‘Who looks outside, dreams; who looks inside, awakes.’ – Carl Jung
สะดุดใจกับ Quote ข้างบน ที่ตอนแรกนึกว่าเป็น Quote ที่มาจากศาสนาพุทธแน่ๆ แต่กลับกลายเป็นว่าคนที่พูดเป็นนักจิตวิทยาชาวสวิส เจ้าของทฤษฏี Type Dynamic ที่สุดท้ายมีคนอเมริกันสองคนสร้างเป็นแบบประเมินที่ชื่อว่า Myer Brigg Type Indicator หรือ MBTI โดยใช้หลักคิดของ Jung
ADGES ได้มีโอกาสร่วม Strategic Workshop กับโรงพยาบาลชั้นนำที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นที่นำทางของจังหวัดได้เชิญเรามานำเสนอเรื่อง Mindfulness Leader ก่อนที่จะเข้าสู่การพูดคุยเกี่ยวกับแผนกลยุทธ์ จึงขอเชิญคุณหมอรวมถึงผู้บริหารโรงพยาบาลให้กลับมามองย้อนดูตัวเอง โดยให้เดินทางเข้ามาข้างในซึ่งขอเรียกโดยรวมว่า Innerverse หรือจักรวาลภายใน โดยใช้เวลาคุยใน 3 เรื่องคือ
1. การตระหนักรู้ตัวเอง (Awareness)
การตระหนักรู้ตัวเอง ให้เข้าใจว่าจริต บุคลิคลักษณะ (Personality) รูปแบบทางความคิด และรูปแบบทางพฤติกรรม ของแต่ละบุคคลไม่เหมือน ที่สำคัญกว่านั้นตัวตนที่เราเป็น สิ่งที่เราชอบ อาจจะไปสร้างความเยอะหรือสร้างความปั่นป่วนให้กับคนรอบข้างโดยที่เราไม่ตั้งใจ และเมื่อกลับมาในหัวใจคำสอนในศาสนาพุทธในเรื่องของกระแสของเหตุและปัจจัย เราจะใช้คำว่าเมื่อเรามี sensors ในการรับผัสสะทั้งหกไม่ว่าจะเป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เราย่อมมีความสามารถในการสร้างเวทนาหรือความสุข ความทุกข์ ความรู้สึกเฉยๆ ที่แตกต่างกัน เมื่อเราตระหนักรู้ตัวเราเอง เราถึงยอมรับความแตกต่างระหว่างเรากับผู้อื่น และหวังว่าความเข้าใจอันนี้จะทำให้เราเห็นว่า สุข ทุกข์ เราหามาเองด้วยต้นทุน (กรรม) และการปรุง (ตัญหา) ที่แต่ละคนมี
2. การชื่นชม (Appreciate)
เมื่อเราตระหนักรู้ตนเอง เราจะยอมรับ และชื่นชมในตัวของเราเอง เราจะมองความต่างอย่างสร้างสรรค์ และยังมีพื้นที่ให้ชื่นชมตัวตนของผู้อื่น เรายังใช้เวลาให้ทุกคนได้สำรวจถึงค่านิยม (Value) และแรงจูงใจ (Motivation) ของแต่ละคน พร้อมทั้งให้คนในทีมได้รับรู้เรื่องราวและได้รู้จักตัวตนของกันละกันโดยการใช้ทักษะที่ไม่ใช่เรื่องใหม่อย่าง Deep Listening หรือการฟังอย่างตั้งใจ หลายองค์กรมองว่าทักษะการฟังไม่ได้ยาก แต่ที่เกิดขึ้นไม่ได้เพราะในองค์กรไม่ได้มีพื้นที่ปลอดภัยให้พนักงานและผู้บริหารได้เปิดใจรับฟัง รวมถึงความสามารถในการแสดงความอ่อนแอและความมั่นใจในการแสดงความอ่อนแอ (Vulnerability) ออกมา จนกลายเป็นทักษะในเรื่องการเป็นผู้นำที่ต้องสามารถแสดงความอ่อนแอออกมาให้ได้เพื่อสร้าง Emphaty และ Connection ให้เกิดขึ้นในองค์กร
ภาพที่เห็นคนในทีมเปิดใจรับฟังพร้อมทั้งที่จะช่วยให้ผู้อื่นได้ก้าวข้ามความทุกข์ รวมถึงให้กำลังใจกันเป็นภาพที่ตอกย้ำว่าทีมที่ดีเป็นทีมที่รับฟังและเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้กับทุกคน
3. การทำให้เกิดขึ้นจริง (Actualization)
สุดท้ายเป็นการตั้งคำถามกับผู้บริหารว่า เรายังรักในสิ่งที่เราทำรวมถึงระดับ Passion ของเราเป็นยังไงกันบ้าง ถ้า Passion เป็นสิ่งที่เราทำให้กับตนเอง ดังนั้นระดับของ Purpose คงเป็นสิ่งที่เราทำให้กับผู้อื่น ดังนั้นอยากให้ผู้บริหารทุกท่านได้ลองประเมินระดับของ Passion และ Purpose ของตัวเอง บางคนใช้ชีวิตส่วนใหญ่ใน Zone ของ Low Passion และ Low Purpose ไม่ได้รักในสิ่งที่ทำรวมถึงไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ ชีวิตก็ปล่อยไหลไปใน Zone ที่เรียกว่า Surviving Zone
แต่เมื่อเรามองบุคคลที่ยิ่งใหญ่ บุคคลที่เราชื่นชม เรามักที่จะเห็นบุคคลท่านนั้นใช้เวลาใน Zone ที่แสดงออกมาในเรื่องของ High Passion และ High Purpose นั้นคือรักในสิ่งที่ทำและเชื่อว่ากำลังทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้คนอื่น หรือบางทีเราเรียก Zone นี้ว่า Succeeding Zone หรือขอแปลเป็นไทยว่า ‘ฉันทะ Zone’ นั้นเอง ถามตัวเองในเรื่องของบทบาทของผู้บริหาร เราทำงานอยู่ใน Succeeding Zone หรือ Surviving Zone เพราะไม่ว่าเราจะเลือกใช้เวลาของเราใน Zone ใด เราได้ Set Example ให้กับคนในองค์กรเรียบร้อยแล้ว อย่าแปลกใจที่บางองค์กรเราเจอแต่คนที่ทุ่มเทและรักในงานที่เขาทำ หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญก็คือหัวหน้าและผู้นำในองค์กรได้ทำให้เขาดูก็ได้ แต่ในบางองค์กรทำงานกันแบบเอาตัวรอด ไม่อยากเด่นไม่อยากดัง ขอให้มีงานทำอีกวันก็พอแล้ว คงไม่แปลกใจว่าใครทำเป็นต้นแบบให้ดู
Source: Dr.Nattavut Kulnides