Transformation เป็นคำที่ทุกองค์กรพูดเหมือนกัน แต่ความหมายไม่เหมือนกัน โดยวัตถุประสงค์หลักของผลลัพธ์จากการทำ Transformation คงหนีไม่พ้นหนึ่งในสามเรื่องคือ
- การเพิ่มประสิทธิภาพ
- การสร้างโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจ
- การต่อยอดทางด้าน Technology และนวัตกรรม
แต่การทำ Transformation ส่วนมากส่งผลกระทบได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่องค์กรวางไว้มาก และที่น่าสนใจก็คือสาเหตุหลักๆกว่า 70% ของความล้มเหลวมาจาก Soft Side ที่มาจากเรื่อง คน องค์กร และวัฒนธรรมในการทำงาน
การที่จะทำ Transformation ให้สำเร็จจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญในสองแกน และมีปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญอีก 11 ปัจจัย
แกนเรื่องประสิทธิภาพ (Performance Pillar)
1. Ambition
การวางเป้าหมายที่มีความทะเยอทะยานมีความสำคัญ แต่ทั้งนี้จำเป็นที่ต้องประกอบไปด้วยข้อมูลสนับสนุน รวมถึงแรงบันดาลถึงความเป็นไปได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องตระหนักถึงโอกาสที่จะสูญเสียไปถ้าองค์กรจะไม่ลุกมาทำอะไรเลย
2. Transformation Set Up
การแบ่งบทบาทให้ชัดเจนเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเราอาจจะแบ่งฟันเฟืองที่สำคัญในเรื่องของTransformation เป็นในเรื่องของ
- 2.1 Steering Committee ที่เป็นเหมือน Champion ของการทำ Transformation
- 2.2 Transformation Office (CTO) ผู้ที่เป็น Change Leader
- 2.3 Work Stream ส่วนงานที่ขับเคลื่อนงาน และสิ่งสุดท้าย
- 2.4 A Clear Cadence หรือ Way of Work ของการทำ Transformation ที่จะสามารถให้สามหน่วยงานที่กล่าวมาสามารถทำงานด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. Stage Gates
Transformation Idea จำเป็นที่ต้องมีการ Validate โดยสามารถมองเป็น Pipeline Concept โดยประเมินมาจากการสร้าง Idea จนถึงการเอา Idea ไปใช้ Idea มีตั้งแต่ Idea ชิ้นใหญ่จนถึง Idea เล็กๆ การทำ Transformation ทุก Idea มีความสำคัญ
4. Reporting & Analysis
สิ่งที่หลายองค์กรมองข้ามก็คือการนำข้อมูลมาทำรายงานและวิเคราะห์เรื่องผลการทำ Transformation เมื่อมีการวัดผลลัพธ์ที่สะท้อนถึงการ Transfomration ที่ดีแล้ว องค์กรก็จะสามารถขับเคลื่อน Transformation ได้อย่างถูกทาง อย่าขับเคลื่อน Transformation แบบไม่มีตัวชี้วัด
5. Sustainability
McKinsey ชอบพูดถึงการใช้ Framework ของ ESG มาใช้เป็นยานแม่ของการทำ Transformation เพราะรวมทุกสิ่งที่สำคัญของการทำธุรกิจในอนาคตเอาไว้ใน Framework เดียวกัน ไม่อย่างนั้นองค์กรอาจจะมองข้ามในเรื่องสำคัญ เรื่องใด เรื่องหนึ่งก็ได้
แกนเรื่องสุขภาพในองค์กร (Organizational Health Pillar)
6. Organizational Health
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า 70% ของการทำ Transformation ล้มเหลวเพราะมาจากเรื่อง คน องค์กร และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเป็นขบวนการที่ใช้เวลาเป็นปีๆ แต่ผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่ามาก
7. Mindset Change & Influence Model
การเปลี่ยน Mindset สำคัญมากในการทำ Transformation การเปลี่ยนพฤติกรรมในองค์กรเริ่มมาจากการเปลี่ยนความเชื่อ และการเปลี่ยนความเชื่อมาจากการเปลี่ยน Mindset
8. Change story
ทุกๆการเปลี่ยนแปลง จะมากับ Change Story เสมอ จำเป็นที่องค์กรจะต้องสร้าง Change Story ที่สะท้อนถึงแรงบันดาลใจ สิ่งที่อยากจะให้เกิดในระดับผู้ฟังและระดับองค์กร หลายองค์กรสร้าง Change แต่ยังไม่มี Story
9. Capability Building
องค์กรควรที่จะใช้ Transformation เป็นโรงเรียนจริงในการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่ประกอบไปด้วยทักษะสามด้านคือ
- Brain – ความรู้ทางด้าน Technical Skills
- Heart – Mindset และพฤติกรรมที่เหมาะสม
- Muscle – ทักษะด้านการจัดการและสามารถสร้างผลลัพธ์ให้เกิดจริง
โดยใช้การทำ On-the job และการใช้ Coach และ Mentoring System ในการสร้าง Learning Ecosystem
10. Incentive Systems
ระบบค่าตอบแทนและให้รางวัลก็มีความสำคัญมาก ในขณะที่ค่าตอบแทนเป็นตัวเงินอาจจะไม่ได้สำคัญที่สุด แต่การสร้างแรงจูงใจในเรื่องของการสร้าง Autonomy Mastery Purpose และ Emotional Validation ก็สำคัญไม่น้อยลงไป
11. Role Modeling
สุดท้ายการเป็น Role Model ของผู้บริหารในองค์กรสามารถสร้างผลกระทบได้มากกว่า 4 เท่าในการสร้างผลลัพธ์ของการทำ Transformation
สรุปในเรื่องบทบาทของ Board ในต่อการทำ Transformation ง่ายๆแต่ได้ใจความคือ
- B – Build, the case for change
- O – Organize, for success
- A – Aspire, challenging but reachable targets
- R – Redesign, existing
- D – Drive, execution by assigning accountability
Source: Dr.Nattavut Kulnides