ในการพัฒนางานด้านทรัพยากรบุคคล (HR) เราได้เสนอการจัดหมวดหมู่ความสามารถของมนุษย์ (Human Capability Taxonomy) ซึ่งแบ่งงาน HR ออกเป็นสี่โดเมน สถานะปัจจุบันของงาน HR ปัจจุบันงานด้าน HR มุ่งเน้นไปที่โดเมนของ “ความสามารถของมนุษย์” (Human Capability) ซึ่งมีคำเรียกหลากหลาย เช่น ทุนมนุษย์ (Human Capital), ความสามารถ (Competence), ทักษะ (Skills), พนักงาน (Employee), แรงงาน (Labor), บุคคล (People), สมาชิกทีม (Team Member) หรือเจ้าหน้าที่ (Staff) แต่ทั้งหมดล้วนมุ่งเน้นที่ตัวบุคคล หัวข้อที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่ (GenAI) ซึ่งดูเหมือนจะเป็น “AI ทุกที่ทุกเวลา!” สุขภาพจิต อนาคตของการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการเปลี่ยนแปลงหรือความคล่องตัว ทั้งนี้ มีนวัตกรรมมากมายที่เกิดขึ้นและกำลังดำเนินไปในวงการ HR What’s Next? วาระถัดไป
ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้และพัฒนา (Learning & Development) กลายเป็นหัวใจสำคัญในการเตรียมองค์กรและพนักงานให้พร้อมเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอน บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ 11 ลำดับความสำคัญด้านการเรียนรู้และพัฒนาในปี 2025 ที่จะช่วยให้องค์กรของคุณก้าวล้ำหน้า พร้อมสร้างความสำเร็จในระยะยาว! เมื่อโลกธุรกิจหมุนเร็วขึ้นทุกวัน การปรับตัวและการพัฒนาทักษะกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรไม่อาจมองข้ามได้ การนำ 11 ลำดับความสำคัญด้านการเรียนรู้และพัฒนา ไปใช้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้องค์กรของคุณพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง แต่ยังช่วยสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง มีความสุข และพร้อมจะเติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง!ถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มต้น! 1. สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ ( Align to Business Needs) การเปลี่ยนแปลงในองค์กรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย L&D ต้องปรับตัวให้เข้ากับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อช่วยให้พนักงานพัฒนาและสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน 2. เพิ่มทักษะใหม่และพัฒนาทักษะเดิม ( Optimize Upskilling and Reskilling) ทักษะของพนักงาน 44% คาดว่าจะถูกเปลี่ยนแปลงภายในปี 2028 การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะใหม่ (Upskilling) และพัฒนาทักษะเดิม (Reskilling) จะช่วยปิดช่องว่างด้านทักษะในตลาดแรงงาน 3. ปรับเส้นทางอาชีพและการเติบโตให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ( Personalize Career and Growth Paths) การใช้ข้อมูลและ
แนวโน้มล่าสุดด้านความเป็นผู้นำที่ควรให้ความสำคัญในปี 20257 Leadership Trends to watch in 2025 ในปี 2025 ความเป็นผู้นำจะเน้นไปที่การสร้างความสมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยี การดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน และการสร้างความสัมพันธ์ที่มีมนุษยธรรม เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในโลกธุรกิจ นี่คือแนวโน้มสำคัญที่ผู้นำควรให้ความสำคัญ: 1. การสร้างความสัมพันธ์ที่มีมนุษยธรรม (Human Connection as a Cornerstone) ถึงแม้ว่า AI และระบบอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่ “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในองค์กร ผู้นำต้องสร้างความไว้วางใจผ่านความยืดหยุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และการสื่อสารที่โปร่งใส เพื่อสร้างทีมที่มีนวัตกรรมและสามารถปรับตัวได้ดี 2. การผสาน AI และเทคโนโลยีเข้ากับการเป็นผู้นำ (Integration of AI and Technology) การใช้ AI เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจะกลายเป็นสิ่งจำเป็น แต่ผู้นำต้องมั่นใจว่าเทคโนโลยีถูกใช้เพื่อเสริมสร้าง ไม่ใช่ลดทอน ความสัมพันธ์ในทีม และสมควรที่จะต้องพิจารณาประเด็นด้านจริยธรรมและอคติใน AI จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความไว้วางใจในองค์กร 3. การให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงาน (Focus on Employee
‘Efforts and courage are not enough without purpose and direction.’– John F. Kennedy – เราคงได้ยินคำว่าองค์กรต้องขับเคลื่อนไปด้วยเป้าประสงค์ (Purpose) บ่อยขึ้นและถี่ขึ้น อาจจะมาจากคนทำงานในองค์กรได้มองเห็นความไม่แน่นอนของชีวิต ที่ก่อตัวขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดในช่วงของ COVID-19 ที่ในตอนแรกเป็นเรื่องความเป็นความตายใกล้ตัวและต้องลุ้นรายวันกันเลยทีเดียว จนทำให้คนหันมาตั้งคำถามที่ว่า เรามีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไรกันแน่ ประกอบกับคนรุ่นใหม่เองเริ่มตั้งคำถามที่ว่า คนรุ่นก่อเรียนกันมาจากวัตถุประสงค์หลักขององค์การนั้นคือ ‘การแสวงหาความรำ่รวยให้กับผู้ถือหุ้นอย่างสูงสุดหรือ (Maximizing Shareholders’ Values)’ พร้อมกับการแสวงหาความมั่งคงก็กลับทำลายโลกอย่างไม่คิดว่าจะทิ้งอะไรให้กับคนรุ่นต่อไป ส่วนตัวผมเองนอกจากที่ชอบตั้งคำถามในเรื่องของเหตุผลของการใช้ชีวิตแล้วจนคนรอบข้างบอกว่าหยุดถามบ้างก็ได้ ยังได้รับบทบาทในการเป็นวิทยากรในหลักสูตร Purpose-Driven Transformation (PDT) ที่ทาง Thai Institute of Directors (IOD) ได้ตั้งใจออกแบบหลักสูตรออกมาและมีการทำหลักสูตรออกมาแล้วหลายรุ่น ทุกครั้งที่มีโอกาสใด้นำเสนอหลักสูตร (อย่าเรียกว่าสอนเลยเพราะคนที่มาเรียนเป็นผู้บริหารระดับสูงที่เห็นอะไรมามากกว่าผมเยอะ) ก็พยายามที่จะตั้งคำถามว่าจะพอมี Case Study ขององค์กรไทยที่จะสามารถนำมาใช้ในหลักสูตรได้หรือไม่ จนมีโอกาสได้ไปฝัง รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์
นักเขียนที่มีชื่อว่า Eckhart Tolle ได้เขียนหนังสือที่ยอดเยี่ยมเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “The Power of Now” ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเป็นหลัก พร้อมกับการที่ต้องเลี่ยงจากการถูกรบกวนจากความคิดในอดีตหรืออนาคตอยู่ตลอดเวลา แนวคิดของการทำงานใน “ภาวะปัจจุบัน” มีความสําคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นโค้ช โดยความเป็นจริงแล้ว ในการโค้ชนั้น ช่วงเวลา ณ ขณะที่เราสนทนาอยู่ และช่วงเวลาในอนาคตข้างหน้า ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เราต่างมีด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นความท้าทายที่สําคัญสําหรับเราทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับบทบาทของความเป็นผู้นํา ผู้นําส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเรื่องของเวลา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอดีตหรือในเรื่องอนาคต โดยทุกวันพวกเขาถูกให้ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่มีผลในระยะยาว และพวกเขาจำเป็นต้องสร้างแผนและกลยุทธ์สําหรับอนาคตอยู่เสมอ แต่เมื่อพวกเขาเปลี่ยนบทบาทเป็นโค้ช พวกเขาพบว่าตัวเขาเองจําเป็นจะต้องเรียนรู้ที่จะทํางานในที่ที่ไม่คุ้นเคย นั่นคือช่วงเวลาปัจจุบัน การสนทนาในการโค้ชเป็นการประกอบกันอย่างต่อเนื่องของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เมื่อโค้ชคิดไปข้างหน้าอย่าง พวกเขาก็จะไม่สามารถให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ในตอนนี้ได้อย่างเต็มที่ โค้ชที่ยอดเยี่ยมจะเข้าหาทุกการสนทนาในการโค้ชด้วยความคิดที่สำคัญกว่าว่า “ฉันต้องทําอย่างไรเพื่อจะได้สามารถจดจ่อกับคนที่อยู่ตรงหน้าได้” ของขวัญแห่งการอยู่ในปัจจุบัน (The Gift of Presence) การมีอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นของขวัญพิเศษที่โค้ชสามารถให้ผู้รับการโค้ชได้ การอยู่กับปัจจุบันอย่างแท้จริงหมายถึงการนําตัวตนทั้งหมดของคุณมาสู่การสนทนา ความสนใจ คุณค่า การรับรู้ และการหยั่งรู้ของคุณ เริ่มต้นด้วยการเข้าถึงการโค้ชแต่ละครั้งราวกับว่าเป็นครั้งแรกที่คุณพูดคุยกับบุคคลนี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งละทิ้งสิ่งรบกวนทั้งภายนอกและภายใน และตระหนักว่าความสามารถของคุณในการให้บริการขึ้นอยู่กับคุณภาพของความสนใจและความตั้งใจของคุณในแต่ละสิ่งที่เกิดขึ้นใน “ขณะนี้” ซึ่งต่อเนื่องกันจนเกิดเป็นบทสนทนาในการโค้ช การเจริญสติและการโค้ช (Mindfulness
สมองของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทางสมองใช้คำว่า Neuro Plasticity ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสมองมีผลมาจากสิ่งรอบข้างที่เข้ามากระทบเรานั่นเองซึ่งการตระหนักรู้หรือการอยู่ในสภาวะปัจจุบัน (Awareness) จะสามารถที่จะช่วยสร้างและขึ้นรูปใหม่ (reshape) สมองของเราได้ มีคำถามที่ว่าเราใช้ชีวิตด้วยความตระหนักรู้ในสภาวะปัจจุบันจริงๆหรือเปล่า คำตอบก็คืออาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคิด เพราะว่าไม่ว่าอ้างผลการทำวิจัย หรือประเมินจากประสบการณ์ตรงของเราก็ พอที่จะทราบได้ว่าเราใช้ชีวิตโดยที่ไม่ได้อยู่กับสภาวะปัจจุบันสักเท่าไหร่ ซึ่งมีคำพูดที่พูดว่าจิตที่ซัดส่ายนั้นทำให้เกิดความทุกข์เกิดขึ้น ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ทางสมอง ได้ทำงานวิจัยที่ศึกษาว่าสาเหตุที่ทำให้คนปัจจุบันมีความสุขน้อยลงมาจากสาเหตุไหนกันแน่ และสรุปได้ว่าสาเหตุหลักมีอยู่ปัจจัยนั่นก็คือ 1. Distractibility ตัวแรก จิตคนเราถูกดึงโดยสิ่งเร้าจากภายนอกได้ง่าย หรือวอกแวกง่าย (Distractibility) ก็คือการหลงคิดไปเรื่องต่างๆนานาได้ค่อนข้างง่าย มีการวิจัยที่ส่งข้อความผ่านมือถือแล้วถามคนที่ได้รับข้อความว่า 1. เรารู้ไหมว่าเราทำอะไรอยู่ ณ ปัจจุบัน2. เรารู้ไหมว่าจิตของเราตอนนี้คิดในเรื่องอะไรอยู่3. ในสภาวะปัจจุบันเรามีความสุขหรือไม่มีความสุขกันแน่คำตอบที่เราได้นั่นก็คือ 47% ของคนที่ ตอบคำถามบอกว่าตอนนี้กำลังหลงอยู่หรือไม่ได้รู้เลยว่าจิตกำลังคิดในเรื่องอะไร ตัวเลขนี้คงเป็นตัวเลขซึ่งสะท้อนในสภาวะสังคมและปัจจุบันที่ดูเหมือนว่าเรามีสิ่งต่างๆมากมายที่แก่งแย่งช่วงชิงความสนใจจากเราอยู่ และเมื่อเราไม่ได้ใส่ใจในสภาวะปัจจุบันเราเองก็มีความสุขน้อยลง ซึ่งในวิถีพุทธเองก็มีคำพูดคำนี้ที่พูดมานานว่า ‘จิตส่งออกนอก เป็นทุกข์’ 2. Loneliness ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์เองก็มีการเก็บสถิติที่ทำให้เราพบว่า เด็กรุ่นใหม่มีปัญหาในเรื่องของความบกพร่องของความใส่ใจหรือ Attention Deficit นั่นเองซึ่งเรามักจะเห็นว่า ถึงแม้เด็กรุ่นใหม่จะเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมีโซเชียลมีเดียที่ดูเหมือนว่าทำให้เขาวุ่นวายกับหน้าจอมือถือได้ทั้งวัน แต่เราก็มักที่จะพบว่าเด็กรุ่นใหม่เองก็มีปัญหาในเรื่องของความเหงาหรือ Loneliness นั่นเองแล้วยิ่งไปกว่านั้นเราก็จะพบว่า เด็กวัยรุ่นกว่า 76% ในประเทศอเมริกาได้ระบุว่า รู้สึกเหงาเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่เหงาเป็นครั้งเป็นคราวแต่เป็นความเหงาแบบถาวร
Situational Judgement คือสิ่งที่ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ให้ได้ดีที่สุด ผู้บริหารต้องตัดสินใจว่าในสถานการณ์นี้จะใช้เครื่องมืออะไร ไม่ใช่เลือกใช้แค่เครื่องมือที่เราถนัด วันนี้ให้ทุกท่านลองปรับโหมดให้กลับมาเรียนรู้สิ่งที่เป็น Fundamental คือเรื่องของ Visual Thinking ทุกๆท่านมีโอกาสได้วาดรูป ท่านที่เคยคิดว่าตนไม่มีความสามารถในการวาดรูปก็สามารถวาดได้ องค์กรที่มี Innovation และ Creativity ก็จะสะท้อนผ่านการวาดรูปออกมา ความเสี่ยงของการวาดภาพอย่างมากก็แค่วาดใหม่ หลายองค์กรมีปัญหาเรื่องการ Communication เมื่อวิธีการแบบเดิมๆใช้ไม่ได้ผลในองค์กร ADGES จึงได้นำเสนอ Visual Thinking เพื่อแก้ปัญหาการสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง เมื่อการสื่อสารมีแต่ Text ตัวอักษร แต่กลับไม่มีคนสนใจเพราะน่าเบื่อ การวาดรูปเพื่อการสื่อสารไม่ได้เน้นสวยแต่เน้นการ Translate Concept ของเราให้มีประสิทธิภาพ เพียงแค่ Dare to Draw เเละการสื่อสารมี 3 โหมดคือ โหมดเขียน โหมดพูดเเละโหมดวาดภาพ ในทางวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ออกมาแล้วว่าเซลล์สมอง 70% สามารถจำข้อมูลผ่านรูปภาพ สมองเราจำเป็นรูป แต่ยิ่งเราโตขึ้นเราสื่อสารผ่านภาพน้อยลง การสื่อด้วย Visual Thinking จะช่วยให้เราเข้าถึงประเด็นได้เร็ว สนุกและสามารถที่จะเพิ่มไอเดียไปด้วยกันได้กับคนในทีม สามารถนำไปใช้ได้ในหลายรูปแบบ ปกติ
มีการเปรียบว่าการเลือกเส้นทางอาชีพของคนเรานั้นเหมือนซื้อหวย แต่อาจจะเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกนักเพราะการถูกหวยดูเหมือนว่าจะมีผู้ดีใจอยู่ฝ่ายเดียว แต่แท้จริงแล้วการทำงาน การสร้างเส้นทางอาชีพ ควรจะเป็นแนวคิดแบบ Win Win มากกว่านั้นก็คือ หนึ่งพนักงาน Win นั้นคือได้ทำงานที่ดี มีค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี รวมถึงการที่มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี แต่ที่สำคัญที่สุดแต่หลายที่จะถูกมองข้ามนั้นก็คือ ได้มอบโอกาสในการทำงาน สร้างประสบการณ์รวมถึงได้ทำงานที่สามารถ Jump Start อาชีพเราได้เลย เปรียบเหมือนกับนักแสดง No Name ที่ไม่เคยได้รับบทสำคัญใน Production ใหญ่ แต่เมื่อได้โอกาสที่ได้ลงเวทีใหญ่ ที่มีคนดูมากๆ รวมถึงบทหนังที่ส่ง อาจจะสามารถพลิกเส้นทางอาชีพของตนเองได้เลยชั่วข้ามคืน แต่ขณะเดียวกันพนักงานจำนวนไม่น้อยที่ตั้งใจที่จะมา ‘เอา’ จากองค์กรแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มองถึงว่าการทำงานที่ดีองค์กรจะต้อง Win ด้วย เมื่อรับพนักงานเข้ามาใหม่ ทั้งพนักงานและองค์กรก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งคู่ องค์กรมีต้นทุนในการนำพนักงานเข้ามา พัฒนาทักษะให้ทำงานได้ สร้าง Program สารพัดเพื่อ Engage พนักงาน ส่วนพนักงานเองก็มีต้นทุนในเรื่อง ‘โอกาส’ ถ้าเลือกองค์กรผิดหรืองานที่ผิด อาจจะต้องวนซ้ำอยู่กับที่ไม่ไปถึงไหน ในขณะที่เพื่อนๆที่จบมารุ่นเดียวกัน เริ่มที่ไต่ระดับประสบการณ์ ไม่ก็ได้รับ Promotion เป็นคนแรกๆของรุ่น จนเป็นที่อิจฉาของเพื่อนที่มัวแต่เปลี่ยนงานบ่อยๆ เพราะยังไงก็ยังไม่เจอที่ๆถูกใจอยู่นั้นเอง
“ในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ผู้ประกอบการหน้าใหม่อาจจะต้องพบเจออุปสรรคที่ดูเหมือนจะยากที่จะผ่านไปได้ ดังนั้นการเริ่มต้นธุรกิจหรือบริษัทของตัวเองนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งจะได้เผชิญกับความท้าทายที่จะทดสอบความตั้งใจอย่างต่อเนื่อง และเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของธุรกิจของคุณ” การเริ่มก่อตั้งบริษัทของตัวเอง มีหลายครั้งที่ผู้ก่อตั้งอาจจะต้องพบกับความผิดหวัง โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับความก้าวหน้าหรือปัญหาที่ตามมา รวมถึงวิธีสร้างบริษัทให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องการเพียงเวลาและความสมัครใจในการเรียนรู้และเติบโตจากความผิดพลาด อย่างไรก็ตาม การเริ่มตั้งบริษัทไม่ควรทำโดยสุ่มสี่สุ่มห้า โดยส่วนตัวแล้ว มีหลายอย่างที่น่าจะได้รู้ก่อนที่จะตั้งบริษัทของตัวเอง ซึ่ง 5 สิ่งต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ต้องรู้ก่อนที่จะเริ่มธุรกิจ 1. ยอมรับความผิดพลาด การรับผิดชอบความผิดพลาดโดยเฉพาะความผิดที่ร้ายแรงหรือสำคัญนั้นเป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตาม เมื่อยอมรับและไตร่ตรองถึงความผิดพลาดก็จะสามารถตัดสินใจได้เฉียบขาดและฉลาดขึ้นในครั้งต่อไป ที่สำคัญที่สุดคืออย่าโยนความผิดให้ผู้อื่น เพราะจะเป็นการสร้างความตึงเครียดโดยไม่จำเป็นและทำให้ทีมงานแตกแยกกันในที่สุด เมื่อผู้นำยอมรับความผิดพลาดของตน พวกเขาจะได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงาน “ในฐานะผู้นำนั้นไม่สามารถเรียกร้องอะไรจากพนักงานได้นอกจากความรับผิดชอบและความเคารพ ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่จะขับเคลื่อนบริษัท ดังนั้น จงยอมรับความผิดพลาดเพื่อพัฒนาทีมให้ดีขึ้น” 2. คาดการณ์ว่าสิ่งต่างๆ อาจจะต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าที่คาดไว้ ในการวางแผนเปิดตัวธุรกิจใหม่หลายครั้ง น่าแปลกใจว่ามักเกิดความผิดพลาดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งสามารถเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันหลายอย่าง เช่น ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โรคระบาด หรือสงคราม ดังนั้น ควรจะวางแผนทรัพยากรไว้มากกว่าที่ตั้งใจไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ยกตัวอย่างเช่น “การผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดอาจต้องใช้เวลามากกว่าที่วางแผนไว้ในตอนแรก เนื่องจากห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ที่ช้าลงนั้นส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ขอาจต้องการเงินทุนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากต้นทุนวัสดุบางอย่างนั้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ” ดังนั้น ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก็ตาม ควรเตรียมพร้อมสำหรับปัญหาหรือความขัดสนในเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา หรือวัสดุ และควรจะเตรียมความพร้อมด้านการแก้ปัญหาให้กับทีมงานและบริษัทขหากเกิดเหตุการณ์จำเป็น 3. ตระหนักว่างานบริการลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อบริษัท ในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจ งานบริการลูกค้ามักถูกมองข้ามเนื่องจากการขาดแคลนทรัพยากร อย่างไรก็ตาม จงอย่าประมาทพลังของการบริการลูกค้าที่ดี คือการรับฟังและยอมรับปัญหาของลูกค้า รวมถึงจัดหาวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ หากสามารถทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจได้ ก็จะเกิดการซื้อหรือการใช้บริการได้ต่อเนื่อง ซึ่งจะสามารถสร้างบริษัทที่ลูกค้าถูกใจและสามารถพึ่งพาได้ขึ้นมาจากผลประโยชน์นั้น ยังไม่รวมถึงการตลาดแบบปากต่อปาก ซึ่งนับว่าเป็นผลประโยชน์ที่ดี ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และทำให้ลูกค้าจดจำธุรกิจได้ 4. ไตร่ตรองถึงอัตตาหรือ Ego ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัท สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือการปล่อยวางอัตตา เนื่องจากอัตตาจะลดจำนวนผู้สมัครเมื่อมีการเปิดรับพนักงาน การเปิดเผยอัตตาที่แข็งกร้าวในระหว่างการสัมภาษณ์ จะทำให้ผู้สมัครที่ดีปฏิเสธข้อเสนอ หรือแม้แต่ถอนใบสมัครของพวกเขาก่อนการตัดสินใจจ้างงาน ประเด็นเหล่านี้ส่งผลให้มีทีมงานที่อาจไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น อย่าลืมที่จะปล่อยวางศักดิ์ศรีเมื่อทำการสรรหาทีมงาน เพราะเมื่อประสบความสำเร็จในการมีทีมงานที่แข็งแกร่ง บริษัทก็จะประสบความสำเร็จไปด้วย 5. สร้างทีมที่มีประสบการณ์ อาจเป็นไปได้ที่จะไม่จำเป็นต้องสร้างทีมที่แข็งแกร่งและมีประสบการณ์ตั้งแต่แรกเริ่มอย่างไรก็ตาม ธุรกิจ Startup จำนวนมากเลือกจ้างทีมงานที่เป็นเพื่อนหรือครอบครัวมากกว่าที่จะเลือกจากประสบการณ์ ผู้ก่อตั้งบางคนยังขาดประสบการณ์ในการสรรหาทีมงานและมักจบลงด้วยการจ้างพนักงานที่ไม่มีความสามารถ นอกจากนี้ ทีมงานที่จ้างมาควรมีความเข้ากันกับวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการ โดยควรค้นหาคนที่มีความหลากหลายและเปิดกว้าง ซึ่งทำงานอย่างจริงจังและภูมิใจในผลงานของพวกเขา การทำเช่นนี้จะช่วยให้บริษัทเติบโต และขับเคลื่อนให้บริษัทประสบความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจจากทีมงานที่เข้ากันได้ ในขณะที่เคล็ดลับเหล่านี้สามารถช่วยในการเริ่มต้นธุรกิจได้ มันอาจไม่ได้ครอบคลุมถึงทุกสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ อันที่จริงแล้วจะพบเจอโอกาสมากมายที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาดระหว่างทาง ซึ่งเมื่อนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่ทีมงาน และบริษัทจะพร้อมสำหรับอนาคตที่เต็มไปด้วยความสำเร็จ ADGES พัฒนาความเป็น Leadership ให้เหมาะสมกับองค์กรและคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วยเครื่องมือพัฒนาความเป็นผู้นำ ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรของคุณโดยเฉพาะ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ e-mail : info@adges.net Tel : 088-028-111 Website www.adges.net Source : www.entrepreneur.com
เหตุการณ์ระบาดของ Covid-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนไป แม้จะมีการฉีดวัคซีนที่บ่งชี้ว่าภาวะปกติน่าจะกลับมาในไม่ช้า แต่การทำงานในออฟฟิศแบบบวิถี New Normal ก็ทำให้เห็นชัดเจนว่าการทำงานนั้น จะไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกต่อไป หลายบริษัทยังคงเลือกวิธีการ Work from Home หรือใช้การทำงานออนไลน์มาผสมผสานกับการทำงานปกติเพื่อความยืดหยุ่นที่มากขึ้นกว่าเดิม “การทำงานแบบ Work from Home กำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรทั่วโลกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้น องค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับความต้องการในการฝึกอบรมของพนักงาน” ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคอร์สฝึกอบรมจากภายในองค์กรเอง หรืออาจต้องหาที่ปรึกษา หรือหน่วยงานอื่นเพื่อให้เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ ดังนั้น องค์กรควรต้องพิจารณาว่าทักษะอะไรที่มีความสำคัญที่สุดหากมีการฝึกอบรมพนักงานเพื่อการทำงานแบบ Work from Home อย่างมีประสิทธิภาพ 8 ทักษะสำคัญที่ควรมีในหลักสูตรฝึกอบรมพนักงานในปี 2023 1. การบริหารโครงการ การติดตามความคืบหน้าของโครงการโดยที่ไม่ได้ไปพบปะและทำงานร่วมกันในออฟฟิศอาจเป็นเรื่องซับซ้อน ต้องใช้การบริหารจัดการที่ดีและความแข็งแกร่งของผู้นำ เพื่อนำทีมให้สามารถจัดการโครงการได้สำเร็จตั้งแต่ต้นจนจบ ถึงแม้จะมี Application และ Software ต่าง ๆ มาช่วยในการโอนย้ายข้อมูล แต่ก็ไม่สามารถเข้ามาแทนที่การฝึกอบรมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ความร่วมมือจากบุคลากรหลายแผนก “ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหลักสูตรฝึกควรพิจารณาเลือกใช้ Software ที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้งานที่จะทำให้สามารถดำเนินการโครงการต่างๆ ได้ตามภารกิจที่ตั้งใจไว้” รวมถึงการสร้างสถานการณ์จำลอง หรือแผนรองรับเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารโครงการสามารถรับมือและแก้ไขปัญหาต่างๆ
ขอบขอบคุณทาง วิทยาลัยการจัดการมหิดล CMMU Mahidol ที่เชิญมาให้เป็นหนึ่งในทีมวิทยากรสำหรับหลักสูตร Advance Management Program (AMP) ที่เป็นหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงของทางมหิดลที่มีคณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการศูนย์มาเรียนรวมทั้งท่านคณบดีสาวสวยของทาง College of Management Mahidol University Vichita Vathanophas มาเรียนด้วย ดูจากรายชื่อของวิทยากรแล้วรู้สึกกดดันพอสมควรเลย แต่เนื่องจากโจทย์ที่ได้รับมาคือเรื่อง Engagement and Empowerment ซึ่งเป็นเรื่องพูดบ่อยพอสมควรแต่ส่วนมากจะเป็นในฐานะของ Consult ที่ลูกค้ามักจะขอให้ทำในเรื่อง Engagement Survey แต่อย่างไรก็ตามกลับมีความเชื่อที่แตกต่างจากความเชื่อทั่วไปในเรื่องนี้ที่กลับมามองว่าอย่าเพิ่ง Survey หรือขึ้น System เลย แต่อยากชวนผู้บริการระดับสูงคุยว่าในฐานะผู้นำเราได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่แล้วหรือยังในการสร้าง Engagment from Within ไหนๆก็ใช้เวลาเตรียมมาพอสมควรอยากจะเรียบเรียงเก็บไว้สักหน่อยและเพื่อจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนทาง Facebook ไม่มากก็น้อยนะครับ ถ้าเรามองในรากศัพท์ของคำว่า Engage จะมาจากคำว่า En หรือเข้าไปเป็นหรือเข้าไปสู่ (put into or onto) อีกคำหนึ่งเป็นคำภาษาฝรั่งเศสคือ Gage ซึ่งแปลว่า การให้คำมั่นสัญญา
ตั้งใจมานานมากแล้วว่าอยากที่จะเอาความรู้ ความสามารถในงานที่ทำในเรื่องของการพัฒนาคน ทีมงาน และองค์กร ผ่านมุมมองในเรื่องของการสร้างการตระหนักรู้หรือ Self-Awareness ไปผนวกกับเรื่องทางด้านธรรมะซึ่งมีความลึกซึ้งและบางครั้งกลับติดข้อจำกัดในเรื่องการนำเสนอมากมายทั้งๆ ที่ Content ทางโลกไม่มีข้อจำกัดและมีวิธีการนำเสนอที่ไปไกลจนน่าตกใจ หลายคนคงเคยไป Course ปฏิบัติธรรมแล้วตั้งคำถามกับตัวเองว่า “รู้สึกดีมากตอนอยู่ใน Course แต่พอออกมาจะใช้ได้จริงมากน้อยแค่ไหน“ ผมเองก็อยู่ในวังวนขององค์กร เป็นคนสอน คนเรียน ที่ปรึกษา โค้ช อาจารย์ ในวงการธรรมะก็คงเป็นได้แค่ลูกศิษย์ และคนตั้งโต๊ะชวนผู้คนที่หลากหลาย มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิด และประสบการณ์ แต่ก็ต้องนับว่าตัวเองโชคดีที่ได้มีโอกาสเรียนรู้กับครูบาอาจารย์และท่านแม่ชี รวมถึงพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ฆราวาสที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติธรรมและแนวทางการพ้นทุกข์ เขียนมาถึงตรงนี้ก็รู้สึกขำ เวลาพูดถึงเรื่องพ้นทุกข์ต้องแอบๆ พูดเดียวจะหาว่าบ้า แต่ถ้าจะพูดถึงการหาเงินมามากๆ ใช้เงินมากๆ อันนี้ไม่กลัวเพราะเป็นเรื่องปกติ และเมื่อได้รับโอกาสจากทาง สวนโมกข์กรุงเทพฯ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ที่ขยันขันแข็งในการเร่งทำงานด้านธรรมะ และที่มีหลายๆโครงการที่ทำกับทาง สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย PMAT หนึ่งในโครงการที่คิดจะทำกันอยู่แล้ว คือเรื่องที่ ดร. วิรไท สันติประภพ ได้รับแนวคิดในเรื่องขององค์กรรมณีย์หรือ Mindfulness Organization มาจาก สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประยุทธ์
Dave Ulrich, PeopleMatter TechHR 2022 ในงาน Tech Conference ทางด้าน HR ที่ใหญ่ที่สุดใน Southeast Asia นั้นก็คืองาน TechHR ที่จัดโดย People Matters โดยครั้งล่าสุดที่ทาง People Matters ได้เชิญผู้บริหารและ CHRO จากบริษัทจดทะเบียนไทยก็คือในปี 2019 หลังจากนั้นการจัดงานก็กลับมาเป็นในรูปแบบของ Virtual เนื่องด้วยสถานการณ์ทางด้าน COVID แต่ในปีนี้ทาง People Matters ได้กลับมาจัดงานอีกครั้ง โดย Theme ในครั้งนี้จะเป็นในเรื่อง Fresh Eyes และในเรื่อง Rethink What’s Possible โดย Keynote Speaker ในปีนี้คือ Professor Dave Ulrich ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น Father of Modern HR และยังเป็น
วัฒนธรรมบริษัทสามารถหล่อหลอมแรงบันดาลใจของพนักงานอย่างไร ในการประชุมเชิงกลยุทธ์ครั้งล่าสุดที่เหล่าผู้นำจากบริษัทที่อยู่ในรายชื่อ Fortune-500 คำว่า “วัฒนธรรม” (Culture) มีการกล่าวถึงกว่า 27 ครั้งภายใน 90 นาที ผู้นำธุรกิจเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งคือสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จ แต่ถึงกระนั้น วัฒนธรรมก็ดูเหมือนจะเป็นพลังวิเศษที่มีเพียงบางคนที่รู้จักและรู้วิธีควบคุม ดังนั้น ผู้บริหารส่วนใหญ่จึงจัดการกับเรื่องนี้ตามสัญชาติญาณของตนเอง ผู้เขียนพบว่าการตอบคำถาม 3 คำถามนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจากเรื่องลึกลับให้กลายเป็นวิทยาศาสตร์ได้: 1) วัฒนธรรมขับเคลื่อนผลการทำงานได้อย่างไร 2) อะไรคือประโยชน์ของวัฒนธรรม 3) กระบวนการอะไรในองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรม ผู้นำจะสามารถออกแบบวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วยเพิ่มผลการดำเนินงานให้สูงขึ้นได้อย่างไร และที่สำคัญคือจะวัดผลที่เกิดขึ้นได้อย่างไร วัฒนธรรมขับเคลื่อนผลการดำเนินงานได้อย่างไร (How Does Culture Drive Performance?) ผลงานของนักวิจัยหลายท่านพบว่าสามแรงจูงใจแรกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มผลการดำเนินงานให้สูงขึ้น ในขณะที่สามแรงจูงใจถัดมาคือตัวทำลาย ผู้เขียนพบว่าหลายบริษัทที่โด่งดังเรื่องวัฒนธรรม ตั้งแต่ Southwest Airlines ไปจนถึง Trader Joe’s มีการเพิ่มแรงจูงใจที่ดีให้มากที่สุด และลดแรงจูงใจที่แย่ให้เหลือน้อยที่สุด 1. การเล่น (Play) คือ การที่เรามีแรงจูงใจเพราะงาน เราทำงานเพราะสนุกกับมัน ครูที่มีแรงจูงใจคือการเล่นจะสนุกกับกิจกรรมหลักของการสอน เช่น วางแผนบทเรียน ออกข้อสอบ
การสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรต่อนโยบายของผู้บริหาร และส่งเสริมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร โดยองค์กรที่ประสบความสำเร็จในระดับสากลได้ให้ความสำคัญต่อการสื่อสารภายในองค์กรเป็นอย่างมาก เพื่อที่บุคลากรในองค์กรนั้นได้รู้จักตนเองและรู้จักความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของทีม เพื่อนำไปสู่การสื่อสารและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ Self-Awareness คืออะไร? Self-Awareness คือ การรู้จักตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นถึงศักยภาพในด้านความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและการแสดงออกต่าง ๆ รวมไปถึงการตระหนักถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองว่าสิ่งนั้นมีผลต่อตนเองอย่างไร “การวิจัยชี้ให้เห็นว่าเมื่อเรามองเห็นตัวเองชัดเจน เราจะมีความมั่นใจและสร้างสรรค์มากขึ้น เราตัดสินใจได้ดีขึ้น สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรามีโอกาสน้อยที่จะโกหก โกง และขโมย เราเป็นคนทำงานที่ดีขึ้นและได้รับการส่งเสริมมากขึ้น และเราเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น” “การวิจัยชี้ให้เห็นว่าเมื่อเรามองเห็นตัวเองชัดเจน เราจะมีความมั่นใจและสร้างสรรค์มากขึ้น เราตัดสินใจได้ดีขึ้น สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรามีโอกาสน้อยที่จะโกหก โกง และขโมย เราเป็นคนทำงานที่ดีขึ้นและได้รับการส่งเสริมมากขึ้น และเราเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น” Emergenetics คืออะไร? Emergenetics คือ เครื่องมือในการสร้างความเข้าใจเรื่องการปฏิสัมพันธ์ผ่านการเรียนรู้จาก Emergenetics Profile ซึ่ง Emergenetics ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทีมสามารถนำเอาความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของทีม ซึ่ง Emergenetics ไม่ได้แค่เป็นแบบประเมิน แต่จะสร้างภาษาที่ง่าย เพื่อให้ความเข้าใจถึงความแตกต่างในด้านความถนนัดและด้านพฤติกรรมระหว่างบุคคล เป็นเรื่องง่ายและองค์กรสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ด้วยเหตุนี้ Emergenetics
If you have questions or require more information about our services.
latest Events
GET IN TOUCH
© 2022 ADGES. All rights reserved