6 พฤติกรรม ทำลายศักยภาพในการเป็น ‘ผู้นำ’

เราใช้เวลาอย่างมากเพื่อสอนสิ่งที่ผู้นำควรทำ แต่ไม่เคยสอนในสิ่งที่พวกเขาไม่ควรทำ
– Peter Drucker

หากเราลองค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็นผู้นำ บทความส่วนใหญ่จะแนะนำเฉพาะเรื่องราวของพฤติกรรมที่ควรทำ หรือแนวคิดที่ผู้เชี่ยวชาญและผู้ฝึกอบรมแนะนำให้เราปฏิบัติ แต่เมื่อลองพิจารณาให้ดีจะพบว่างานเขียนส่วนมากมุ่งเน้นไปที่การบอกให้เราอยู่ห่างจากพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ซึ่งอาจส่งผลต่อทีม

6 พฤติกรรม ที่เป็นตัวทำลายศักยภาพในการเป็นผู้นำรวมถึงเคล็ดลับในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้

1. การบริหารงานแบบจู้จี้จุกจีกจับผิดและตรวจสอบรายละเอียดทุกอย่างทุกขั้นตอน (Micromanaging)

การเป็นผู้นำที่เอาใจใส่เป็นเรื่องดี แต่หากคุณมองหาข้อผิดพลาดทุกจุด คุมเข้มพนักงานทุกเรื่องมากเกินไป หรือมีแนวคิดว่า “หากไม่บอกพนักงานว่าต้องทำอย่างไร งานจะออกมาไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง” พฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลในทางตรงข้ามได้ ซึ่งการเป็นผู้นำในลักษณะนี้ ส่งผลกระทบต่อกำลังใจ ความรู้สึกของพนักงาน และอัตราการ Turnover รวมถึงเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจทำได้โดยอาศัยการ Coaching หรือเปิดรับข้อเสนอแนะจากพนักงาน

2. วิจารณ์พนักงานในที่สาธารณะ

พฤติกรรมนี้คือการกระทำที่เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างแท้จริง นอกจากมันจะส่งผลต่อกำลังใจของพนักงานแล้ว สมาชิกในทีมหรือผู้นำคนอื่นๆ จะมองคุณไม่ดีอีกด้วย ทางแก้ที่ง่ายที่สุดคือ รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองถึงแม้ว่าพนักงานจะทำผิดพลาดจริงก็ตาม จากนั้นจึงเรียกพวกเขามาพูดคุยเป็นการส่วนตัวในภายหลัง

3. ไม่เปิดเผยข้อมูลบริษัทหรือข้อมูลประสิทธิภาพของทีม

คุณอาจคิดว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่สนใจภาพรวม แต่อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงทุกคนล้วนแต่สนใจว่างานที่พวกเขาทำนั้นช่วยสนับสนุนหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับทีมหรือผลประโยชน์ของบริษัทอย่างไร ผู้นำบางคนไม่ชอบบอกผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของพวกเขาโดยให้เหตุผลว่า “เพื่อให้พนักงานมีสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า” หรือ “พวกเขาไม่เข้าใจสถิติหรือตัวชี้วัดเหล่านี้หรอก” นอกจากนี้ผู้นำบางรายยังคิดว่าการที่พวกเขาเลี่ยงการบอกผลลัพธ์เชิงลบกับพนักงานก็เพื่อให้ทีมมีประสิทธิภาพที่ดีต่อไป

แต่จริงๆ แล้วผู้คนจะทำงานได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อพวกเขารู้ว่างานที่ทำส่งผลอย่างไรต่อภาพรวมหรือบริษัท ถึงแม้ว่าผลนั้นจะออกมาในเชิงลบก็ตาม ยิ่งคุณปิดบังผลลัพธ์มากเท่าไร พนักงานก็ยิ่งเกิดความไม่มั่นใจมากขึ้น

4. ให้ข้อเสนอแนะที่ไม่สร้างสรรค์

ข้อเสนอแนะ (Feedback) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหากใช้งานได้ถูกต้อง แต่ในขณะเดียวกันหากผู้นำกล่าวออกมาในเชิงลบหรือไม่สร้างสรรค์ ข้อเสนอแนะนั้นอาจทำลายประสิทธิภาพการทำงานและส่งผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงานได้

ทางที่ดีควรเรียนรู้เทคนิคการสื่อสารและให้ข้อเสนอแนะในเชิงบวก เพราะมีความสำคัญมากต่อการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จในการทำงานของพนักงาน

5. อ้างสิทธิ์ในความสำเร็จจากผลงานของสมาชิกภายในทีม

การขโมยความสำเร็จของพนักงานเป็นสิ่งที่ทำลายความเชื่อใจ ความไว้ใจ ความคิดสร้างสรรค์ ไปจนถึงทำให้การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ลดลง ผู้นำที่ดีควรรู้จักการมอบเครดิตในความสำเร็จให้กับผู้อื่น อย่ารับทุกอย่างว่าเป็นผลงานของคุณคนเดียว หากไม่อยากทำลายความสัมพันธ์ในที่ทำงาน

6. โทษคนอื่นเมื่องานผิดพลาด

พฤติกรรมในข้อนี้คือพฤติกรรมตรงข้ามกับการรับความดีความชอบเป็นของตัวเองคนเดียว เพราะเมื่อเกิดความผิดพลาด คุณจะโยนความผิดไปให้สมาชิกในทีมหรือพนักงานคนอื่นทันที ในขณะที่ผู้นำที่ดีจะเข้าใจว่าพวกเขามีส่วนที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดนั้นและพร้อมรับผิดชอบอย่างเต็มที่

ปก blog 1 2

4 ตัวช่วยให้คุณรู้ตัวเมื่อกำลังทำลายศักยภาพในการเป็น ‘ผู้นำ’

  • ถาม: ถามสมาชิกทีมว่าแนวการปฏิบัติของคุณเป็นอย่างไร โดยลองใช้คำถามเหล่านี้ “แนวทางการทำงานของฉันข้อไหนที่ใช้ได้ผล และข้อไหนที่ใช้ไม่ได้” เมื่อพวกเขาตอบให้ตั้งใจรับฟัง จดบันทึกและไม่โกรธหากต้องรับข้อคิดเห็นในเชิงลบ
  • สำรวจ: สร้างแบบสำรวจแบบไม่ระบุชื่อผู้ตอบเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรับข้อเสนอแนะที่ดีที่สุด จากนั้นเผยแพร่ผลสำรวจและระบุว่าคุณจะปรับปรุงพฤติกรรมข้อใดบ้าง
  • มองหาผู้ฝึกสอน (Coach): ผู้ฝึกสอนช่วยแนะแนวทางให้เราได้อย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาสามารถติดตามพฤติกรรมและให้คำชี้แนะที่เหมาะสมกับคุณได้
  • พร้อมรับข้อเสนอแนะจากใครสักคน: นอกเหนือจากการมองหาผู้ฝึกสอน การเลือกเพื่อนที่ไว้ใจได้สักคนให้ช่วยติ-ชม หรือให้ข้อเสนอแนะต่อพฤติกรรม การทำงาน หรือศักยภาพในการปฏิบัติงานของคุณก็เป็นอีกวิธีที่ดีเช่นกัน

แม้ว่าการสำรวจพฤติกรรมไม่ดีเพื่อมองหาทางเลี่ยงจะเป็นแนวทางที่ยากกว่า แต่หากทำได้ คุณจะเป็นผู้นำที่ดีและมีศักยภาพและสร้างผลงานที่มีผลลัพธ์ตามต้องการได้อย่างแน่นอน

ADGES พัฒนาความเป็น Leadership ให้เหมาะสมกับองค์กรและคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วยเครื่องมือพัฒนาความเป็นผู้นำ ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรของคุณโดยเฉพาะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ e-mail : [email protected] Tel : 088-028-1111

how can we help you?

If you have questions or require more information about our services.