavut Kulnides