To Improve Your Team, First Work on Yourself

ก่อนจะปรับปรุงทีมของคุณ… เริ่มจากเปลี่ยนตัวเองเสียก่อน

“ทีม” มักประกอบไปด้วยบุคคลที่มีความชอบ ทักษะ ประสบการณ์ มุมมอง และอุปนิสัยที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องปกติหากจะมีปัญหาภายในทีม เพราะความแตกต่างอาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในการทำงานร่วมกันได้ หากคุณกำลังต้องการอยากจะพัฒนาทีมของคุณ อยากให้ลองเรียนรู้ความสามารถพื้นฐาน 3 ประการ ดังนี้

  • การตระหนักรู้ตนเองจากภายใน (Internal Self-awareness)
  • การตระหนักรู้ตนเองจากภายนอก (External Self-awareness)
  • และความรับผิดชอบส่วนบุคคล (Personal Accountability)
180 1

1. การตระหนักรู้ตนเองจากภายใน (Internal Self-awareness)

การตระหนักรู้ตนเองจากภายใน เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจความรู้สึก ความเชื่อ และค่านิยม ซึ่งคือการเล่าเรื่องภายในใจ เมื่อเราไม่เข้าใจตัวเอง เรามักจะยอมจำนนต่ออคติที่เชื่อว่าความผิดพลาดของตัวเองเล็กน้อยกว่าของคนอื่น (Fundamental Attribution Error) โดยเชื่อว่าพฤติกรรมของผู้อื่นเป็นผลมาจากลักษณะนิสัยเชิงลบ เช่น “เขามาสายเพราะเขาไม่มีความรับผิดชอบ” และเชื่อว่าพฤติกรรมของตัวเองเกิดจากสถานการณ์ภายนอก เช่น “ฉันมาสายเพราะรถติด”

เราสามารถเรียนรู้การตระหนักรู้ตนเองจากภายในได้ เริ่มต้นจากคุณในฐานะผู้นำหรือเพื่อนร่วมทีม ลองตั้งคำถามและคิดทบทวน ไตร่ตรอง พิจารณาการตอบสนองของคุณ เมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทายหรือเต็มไปด้วยการใช้อารมณ์

  • คุณกำลังเผชิญกับอารมณ์อะไร?
  • คุณคิดกับผู้อื่นหรือสถานการณ์นั้นอย่างไร?
  • อะไรคือความจริง อะไรคือการตีความของคุณ
  • คุณค่าของคุณคืออะไร และจะส่งผลต่อการกระทำของคุณอย่างไร?

2. การตระหนักรู้ตนเองจากภายนอก (External self-awareness)

การตระหนักรู้ตนเองจากภายนอก เกี่ยวข้องกับการเข้าใจว่า “คำพูดและการกระทำของเราส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร” ผู้นำและเพื่อนร่วมทีมส่วนใหญ่ที่เราทำงานด้วยไม่รู้ว่าพฤติกรรมของพวกเขาส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานอย่างไร ส่งผลให้มันกลายเป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะรับรู้และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่ทำให้พวกเขากลายเป็นเพื่อนร่วมทีมที่ดี ตลอดจนระบุและแก้ไขพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อทีม หากไม่มีความเข้าใจนี้ พวกเขาจะไม่สามารถปรับปรุงได้

วิธีหนึ่งในการเริ่มสร้างการตระหนักรู้ตนเองจากภายนอก คือ การสังเกตการกระทำของผู้อื่นในระหว่างการสนทนา มีคนขึ้นเสียงหรือไม่ มีคนหยุดพูดหรือไม่ ท่าทางเป็นอย่างไร นั่งนิ่งหรือเปล่า มีรอยยิ้มไหม และควรคำนึงถึงความจริงที่ว่าอาจจะได้ข้อสรุปที่ไม่ถูกต้อง เพราะคุณกำลังตีความว่าเหตุใดเพื่อนร่วมงานจึงมีการกระทำแบบนั้น ความเชื่อและประสบการณ์ส่วนตัวของคุณเอง

วิธีที่ตรงจุดกว่าคือการขอความคิดเห็นที่เฉพาะเจาะจงและตรงไปตรงมาจากเพื่อนร่วมทีม

คำถามที่สำคัญคือ

  • เรากำลังทำอะไรที่เป็นประโยชน์ในการประชุมทีม
  • เรากำลังทำอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์
  • หากสามารถเปลี่ยนวิธีการบางส่วนที่มีผลต่อทีมได้ จะเปลี่ยนอะไร

วิธีนี้อาจจะทำให้รู้สึกเสี่ยงและไม่สบายใจ แต่มันก็เป็นวิธีเดียวที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบของคำพูดและการกระทำของคุณ และในแง่ของเวลา คุณควรประเมินว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ที่จะขอความคิดเห็นในขณะนั้น หรือควรจะถามในภายหลัง เช่น ในการสนทนาแบบตัวต่อตัวกับเพื่อนร่วมงานที่เชื่อถือได้ การหยุดและถามอาจเป็นเรื่องปกติ แต่ในการประชุมทีมใหญ่ การหยุดการหารือเพื่อรับคำติชมส่วนบุคคลอาจรบกวนสิ่งที่ทีมของคุณพยายามทำให้สำเร็จ

3. ความรับผิดชอบส่วนบุคคล (Personal accountability)

“เมื่อพูดถึงความรับผิดชอบ เรามักจะนึกถึงการรับผิดชอบของผู้อื่น แต่ผู้นำและเพื่อนร่วมทีมที่ดีนั้นให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบส่วนบุคคลมากกว่า”

เช่นเดียวกับการตระหนักรู้ในตนเอง สิ่งนี้ฟังดูง่ายถึงแม้ว่าจะทำไม่ค่อยได้ก็ตาม เมื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายหรือไม่สบายใจ พวกเราหลายคนมีรูปแบบการกระทำที่ไม่ดี เช่น การกล่าวโทษหรือวิจารณ์ผู้อื่น ปกป้องตัวเอง แกล้งทำเป็นสับสน หรือหลีกเลี่ยงปัญหาโดยสิ้นเชิง

หากทีมทำงานร่วมกันได้ไม่ดี มีความเป็นไปได้สูงที่แต่ละคนนั้นมีส่วนในการสร้างความลำบากต่อกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และแต่ละคนสามารถใช้ความรับผิดชอบส่วนบุคคลเพื่อทำให้ทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในการเป็นผู้นำหรือเพื่อนร่วมทีมที่มีความรับผิดชอบ ควรทำตามขั้นตอนเหล่านี้

  • รับทราบเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งบางครั้งเป็นส่วนที่ยากที่สุดเพราะเรามักจะเพิกเฉยหรือคอยพูดว่างานของเรายุ่งแค่ไหนแทน ซึ่งเราควรอดทนต่อแรงกระตุ้นเหล่านั้น
  • ยอมรับว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาและมีส่วนอย่างมากต่อสถานการณ์
  • มีจิตสำนึกและมีส่วนรับผิดชอบในการแก้ปัญหา
  • มีส่วนร่วมจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขอย่างสมบูรณ์

การเปลี่ยนแปลงความคิดเพียงเล็กน้อยสามารถส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมและอาจมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากกับทีม ทีมส่วนใหญ่ที่เราทำงานด้วยจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการพัฒนาความสามารถทั้ง 3 ประการ ซึ่งไม่ใช่แค่ต้องเรียนรู้ทักษะเท่านั้น แต่ยังต้องทำเป็นระยะเวลาที่นานมากพอที่จะสร้างให้เป็นนิสัยใหม่

ADGES มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้บริหารและองค์กรชั้นนำในการสร้างวัฒนธรรม การทำโค้ชชิ่งให้เกิดขึ้นจริงในองค์กร โดยนำหลักสูตรของ Bluepoint Leadership มาสร้างองค์ความรู้เรื่องโค้ชที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้นำที่ต้องการโค้ชและเห็นผลจริง สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม email: [email protected] โทร.088-028-1111

ที่มา : hbr.org

how can we help you?

If you have questions or require more information about our services.