ทำกิจ ทำจิต

เป็นคำถามยอดฮิตทุกครั้งที่คุยการเรื่องการสร้างองค์กรแห่งสติภายในองค์กรว่าอยากสร้างแต่กลัวจะแข่งกับคนอื่นไม่ทัน หรืออยากจะฝึกสตินะแต่ปกติแล้วเป็นคนทำอะไรแล้ว กลายเป็นเป็นว่าการฝึกสติต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวอย่างให้เชื่องช้า พูดจาเบาๆช้า

ทุกครั้งที่ได้ยินคำถามแบบนี้ อดถามกลับไม่ได้ว่าถ้ายังงั้นเราก็อุปมานกัน ว่าขับรถถ้าจะปลอดภัยต้องขับช้า ขับรถถือว่าขาดสติ หรือแท้จริงแล้ว เร็ว ช้า ไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นอยู่ที่คนขับ และการมีสติของคนขับมากกว่า ถ้าคนขับฝึกทักษะมาดีแล้ว ให้ขับรถก็สามารถทำได้โดยที่ยังปลอดภัย

ในข้อธรรมในเรื่องสติและการทำงานมักจะพูดเรื่องการทำกิจ และการทำจิต ทำให้นึกถึง พระอาจารย์ไพศาลที่ท่านพูดถึงเรื่อง ทำกิจ และทำจิตไว้ว่า

การทำกิจ คือทำเต็มที ด้วยความสุข สงบ ความรัก และการมีฉันทะในการทำงาน ได้เห็นข้อเขียนของพระอาจารย์ที่ท่านว่า ถ้าทำเพราะเงินและตำแหน่ง ทำอย่างไรก็ไม่มีความสุข แต่ถ้าทำเพราะความรักในงาน ได้ทำก็มีความสุขแล้ว

การทำจิต ไม่ใช่เป็นการบังคับหรือดัดแปลงจิต แต่ใช้การทำงานเป็นการชำระตัวเอง เกิดการพิจารณาตนเอง ขัดกิเลส ออกจากใจ ทำไปด้วยสิ่งที่เรียกว่า การภาวนา 3 นั้นคือประกอบไปด้วย ทาน ศีล และภาวนา 

การให้ทานคือการให้สินค้าและบริการที่ดีที่สุด ไม่เอารัดเอาเปรียบคู่ค้า พัฒนาสินค้าและบริการเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ศีลคือความเป็นปกติ ทั้งในใจตนเอง ในบทบาทของการเป็นพนักงานในบริษัท รวมถึงการเป็นส่วนหนึ่งของโลก ถ้าอยู่ในศีลแล้วจะไปเบียดเบียนคนอื่นหรือทำร้ายธรรมชาติคงเป็นไปไม่ได้ ภาวนาคือการทำให้มีให้เจริญ ผลลัพธืที่เห็นได้คือกิเลศลดความสุขเพิ่ม มีเมตตากับคนรอบข้าง

แน่นอนที่สุดในการทำงานเราควรที่ ทำกิจ และทำจิต หรืออย่างที่ท่านว่า ‘คนสำราญงานสำเร็จ’

ที่ไม่อยากเห็นที่สุดคือ กิจไม่ทำ จิตก็ไม่เอา ผลลัพธ์ก็ไม่ได้ ตัวเองก็เต็มไปด้วยความทุกข์และกิเลส

แต่เอาแต่ทำกิจ แต่ไม่เอาเรื่องจิต ก็เครียด ทำงานไปตกนรกไป พอเกษียณแทนที่จะได้ท่องเที่ยวทั่วโลกไปเจอเพื่อนๆที่รู้จักกันมา กลับใช้เวลาเข้าๆออกๆโรงพยาบาล

แต่พวกหนึ่งทำแต่จิต แต่กิจไม่เอา ท่านก็ไม่สรรเสริญ เพราะถ้าหน้าที่เรายังไม่ทำยังเต็มที่ จะทำจิตได้จริงๆหรือเปล่าถ้ายังเอาเปรียบคนอื่นอยู่ 

และเมื่อผู้นำองค์กรสามารถเป็นตัวอย่างในการ ทำกิจ และทำจิต เมื่อนั้นความหวังในการสร้าง องค์กรรมณีย์ ที่ได้ทั้งงานภายนอกและงานภายในย่อมเป็นสิ่งที่สามารถคาดหวังได้

ดร.เอ ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ

Leave a Reply