บุคลิกภาพและเป้าหมายสู่ความสำเร็จ (Personality and Goals)

“ช่วงปีใหม่มักจะเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนตั้งเป้าหมายให้กับชีวิต อย่างไรก็ตาม บุคลิกภาพนั้นมีบทบาทอย่างไรกับการกำหนดเป้าหมายในชีวิตของเรา”

ไม่นานมานี้ ในรายการ The Science of Personality โดย Ryne Sherman, chief science officer และ Blake Loepp, PR manager ได้ร่วมพูดคุยกับ Olivia Atherton, assistant professor of psychology จาก the University of Houston เกี่ยวกับประเด็นเรื่องบุคลิกภาพกับการกำหนดเป้าหมาย

โดย Olivia ได้กล่าวว่า

“ทุกสิ่งที่เราทำในแต่ละวันล้วนมีเป้าหมายเป็นตัวขับเคลื่อน” และ “เราทุกคนต่างมีเป้าหมายชีวิตที่เป็นตัวกระตุ้นว่าเราอยากทำอะไรและต้องการไปที่ไหน”

ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นที่น่าสนใจนี้ ว่าบุคลิกภาพนั้นมีอิทธิพลต่อการตั้งเป้าหมายต่างๆ มากเท่าใด รวมถึงเหตุผลที่คนเราเปลี่ยนเป้าหมาย และเพราะเหตุใดเราจึงมักจะให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

บุคลิกภาพและเป้าหมายชีวิต

Olivia และผู้ร่วมทำการศึกษา ได้ทำการสำรวจศึกษานักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจำนวนกว่า 500 คน โดยมีการติดตามผลการสำรวจต่อมาถึงใน 20 ปีให้หลัง เพื่อทำความเข้าใจว่าบุคลิกภาพนั้นส่งผลกระทบต่อแรงบันดาลใจและความสำเร็จได้อย่างไร โดยโครงการ Berkeley Longitudinal Study (BLS) นี้ ได้ทำการศึกษาเป้าหมายชีวิต 7 ประเภท และความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้แบบจำลองลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างหรือ the Big Five ประกอบกับแบบจำลองด้านจิตวิทยาอื่นๆ

ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างนั้น ประกอบไปด้วย

  • 1. ความสนใจต่อสิ่งภายนอก (extraversion)
  • 2. ความยินยอมเห็นใจ (agreeableness)
  • 3. ความเปิดรับประสบการณ์ (openness)
  • 4. ความพิถีพิถัน (conscientiousness) และ
  • 5. ความเสถียรทางอารมณ์  (emotional stability หรือ neuroticism)

ซึ่งบุคลิกภาพใหญ่ทั้ง 5 อย่างนี้ มีความสอดคล้องบางประการกับมาตรวัดระดับบุคลิกภาพทั้ง 7 ของ Hogan Personality Inventory ในขณะที่เป้าหมายชีวิต 7 ประเภท ประกอบไปด้วย

  • 1. เป้าหมายด้านสุนทรียภาพ (aesthetic goals)
  • 2. เป้าหมายทางเศรษฐกิจ (economic goals)
  • 3. เป้าหมายด้านครอบครัวและความสัมพันธ์ (family and relationship goals)
  • 4. เป้าหมายทางความคิดด้านความสุข (hedonistic goals)
  • 5. เป้าหมายทางการเมือง (political goals)
  • 6.เป้าหมายทางศาสนา (religious goals) และ
  • 7. เป้าหมายทางสังคม (social goals)

ซึ่งสามารถเปรียบได้กับรายการแรงจูงใจ คุณค่า และความพึงใจทั้ง 10 ของ Hogan เช่นกัน

166

BLS พบว่าบุคลิกภาพมีผลกระทบต่อเป้าหมายที่เรามุ่งมั่น โดยงานวิจัยของ Olivia นั้นแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของบุคลิกภาพของคนตอนอายุ 18 ปี มีความสัมพันธ์ผกผันกับการเปลี่ยนแปลงของเป้าหมายตามกาลเวลา ตัวอย่างเช่น คนที่มีความเห็นอกเห็นใจนั้น แสดงให้เห็นว่ามีระดับเป้าหมายด้านครอบครัวและความสัมพันธ์ที่ต่ำลงเมื่อกลายเป็นผู้ใหญ่ เนื่องจากพวกเขาได้มอบเวลาให้กับการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมาย เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การแต่งงาน และมีลูก ดังนั้น พวกเขาจึงให้ความสำคัญกับเป้าหมายดังกล่าวน้อยลง เนื่องจากได้บรรลุเป้าหมายแล้วนั่นเอง

อีกหนึ่งการค้นพบจากงานวิจัยของ Olivia นั้นคือ เป้าหมายหลายอย่างที่คนมองว่าสำคัญในช่วงอายุ 18 นั้นมีความสัมพันธ์ผกผันกับการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพในช่วงอายุ 18-40 เช่นกัน โดยคนที่มีความเห็นอกเห็นใจในช่วงอายุ 18 ปี และให้ความสำคัญกับเป้าหมายด้านครอบครัวและความสัมพันธ์น้อยลงในช่วงอายุ 40 ปีนั้น มีสติรอบคอบมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากหน้าที่ต่อครอบครัวใหม่ของพวกเขา (คู่ชีวิต หรือ พ่อแม่) ซึ่งต้องการความรอบคอบในการรักษาในระดับหนึ่ง หรือสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการบรรลุเป้าหมายของพวกเขามีส่วนทำให้บุคลิกภาพเปลี่ยนไป

บุคลิกภาพและความสำคัญของเป้าหมาย

ในขณะที่การศึกษาของ BLS ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ว่าลักษณะของบุคลิกภาพที่กำหนดความสำคัญของเป้าหมายนั้นเหมือนกับลักษณะของบุคลิกภาพที่ทำให้บรรลุเป้าหมายหรือไม่ แต่ก็เป็นสมมติฐานที่สามารถเข้าใจและคาดเดาได้ โดย Olivia ได้ตั้งสมมติฐานว่า

“หากแนวโน้มบุคลิกภาพของคุณ ส่งผลให้คุณให้ความสำคัญกับเป้าหมายบางประเภท ลักษณะเดียวกันนี้ก็อาจเป็นประโยชน์ในการพยายามมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายนั้นและบรรลุมัน”

ซึ่งเธอได้กล่าวอีกว่า

“คนที่มีแนวโน้มบุคลิกภาพประเภทหนึ่งมักจะให้ความสำคัญกับเป้าหมายชีวิตบางประเภท” และ “นั่นหมายความว่าลักษณะบุคลิกภาพที่หลากหลายเหล่านี้อาจเหมาะสมกับเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกัน”

โดยความเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพและความสำคัญของเป้าหมายนั้นน่าสนใจเป็นอย่างมาก

การมีเป้าหมายจะช่วยให้เราพบจุดประสงค์และความหมายของชีวิตโดยใช้เวลา ทรัพยากร และความพยายามที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างเหมาะสม โดยเชื่อมโยงเป้าหมายเข้ากับสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา ซึ่งเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการมุ่งหน้าสู่เป้าหมายที่เราต้องการบรรลุในชีวิต

165

คำแนะนำสำหรับการตั้งเป้าหมาย

Olivia ได้แบ่งปันคำแนะนำ 3 ข้อเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายในบริบทของบุคลิกภาพและความก้าวหน้า

1. ทำความเข้าใจความเกี่ยวข้องของบุคลิกภาพและเป้าหมาย

เนื่องจากเราใช้เวลาทั้งชีวิตไล่ตามเป้าหมาย ดังนั้นจึงมีวิธีการมากมายทั้งเล็กและใหญ่ในการมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ เราสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและคุณค่าของบุคลิกภาพของเราเพื่อระบุเป้าหมายที่เราต้องการทุ่มเทเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ นอกจากนี้ เราควรระลึกไว้เสมอว่าเป้าหมายที่เรามุ่งไปสู่นั้น สามารถทำให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของเราได้ ดังเช่นตัวอย่างเรื่องความมีสติรอบคอบที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่มีเป้าหมายด้านครอบครัวและความสัมพันธ์

2. เป็นเรื่องธรรมดาที่เป้าหมายชีวิตจะเปลี่ยน

  • ความสนใจต่อสิ่งภายนอก – เชื่อมโยงกับเป้าหมายทางความคิดด้านความสุข หรือเป้าหมายชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความสุขและความสนุก
  • ความยินยอมเห็นใจ – คนที่มีความเห็นอกเห็นใจมากกว่ามักจะให้ความสำคัญกับเป้าหมายทางสังคมหรือเป้าหมายในชีวิตที่เน้นการช่วยเหลือผู้อื่น.
  • ความเปิดรับประสบการณ์ – ความเปิดกว้างเกี่ยวข้องกับเป้าหมายชีวิตเกือบทุกประเภท เนื่องจากอาจเป็นเพราะคนที่มีความเปิดกว้างสูงมักจะสนใจในหลายๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายด้านสุนทรียภาพ เป้าหมายทางความคิดด้านความสุข เป้าหมายทางศาสนา และเป้าหมายทางสังคม ซึ่งล้วนเชื่อมโยงกับความเปิดกว้าง
  • ความพิถีพิถัน – การมีความรับผิดชอบ มีระบบระเบียบ และความขยันเกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจและเป้าหมายด้านครอบครัวและความสัมพันธ์มากที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งคือเกี่ยวข้องกับการทำงานและความรัก
  • ความเสถียรทางอารมณ์ – ความเสถียรทางอารมณ์เกี่ยวข้องกับเป้าหมายด้านสุนทรียภาพ อาจเป็นเพราะศิลปะทำหน้าที่เป็นทางออกที่สร้างสรรค์สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้า

การที่เป้าหมายชีวิตเปลี่ยนไปนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตตามธรรมชาติ โดยในช่วงวัยรุ่นตอนปลายและวัยยี่สิบต้นๆ เรามักจะมีเป้าหมายชีวิตหลายด้านมากที่สุดเพราะเรายังคงพยายามกำหนดสิ่งที่สำคัญสำหรับเราเสมอ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราอายุมากขึ้น และได้ปรับเปลี่ยนค่านิยมของเราและทบทวนเป้าหมายที่เราต้องการ เป้าหมายอาจมีความสำคัญหรือความเกี่ยวข้องในการใช้ชีวิตน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไปหลังจากที่เราได้บรรลุเป้าหมายแล้ว ดังนั้น อย่ากลัวที่จะปรับการให้ความสำคัญกับเป้าหมายชีวิตต่างๆ ของคุณในขณะที่คุณเติบโตไปตามเส้นทางชีวิต

3. สามารถทบทวนเป้าหมายชีวิตในช่วงเวลาใดก็ได้ของปี

แม้ว่าช่วงเริ่มต้นปีใหม่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีในการไตร่ตรองและวางแผนชีวิต อย่างไรก็ตามช่วงเริ่มต้นเดือน สัปดาห์ หรือวันก็เป็นช่วงที่ดีไม่ต่างกัน ปีใหม่ไม่ได้เป็นช่วงเวลาพิเศษมากกว่าสำหรับการตั้งเป้าหมายและมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย จงเต็มใจที่จะเริ่มต้นใหม่และพยายามอีกครั้งทุกเมื่อที่ต้องการ โดย Olivia ได้กล่าวว่า “ถ้าคุณพุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่คุณสนใจและมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม ฉันมั่นใจว่าคุณจะไปถึงจุดที่ต้องการ”

สามารถรับฟังการสนทนานี้แบบเต็มได้ในตอนที่ 67 ของ The Science of Personality โดยสามารถติดตามได้ในพอดแคสต์

Blog 1600 × 500px 4

ADGES พัฒนาความเป็น Leadership ให้เหมาะสมกับองค์กรและคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วยเครื่องมือพัฒนาความเป็น Leadership สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ADGES e-mail: [email protected] หรือ 088-028-1111 หรือเว็บไซต์ www.adges.net

Source : www.hoganassessments.com

how can we help you?

If you have questions or require more information about our services.