Leader as Coach: การพัฒนาศักยภาพของทีมผ่านการ Coaching

‘คุณอยากเป็นหัวหน้าที่สามารถพัฒนาศักยภาพพนักงานในทีมด้วยวิธีการ Coaching ไหม?’

เมื่อเราอยู่ในจุดที่เป็นผู้นำขององค์กรหรือผู้นำของทีมแล้ว เราสามารถทำ Coaching ให้พนักงานในทีมเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานได้หรือไม่? คนส่วนมากรู้ว่า Coaching นั้นสำคัญ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าทำยัง

วันนี้ ADGES ได้จัด Workshop ในหัวข้อ Leader as Coach ให้กับองค์กรชั้นนำด้านการเงิน ได้พบกับผู้บริหารในแผนกต่างๆและได้สอบถามความคาดหวังที่จะได้จาก Workshop นี้ ผู้เข้าร่วมตอบคำถามว่า คาดหวังว่าจะได้วิธีการCoaching ให้กับพนักงานในทีม,ได้พัฒนาและบาลานซ์ Team Engagement ซึ่งส่งผลไปสู่การเพิ่ม KPI ของทีมได้

เราลองมาตั้งคำถามกันเล่นๆดูว่า ทุกท่านคิดว่า Moment ไหนที่เราได้แสดงความเป็น Leader ให้กับพนักงานในทีมกัน?

จริงๆแล้วทุกๆการตัดสินใจตอนอยู่กับทีม ทุกๆinteraction คือ Moment ของ Leadership ผู้เข้าร่วม Leader as Coach Workshop จะได้เรียนรู้การทำ Exercises, ได้ลองวิธีการตั้งคำถามในการCoaching จริง, และได้รับ Feedback ส่วนตัวที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้

The Three C Coaching model

  • 1. Character เคยเป็นไหมที่เราเลือกหัวหน้าที่จะคุยด้วย เรื่องนี้เราเลือกที่จะคุยและปรึกษากับหัวหน้าคนนี้ แต่เพราะอะไรเค้าถึงเลือกที่จะคุยแค่กับบางเรื่องกับเรา
  • 2. Connection เราได้ Connect กับพนักงานในทีมหรือยังและถ้ายังจะทำอย่างไร
  • 3. Conversation การมีบทสนทนาที่ผิวเผินอาจจะไม่ได้ช่วยพัฒนาศักยภาพของพนักงานในทีมเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นเราจึงควรเรียนรู้วิธีการสื่อสารที่ทำให้พนักงานในทีมได้พัฒนาศักยภาพของตนด้วย

ผู้เข้าร่วมได้ลองคิดว่าใครเป็น Coach ที่ดีที่สุดในชีวิตคุณและได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ร่วมกันว่าทำไมคุณถึงคิดว่าคนๆนั้นเป็น Coach ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ไม่ว่าจะเป็น โค้ชที่ Challenge เรา, โค้ชที่ใส่ใจเราหรือแม้แต่โค้ชที่ตั้งใจฟังเราอย่างจริงใจ

แต่ในการ Coaching ผู้ที่เป็น Coach จะต้องคำนึงถึงคำถามที่เราควรจะถามเพื่อช่วยในการโค้ชแบบมีประสิทธิภาพ เราได้มี List คำถามไว้เป็น Guide คำถามเพื่อให้ผู้นำสามารถนำไปใช้ในการ Coaching ได้จริง ใน Workshop ผู้นำทุกท่านจะเป็นทั้งโค้ชและเป็นผู้ที่ถูกโค้ช ผู้ที่พูดจะยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงที่ประสบมาโดยที่ไม่ได้ระบุตัวตนว่าเป็นใครในเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้น และจะได้รับมุมมองใหม่ๆจากโค้ชคู่ของเรา

นอกจากนั้นยังได้ฝึกฝน Deep listening เพราะบ่อยครั้งที่พนักงานในทีมมาคุยกับเรา เค้ายังไม่ทันได้เล่าเรื่องของตนเองจบเลย แต่เรากลับใส่ความเห็น Comment ของตัวเองโดยยึดเอาจากประสบการณ์ที่เราผ่านมาใส่เข้าไปในบทสนทนา มากกว่าการที่นั่งฟังพวกเขาอย่างตั้งใจ และการฝึก Appreciative Inquiry หลังจากที่ได้ทำ Appreciation กันหรือเรียกง่ายๆว่าการหาข้อดีมาชื่นชมจากบทสนทนาที่เราได้คุยกับผู้อื่นแล้ว มีบางท่านถึงกับได้พี่น้องหรือเพื่อนร่วมงานที่สามารถไว้ใจและเข้าใจเราในองค์กรเพิ่มเลยทีเดียว

มากไปกว่านั้นคือการรู้จักตัวตนและการให้คุณค่า (Value) ของพนักงานในทีมนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ การให้ความสำคัญของเรื่อง Value ที่ตัวเราเองให้และพนักงานให้ เพื่อการปรับตัวเข้าหากันจะยิ่งช่วยเพิ่มศักยภาพและความไว้ใจของพนักงานในทีม ให้เค้าอยากอยู่ทำงานในองค์กรต่อไปและไม่ Burn out กับการทำงาน

ก่อนจะจบ Workshop กันไป ผู้นำทุกท่านได้ทำ Commitment จากสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อนำไปใช้กับพนักงานในทีมได้จริง บางท่านได้แชร์ว่าปกติแล้วได้ทำ One on one Coaching กับทีมอยู่แล้ว แต่ก็ห่างหายไปเนื่องจากมุ่งแต่เน้นงานและ KPI เป็นหลัก หลังจากจบ Workshop ไปจะกลับมาให้ความสำคัญกับการพูดคุยกันในทีมมากขึ้น ซึ่งนี่คือจุดประสงค์หลักของ Workshop ที่มากไปกว่าแค่การรู้จักวิธีการ Coaching คือการนำไปใช้ได้จริง