Building Corporate Wellness – เทรนด์การทำงานยุคใหม่ที่องค์กรไม่ควรมองข้าม

Wellness แท้จริงคืออะไรกัน?

สุขภาพดีในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ เพราะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงาน องค์กรที่มีพนักงานสุขภาพดีจะมีอัตราการเข้าทำงานตรงเวลา อัตราการลาป่วยลดลง ผลผลิตในการทำงานเพิ่มขึ้น และพนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงานมากขึ้น

การสร้างสุขภาพดีในองค์กรสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การส่งเสริมการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การลดเครียด การป้องกันโรค เป็นต้น องค์กรควรออกแบบโปรแกรมสุขภาพดีในองค์กรให้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละกลุ่ม และควรมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าโปรแกรมดังกล่าวได้ผลดี

ส่วนหนึ่งเรื่องของ Wellness ถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ไม่ใช่หน้าที่ของคุณหมอหรือ Partner ข้างนอก ยังมีความเชื่อของบางองค์กรมองว่าบริษัทให้เงินไปแล้วก็ให้พนักงานไปหา Wellness จากข้างนอกเอง แต่สถานการณ์โควิด-19 น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนหนึ่งที่ทำให้หลายองค์กรกลับมาดูปัจจัยนี้ ขณะที่บางองค์กรพูดถึง Emotional Wellness โดยบางทีอาจเป็นระเบิดเวลาเหมือนกัน เพราะมีหลายงานวิจัยระบุว่า เวลาที่ไม่สบายพนักงานหลายๆคนกล้าบอกเพื่อนร่วมงาน แต่เวลาที่รู้สึก Burnout จะไม่กล้าบอกเพื่อนร่วมงาน เพราะมันเป็นการแสดงถึงหรือสัญญาณบ่งบอกถึงความไม่พร้อมในการทำงาน 

Physical ที่มีกิจกรรมที่โดนใจบ้างไม่โดนใจบ้าง ที่บางองค์กรก็มองว่าเป็นเรื่องของศาสนา Mindfulness ที่หลายคนนับถือศาสนาหนึ่ง หรือมองกลางๆ Mindfulness ที่ทุกศาสนาก็นำมาใช้ต่อได้ก็นำมาใช้งานได้ 

Inflection Wellness ที่จะสร้างระบบนิเวศหรือการเรียนรู้อย่างไรให้เกิดขึ้น Social Wellness หรือการเป็นส่วนหนึ่งของคนในองค์กรที่รู้สึกเบื่อ ต้องการหา Engagement ที่ต่างประเทศเน้นเรื่อง DE&I Diversity Equity Inclusion เป็นเทรนด์ที่กำลังมาในต่างประเทศ หรือเรื่องของสิ่งแวดล้อมซึ่งอากาศในประเทศไทยเป็นปัญหาพอสมควร จากฝุ่น PM 2.5  หรือเรื่องของการเงิน หลายองค์กรมองว่าการดูแลเรื่องสุขภาพทางการเงินเป็นเรื่องของตัวพนักงานเอง บริษัทจะช่วยอะไรได้ หรือการทำ Career Path ที่ทำแล้วเป็นที่รับรู้ในตลาดหรือไม่ 

HCM TLCA Corporate Wellness 201123 page 0001 edited

ถ้า Branding คือ Wellness ต้องทำเรื่องอะไร?

โรค NCDs (Non-Communicable Diseases) หมายถึง กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อหรือติดต่อแต่เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง เมื่อสะสมนานวันเข้าส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบไม่รู้ตัวได้ ซึ่งไลฟ์สไตล์ เฉพาะคนไทยแบบนี้ 1 ปี เสียชีวิต 4 แสนคน หรือ 1 ชั่วโมงเสียชีวิตถึง 36 คน หรือ 2 นาที เสียชีวิต 1 คน ซึ่งส่งกระทบต่อ GDP ถึง 0.2 % แต่ความจริงในองค์กรยังมีอีกหลายประเด็น เรื่องขาด ลา มา สาย มาแต่ตัวแต่ใจไม่อยากทำงาน ไม่รู้จะวัดอย่างไร และมีข้อมูลที่ยังหลากหลายที่หากนำเรื่องจริงมาพูดกันจะช่วยสร้างการรับรู้ได้มากขึ้น เช่น ผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปี ที่ 1 สัปดาห์ทำงานเกิน 45 ชั่วโมง จะมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน 56% หรือ 1 สัปดาห์ทำงานเกิน 55 ชั่วโมง จะมีความเสี่ยงกับอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งในมุมของ HR ต้องมีการวัดผลให้ได้ด้วย โดยทุก 1 ดอลลาร์ที่ใช้ใน  Wellness Program ที่รีเทิร์นต้องได้ Benefit ด้าน Medical Cost 3.27 % และได้ประโยชน์จากการขาดลามาสาย 2.73 %  

จากบทวิจัย Deloitte CEO มองว่า Well-being เป็นงานเสริมที่ทำให้เครียดขึ้น แล้วมันใช่งาน CEO จริงหรือไม่ แต่ CEO บางคนก็กลับมองว่า นี่อาจเป็นโอกาสในการ Exercise Leadership หรือเป็นโอกาสสร้าง Engagement หรือวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร 

Screen Shot 2566 12 19 at 17.41.46

ในองค์กรมีหลาย Generation และแต่ละ Generation มองเรื่อง Wellness แตกต่างกัน 

Gen Z ให้น้ำหนักเรื่อง Wellness มากกว่าทุก Gen นั่นแสดงว่า องค์กรต้องตามให้ทันกับ Gen Z ให้ได้ แล้วในระบบนิเวศขององค์กรเรื่อง Well-being จากผลงานวิจัยหนีไม่พ้น 4 เรื่อง สำคัญคือ  

  • 1.ต้องเรียนรู้ว่าบางครั้งเราเอาของดีไปให้แต่เขาอาจไม่อยากรับ  ซึ่งทำให้ CEO มองว่า แล้วจะทำทำไมเพราะทำแล้วเสียเงินเปล่าๆ ล้มเลิกดีกว่า ดังนั้นต้องดูว่าพนักงานอยากจะรับในเรื่องราวแบบไหน  เช่น ในเมือง ต่างจังหวัด หรือธุรกิจที่แตกต่างกัน อย่างธุรกิจโรงกลั่นความต้องการก็จะแตกต่างจากพื้นที่และอาชีพอื่น ซึ่งแต่ละอาชีพก็จะมี Generation ที่แตกต่างกันอีก  
  • 2.ดีไซน์ที่ต้องเริ่มจาก Mindset บางที่ให้การเพิ่มทักษะ หรือสร้าง Skill ต่างๆ จากการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญไปให้พนักงานฟัง แต่ Mindset เขาไม่เปลี่ยน สิ่งที่แย่สุดคือการขับเคลื่อนไปแต่ Mindset เขาไม่เปลี่ยน 
  • 3. Delivery Target Training Monitoring ที่มีการชี้ผลอย่างไรบ้าง 
  • 4. Develop Educate Execute Deliver Outcome 
a positive secretary smiles for the camera during 2023 11 27 05 07 30 utc edited

Pain Point ที่ทำให้ Well-being ไม่เกิด 

  • 1. Creating a Culture of Wellness หลายองค์กรไปไม่ถึงเพราะมองว่าเป็นงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล แต่จริงๆ Well-being  เป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร ที่ต้องเริ่มเปิดหรือสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่พนักงานที่รู้สึกหมดไฟ หรือหลายครั้งเหตุเกิดขึ้นเป็นคู่กรณี ซึ่งก็ไม่ใช่เหตุผลต้องเปิดเป็น Open Communication หรือการที่ผู้บริหารไม่เคยเปิดใจคุยกับพนักงาน เหมือนเป็นสิ่งที่ต้องห้ามเองว่า เกมนี้จะต้องเล่นแบบไหน เพื่อสร้าง Mindset ที่ดี 
  • 2. Implementing Wellness Programs and Initiatives มีความหลากหลายทั้งเรื่อง Physical Mental Mindfulness เพื่อทำให้เกิด Sense of Community ให้เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างไร ที่ต้องผ่านการเสนอ ปรับเปลี่ยน และพัฒนากันไปเรื่อยๆ 
  • 3. Promoting Work-Life Balance เพราะปัจจุบันสามารถทำงาน Anywhere แต่มีการ Line ตามงานนอกเวลางานและดึก ซึ่งต้องสร้าง Commitment ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร 
  • 4. Leading by Example – Management and Leadership Involvement ว่าจะสร้างเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นจริงๆ หรือไม่ ซึ่งจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ถ้าผู้นำไม่สนใจเรื่องของ Mindfulness เพราะเป้าหมายทุกองค์กรต้องการสร้าง Succession Planning เพราะไม่เคยนำเรื่องของ Well-being หรือ Health มาคุยกันจริงจังเลย Harvard สรุปมาว่า ผู้บริหารต้องเป็น Role Model ที่ผู้บริหารก็ไม่ได้เก่งกาจแต่ยังต้องการแรงสนับสนุน Model Healthy Behavior สร้าง Culture of Connection Communicate การ Modify Policy ซึ่งเป็นสิ่งที่พนักงานจะสามารถสัมผัสได้ เพราะวันหนึ่งเมื่อองกรณ์สามารถให้ทำงานที่ไหนก็ได้ แต่พอผู้บริหารรู้สึก Performance ไม่ดี จู่ๆ ก็เรียกให้กลับเข้าออฟฟิศหมดเลย 
  • 5. Continuous Evaluation and Improvement ก็จะพูดถึงการประเมินหรือ Improvement ที่ Benefit Lower Turnover ที่ให้เกิดการรับรู้และผลิตผลที่ดี แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นได้จริงเพราะ Commitment จาก Top Leader ไม่มา และหลายครั้งที่ตัวเราเองก็ยังไม่อยากเปลี่ยนแปลง หรือบางองค์กรกลัวเอาข้อมูลสุขภาพไปทำอะไร  
Screen Shot 2566 12 19 at 17.47.33

ไม่มีอะไรที่โดนใจ Wellness ที่จัดเต็ม เน้นการเดินให้มากขึ้น การมีกิจกรรมที่อยากจะสร้างให้เกิดขึ้นภายในองค์กร อาหารดีๆ กินได้ โดยเอาน้ำอัดลมไปไว้ข้างนอกเพราะงานวิจัยออกมาเห็นชัดว่า ถ้าหาสิ่งนั้นได้ยากโอกาสที่จะหยิบกินก็ยากไปด้วยเช่นกัน หรือเรื่อง Impact ของ Physical Dental ที่ Digital Wellness ที่จะสร้างให้เกิดขึ้น และการที่ทุกองค์กรต้องคำนึงเรื่อง ESG หนึ่งในที่เกี่ยวข้องและมีส่วนคือ Well-being

โดยจากผลวิจัย Deloitte ระบุว่านำเรื่อง Well-being และ ESG (Environmental, Social and Governance) สามารถผนวกด้วยกันได้ 

  • 1. Work อยู่ที่การ Design of Work โดยทำให้พนักงานมีความพอใจในการทำงาน หรือในรูปแบบไหน 
  • 2. Work Source การให้โครงสร้างพื้นฐานที่ดีเกิดขึ้นภายในองค์กร 
  • 3. Benefit มีนโยบายที่กำหนดในการทำงานให้เกิดขึ้น 
  • 4. Workplace คือมีสภาพแวดล้อมที่ดีที่เอื้อต่อการทำงาน ดีต่อสุขภาพทางกายและทางใจ ที่ต้องส่งเสริมต่อ ESG Report 
portrait of young business friends gathered in a m 2023 11 27 05 33 17 utc edited

หน้าที่ HR จริงๆ นี้ไม่ได้ง่ายเลย ต้องรู้จักวัดผลและแปลผลที่ได้ให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของโปรแกรม Wellness นี้เป็นอย่างดี เมื่อพูดถึงมุม HR ที่วัดผล อาจจะเน้นที่ Benefit Saving ที่ได้ และลดปัญหาการขาดลาในองค์กร

แต่ก็ต้องพิจารณาจากมุมของพนักงานด้วย เพราะสถิติและความพร้อมที่ HR เห็นได้อาจจะต่างกับความรู้สึกและประสบการณ์ของพนักงาน เรื่อง Mental Health และปัญหาที่พนักงานเผชิญอยู่สามารถทำให้เราเข้าใจถึงสภาพจิตใจและความเครียดที่พนักงานอาจจะไม่สามารถแสดงออกมาได้

การทำ Intelligent Survey อาจจะเป็นเครื่องมือที่ดีในการเข้าใจความต้องการและคาดหวังของพนักงาน การสร้างพื้นที่สำหรับพนักงานแสดงออกเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการส่วนตัวอาจจะช่วยให้ HR ได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ

เมื่อเปรียบเทียบมุมของ CEO และพนักงาน เราอาจพบว่ามีความต่างในการรับรู้ปัญหาและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง การสร้างการสื่อสารที่เปิดเผยและโปร่งใสระหว่างฝ่ายบริหารและพนักงานอาจช่วยให้ทั้งทีมสามารถพัฒนาและปรับตัวต่อภาวะทางจิตใจและการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานอาจเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความพึงพอใจและสุขภาพทางจิตใจของทีมในระยะยาว

ภาพประกอบ Blog 2

Source: ถอดบทความจากงาน “BUILDING CORPORATE WELLNESS – LIFESTYLE MODIFICATION FOR BETTER HEALTH” ปัญหาสุขภาพในองค์กรที่คนกำลังเผชิญ

how can we help you?

If you have questions or require more information about our services.