Director’s Briefing Transformative by Design

 

Your visions will become clear only when you can look into your own heart. Who looks outside, dreams; who looks inside, awakes. – C.G. Jung

ขอขอบคุณทาง Thai Institute of Directors (IOD) โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณ Kulvech Janvatanavit ผู้อำนวยการสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่เข้าใจและเปิดใจรับฟังในเรื่องของแนวคิดและการนำเอาเรื่อง Personality ไปใช้ใน Context ของ Board of Management ได้เป็นอย่างดี ผมเองได้พยายามพูดคุยกับหลายองค์กรในเรื่อง Personality แต่รู้สึกว่าสามารถสร้างความเข้าใจในระดับที่ตำ่มาก อาจจะเป็นเพราะตัวเองยังทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ หน้าที่ของ Board ตอนนี้คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการสร้างองค์การให้พร้อมสำหรับการทำ Transformation

ซึ่งการเข้าใจเรื่อง Personality ที่เหมาะสมจะช่วยทำให้องค์กรเข้าใจในเรื่องจุดแข็ง จุดอ่อน ความเสี่ยง และ Bias ที่ Board อาจจะมีโดยไม่รู้ตัว การเอาเรื่อง Personality มาใช้ในองค์กรอาจจะไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ในองค์กรไทย แต่การนำเอาไปใช้ให้ถูกต้องและสามารถตอบโจทย์องค์กรได้จริงถือว่ามีองค์กรส่วนน้อยมากที่ทางผู้บริหารและ HR มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพียงพอ หลายองค์กรยังยึดติดอยู่กับเครื่องมือที่ใช้หรือเคยใช้ตามๆ กันมาก็ตามๆ กันไป เราเลยเห็นองค์กรนำเอา Personality Assessment ที่ออกแบบไปใช้ในเรื่อง Development แต่กลับเอาใช้ในเรื่อง Recruitement จากการที่อยู่กับองค์กรที่เชื่อในเรื่องการนำเอาแบบประเมินมาใช้แบบ Hard-core มาหลายปี จนมาถึงบทบาทที่เป็นที่ปรึกษาในการนำเอาเรื่อง Personality มาใช้กับองค์กร

อยากจะขอแบ่งบันสิ่งที่มักจะสร้างความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเวลาพูดถึงเรื่อง Personality หรือ Assessment เท่าทีเห็นมีอยู่ประมาณสักสี่เรื่อง No Money เชื่อหรือไม่ว่าเหตุผลอันดับหนึ่งเลยก็คือ ไม่มีเงิน ไม่ได้ budget เอาไว้ ดังนั้นจึงจะเห็นสถานการณ์ที่องค์กรสามารถจ้างผู้บริหารโดยที่จ่ายเงินเดือนสูงๆได้โดยไม่มีเข้ามูลในเรื่องของ Personality, Strength, Blind Spot, Risk และ Motivation ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งค่าใช้จ่ายในเรื่องการนำเอาแบบประเมินที่เชื่อถือได้มาใช้เป็นแค่หลักพัน ที่ไม่ได้ Budget เอาไว้ แต่สามารถจ่ายเงินเดือนหลักหลายๆแสนได้ นี่ยังไม่นับในเรื่องของ Cost of Bad Hire คือถ้าเลือกมาไม่ตรงก็จะสร้างความเสียหายให้กับองค์กรทั้งที่นับเป็นเงินได้และที่นับไม่ได้อีกมากพอสมควร ล่าสุดเลยองค์กรขอเก็บงบไว้จ้างวงดนตรีมาจัด Staff Party เพราะไม่ได้จัดมาหลายปี แต่ถึงวันที่จะต้องจัดไม่แน่ใจว่าจะเหลือ Staff กี่คน เพราะตั้งแต่รับผู้บริหารท่านใหม่มาพนักงานก็ทยอยลาออกไปหลายคน

aba4d9 abaf160b138a417bac41a14c7ea1e594mv2

No Understanding

อันนี้ก็เจอบ่อย การใช้ Personality Assessment เป็นเหมื่อนการนำเอาไม้บรรทัดหรือเครื่องมาตรวัดมาใช้ สิ่งที่ควรจะเข้าใจก็คือมาตรวัดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อวัดอะไรและสามารถความเข้าใจคนที่ทำแบบประเมินเข้าใจถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ความเหมือนความต่างกันได้หรือไม่ ที่เจอมาล่าสุดก็คือ เจ้าลูกสาวมาบอกว่าคุณครูให้ทำแบบประเมินใน online ที่บอกว่าเธอเป็นพวก North-East และอาจจะเข้ากันไม่ได้กับเพื่อนพวก South-West เมื่อพ่อสาย Psychology รู้เข้าเลยต้องถามว่า North-East เป็นอย่างไร มีพฤติกรรมแบบไหน แล้วต่างกับเพื่อนๆ ที่เป็น South-West อย่างไร กลับเป็นว่าไม่ได้รับคำตอบที่แสดงว่าเครื่องมือหรือแบบประเมิน online ได้สร้างความเข้าใจให้กับผู้ทำแบบประเมิน จนไม่สามารถมองความต่างอย่างสร้างสรรค์แต่กลายเป็นว่าเด็กโดน label ไปเรียบร้อยแล้ว ในการใช้เรื่องมาตรวัดมีสิ่งที่ต้องพิจารณาสองเรื่องคือ Validity คือตัววัดสามารถวัดสิ่งที่ถูกออกแบบมาได้จริงไหม เหมื่อนตาชั่งนำหนัก ต้องสามารถวัดนำ้หนักได้ตรงจริง สองคือ Reliability หมายถึงถ้าต้องวัดซำ้ตัววัดก็จะให้ข้อมูลเหมือนเดิมหรือไม่ก็เหวี่ยงมากจนเกินไป Personality Assessment ที่ดีต้องสร้างผลลัพธ์ที่มีทั้ง Realiability และ Validity

aba4d9 a5031c4e15f74a5e921c06693915f8cfmv2

No Alignment

การนำเอาเครื่องมืออย่าง Personality Assessment มาใช้ต้องมีการเชื่อมโยงสามเรื่องเข้าด้วยกันคือ 1. Data 2. Predictive Insight และ 3. Business Context บ่อยครั้งที่การใช้เรื่อง Personality และไม่สามารถเชื่อมโยงในเรื่องของ Business Context องค์กรอาจจะมีการใช้ Personality Assessment สำหรับงานทางด้าน Recruitement แต่เมื่อถาม HR ว่าอะไรเป็น Success/Failure Criteria ที่อยากเห็นหรือไม่อยากเห็นในตัว Candidate HR อาจจะตอบไม่ได้เพราะไม่เข้าใจงานดีพอแต่เมื่อ HR ชวน Line Manager มาคุย หลายครั้ง Line Manager ก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน บางองค์กรอาจจะนำมาใช้ใน Program Talent ที่ต้องขับเคลื่อน Transformation ในองค์กรแต่ระบบสรรหากลับเลือกกลุ่ม Talent ที่ไม่อยากจะ take risk ชอบแบบนั่งเงียบๆ พูดน้อยๆ และเน้นในเรื่อง compliance ในองค์กรมากกว่า เมื่อผู้บริหารมาทราบที่หลังถึงกลับบอกว่า Recruite ยังไงตรงข้ามกับสิ่งที่อยากได้ทุกอย่าง องค์กรชั้นนำจะมีความชัดเจนว่าจะเอาเครื่องมือแบบนี้มาใช้อย่าง จะช่วยเรื่อง Business Strategy ได้จริงไหม แล้วจะเลือกคนที่มี Leadership Competency ที่องค์กรต้องการได้จริงไหม จะได้ไม่ต้องเสียเวลา เลือกมาผิดแล้วเอามาพัฒนาต่อคงเห็นผลลัพธ์ลำบาก

aba4d9 0295dd648f944a6e9d7fa9aa3543e542mv2

No Interest

สุดท้ายแล้วการเข้าใจในเรื่องของ Personality เป็นเรื่องที่หาได้ยากมากในองค์กร องค์กรระดับ Fortune 100 เกือบ 100% อาศัยข้อมูลในเรื่อง Personality Assessment ที่เชื่อถือได้ในการทำงานในเรื่อง Talent Acquisition และ Talent Development ข้อมูลเฉลี่ยทั่วโลกระบุว่าประเทศในกลุ่ม Scandinavian มีการใช้ข้อมูล Personality ประกอบการตัดสินกว่า 80% แต่ขณะที่เมืองไทยมีตัวเลขน้อยกว่านั้นมาก แทบจะทุกองค์กรให้นำ้หนักเรื่องการพัฒนาและการฝึกอบรม อย่างน้อยก็รู้สึกว่า training ยังได้เจอกัน face to face ไม่ก็ virtual รู้สึกว่ายังจับอะไรได้บ้าง แต่ลองนึกภาพดูว่าจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเลือกคนมาได้ตรงตามศักยภาพที่เราต้องการและมาพัฒนาต่อให้ตรงตามจุดแข็งและความมุ่งมั่นในสายอาชีพเมื่อนั้นองค์กรจะสามารถแข่งขันได้จริง ซึ่งน่าจะดีกว่าพัฒนากันไปแบบเหมารวมแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่มีความแตกต่าง คนเก่งก็ไม่ Happy เพราะ อบรมไปก็ไม่เห็นประโยชน์

aba4d9 3f92ff08b8fd496aab1c5cca9f5884c4mv2

หลายคนคงเคยได้ดูหนังเรื่อง Gattaca ที่เป็นเรื่องของคนที่อยากเป็นนักบินอวกาศแต่ด้วยความบกพร่องของ Genetic ตั้งแต่เกิด เลยโดนสังคมประนามไปแล้วว่าไม่มีความพร้อมและไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ต่อให้พยายามแค่ไหนก็ตาม คำถามคือในบริษัทขององค์กรเรากำลังสร้าง Unconcious Bias ในเรื่องนี้โดยเราไม่รู้ตัวหรือเปล่า เราอาจจะให้นำ้หนักกับคนที่จบมหาลัยใดมหาลัยหนึ่ง หรือประสบการ์การทำงานที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งที่สามารถ Guarantee ความเหนือเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น การสร้างความเข้าใจในเรื่อง Personality จะสามารถลด Unconcious Bias ลงได้ องค์กรสามารถสร้างระบบที่ Transparent มากกว่าได้และสามารถสร้างความเข้าใจให้กับคนทั้งองค์กรในเรื่องของ Strength, Blind Spot, Risk และ Motivation ได้ สำหรับท่านไหนที่เป็นสมาชิกของทาง IOD อยากจะขอเชิญให้ร่วมฟัง Transformative by Design ที่จะเอาเรื่อง the Science of Personality มาตอบโจทย์ที่ว่ามาออกแบบองค์กรและ Board ที่พร้อมสำหรับงาน Transformation ได้อย่างไร ในงานนี้ไม่ได้มาขายเครื่องมือ Personality Assessment ต่อให้ท่านและองค์กรเป็นแฟนพันธ์แท้เครื่องมืออะไรก็รวมมาพูดคุยและแลกเปลี่ยน Idea กันได้ครับ ในวันที่ 23 มีนา 1400-1500 น. ขอขอบคุณทาง IOD อีกครั้งครับ

Transformative by Design