เข้าร่วม Speacial Workshop ในงาน Thailand HR Day 2024!
-
26/11/2024
-
15:30 – 17:00 PM
-
ณ ห้องลาดพร้าว ชั้น เอ็ม โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว
ในการทําธุรกิจในปัจจุบัน เราจะเริ่มเห็นว่าองค์กรขนาดใหญ่หลายองค์กรเริ่มไม่สามารถที่จะแข่งขันได้เพราะผู้บริหารอยู่กับองค์กรมานาน เกิดการซึมซับวัฒนธรรมองค์กร องค์กรที่มีขนาดใหญ่ก็สามารถที่จะ Influence Market ได้ มี Market Share มีกลุ่มลูกค้า สามารถกําหนดกลยุทธ์เรื่องราคาได้ แต่สิ่งเราเริ่มเห็นก็คือองค์กรขนาดใหญ่เหล่านี้เริ่มอยู่ลําบากมากขึ้นเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและ Generation เนื่องจากเหตุการณ์ Covid 19 ในช่วงเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เด็กรุ่นใหม่และพนักงานในองค์กรมีการตั้งคําถามมากขึ้นในการทํางานว่าอะไรคือเป้าประสงค์ในชีวิตของเรา รวมถึงมีการพิจารณาว่ารูปแบบการทำงานที่เราทําอยู่ เรามีความสุขหรือเปล่า เรายังอยากอยู่กับองค์กรนี้ไหม คนก็เริ่มตั้งคําถามเหล่านี้กันมากขึ้น คำถามเหล่านี้เชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกับ Leadership อย่างไร? คำถามเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าคนปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่องของ Value, Life Style และความคาดหวังในการทํางานที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นผู้บริหารเองจําเป็นที่จะต้องกลับมาพิจารณาถึงบทบาทของตนเอง รวมไปถึงเครื่องมือที่เราจะใช้ เพื่อที่จะนําพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย “คําถามที่สําคัญถัดไปคือองค์กรคาดหวังอะไรในการทําธุรกิจ” องค์กรคาดหวังผลลัพธ์อยู่ 2 ส่วน 1. Success (ความสําเร็จทางด้านธุรกิจ) มุ่งตามเป้าหมายที่องค์กรวางเอาไว้ ตาม KPI, OKR และผลประกอบการขององค์กร แต่ Success จะมาไม่ได้ถ้าเราไม่ดึงศักยภาพของคนออกมา รวมถึงการสร้าง Engagement
“การจะทำให้ทีมของคุณบรรลุเป้าหมายและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีผู้นำที่ช่วยโค้ช ช่วยพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในทีม ผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานของทีมและสมาชิกในทีมให้ดียิ่งขึ้น” Leader as Coach Workshop เป็นโปรแกรมจะช่วยให้ผู้นำเป็นโค้ชผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานของทีมและสมาชิกในทีมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับผู้นำที่ต้องการเป็นบุคคลที่พนักงานหรือลูกน้องอยากรับการโค้ชอย่างแท้จริง โดยใช้ “Three C Coaching Model” ประกอบไปด้วย 1. Character – ความมั่นใจในบทบาทของตนเองในฐานะโค้ช และมีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จที่มีให้กับทีม ใน Workshop จะช่วยทำให้คุณได้รู้คุณค่า แรงจูงใจ พรสวรรค์ และความตั้งใจของคุณ รวมถึงช่วยทำให้ได้รู้ถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการโค้ชของคุณอีกด้วย 2. Connection – จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสร้างความสัมพันธ์แบบ Peer-to-peer Connection ที่เกิดจากความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ส่งผลให้เกิดความสามารถในการมองเห็นศักยภาพของสมาชิกในทีม สร้างการเผชิญหน้ากันอย่างสร้างสรรค์ 3. Conversation – เพื่อให้ผู้เข้าร่วม Workshop มีประสบการณ์โค้ชแบบสมจริง จะได้ลอง Coaching และใช้เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้เข้าร่วม Workshop มีส่วนร่วมในการสนทนาที่เน้นการชี้นำที่มีจุดมุ่งหมาย อย่างมีจิตสำนึกและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ: ผลลัพธ์ขององค์กร: Workshop นี้เหมาะกับ: ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับระดับสูง
เมื่อพบว่าทีมไม่มีส่วนร่วมหรือแรงบันดาลใจมีน้อย การแก้ไขภาวะนี้ต้องเริ่มจากการเน้นที่แรงจูงใจและบทบาทของผู้บริหาร บ่อยครั้งเราอาจพบว่าพนักงานไม่มีส่วนร่วมหรือมีแรงบันดาลใจน้อย เนื่องจากทำงานเพียงเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่หรือคาดหวังเล็กน้อย “ในยุคที่นวัตกรรม ความรวดเร็ว ความคิดสร้างสรรค์ และพลังงานเป็นที่ต้องการถ้าทีมของเราไม่ทุ่มเทเราก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้” เพื่อแก้ไขภาวะนี้ เราควรเน้นที่แรงจูงใจและบทบาทของผู้บริหาร ซึ่งควรเข้าใจและให้สิทธิ์ในการพัฒนาตนเองของพนักงาน ผู้บริหารต้องไม่เพียงเรียกร้องความมุ่งมั่นของพนักงาน แต่ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้พนักงานสามารถตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ได้ การตรวจสอบว่าทีมของคุณมีแรงจูงใจมาจากภายในหรือไม่ จะช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมของพนักงานมากขึ้น ผู้บริหารควรให้สิทธิ์และสนับสนุนในการพัฒนาทักษะ และการสร้างความเชี่ยวชาญของพนักงาน นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้พนักงานมีอิสระในการตัดสินใจวิธีการทำงาน จะช่วยเสริมสร้างความเป็นอิสระและความรับผิดชอบในทีม นอกจากนี้ ผู้บริหารควรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากหลักการสามประการของแรงจูงใจจากภายใน: ความเชี่ยวชาญ ความเป็นอิสระ และวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นสามประการที่สามารถส่งเสริมแรงจูงใจของทีมได้ ในท้ายที่สุด การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้พนักงานรู้สึกสามารถมีส่วนร่วมและมีความคุ้มค่าในงานของตน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ทีมทำงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ Source: www.bluepointleadership.com
‘คุณอยากเป็นหัวหน้าที่สามารถพัฒนาศักยภาพพนักงานในทีมด้วยวิธีการ Coaching ไหม?’ เมื่อเราอยู่ในจุดที่เป็นผู้นำขององค์กรหรือผู้นำของทีมแล้ว เราสามารถทำ Coaching ให้พนักงานในทีมเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานได้หรือไม่? คนส่วนมากรู้ว่า Coaching นั้นสำคัญ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าทำยัง วันนี้ ADGES ได้จัด Workshop ในหัวข้อ Leader as Coach ให้กับองค์กรชั้นนำด้านการเงิน ได้พบกับผู้บริหารในแผนกต่างๆและได้สอบถามความคาดหวังที่จะได้จาก Workshop นี้ ผู้เข้าร่วมตอบคำถามว่า คาดหวังว่าจะได้วิธีการCoaching ให้กับพนักงานในทีม,ได้พัฒนาและบาลานซ์ Team Engagement ซึ่งส่งผลไปสู่การเพิ่ม KPI ของทีมได้ เราลองมาตั้งคำถามกันเล่นๆดูว่า ทุกท่านคิดว่า Moment ไหนที่เราได้แสดงความเป็น Leader ให้กับพนักงานในทีมกัน? จริงๆแล้วทุกๆการตัดสินใจตอนอยู่กับทีม ทุกๆinteraction คือ Moment ของ Leadership ผู้เข้าร่วม Leader as Coach Workshop จะได้เรียนรู้การทำ Exercises, ได้ลองวิธีการตั้งคำถามในการCoaching จริง, และได้รับ Feedback ส่วนตัวที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้
ผู้นำที่ดีมักจะมีความหลงใหลที่แรงกล้าและมีความชัดเจนต่อเป้าหมายโดยรวมขององค์กร คนทั่วไปจึงมักถูกดึงดูดโดยผู้นำที่มีพลัง มีความกระตือรือร้นและมีความจริงจังกับการทำงาน ซึ่งตามรายงานของ 2019 Global Talent Trends Study โดย Mercer ได้กล่าวว่า องค์กรที่จะประสบความสำเร็จและเจริญรุ่งเรืองนั้นจะต้องนำโดยบุคคลที่มุ่งเน้นไปที่ “การตอบแทนคุณค่าของความสามารถ” พนักงานจึงมักต้องการองค์กรที่ตอบสนองและสอดคล้องกับมูลค่าความสามารถในอนาคต ด้วยการมองหาการจ้างงานที่มีเป้าหมายและจุดประสงค์ชัดเจน 5 เหตุผลว่าทำไมคุณควรดำเนินชีวิตด้วยความหลงใหลและเป้าหมาย: 1. เป้าหมายเป็นแรงกระตุ้นการจัดลำดับความสำคัญการกระทำของคุณ เนื่องจากการจัดลำดับความสำคัญของการกระทำต่างๆ จะส่งผลต่อผลลัพธ์และประสิทธิผล ในขณะที่เป้าหมายนั้นเป็นศูนย์กลางความพยายามของคุณซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพ ดังนั้น คุณจึงควรเริ่มการกระทำด้วยการคำนึงถึงเป้าหมาย 2. เป้าหมายคือการพุ่งความสนใจไปสู่ภายนอก ส่วนความหลงใหลเป็นการพุ่งความสนใจมายังภายใน เนื่องจากเป้าหมายมีไว้ตอบสนองผู้อื่น ในขณะที่ความหลงใหลนั้นตอบสนองความต้องการของคุณดังนั้น เมื่อเป้าหมายและความหลงใหลของคุณสอดคล้องกัน คุณจะได้พบกับความสุขและความสมปรารถนาที่แท้จริงอย่างไรก็ตาม คุณควรระวังการเข้าใจผิดว่าความหลงใหลคือเป้าหมายของคุณ 3. ความหลงใหลเชื่อมต่อคุณกับการตั้งคำถามต่อการใช้ชีวิต ซึ่งสัมพันธ์กับเป้าหมายในการใช้ชีวิต เนื่องจากความหลงใหลนำมาซึ่งความสุข ความตื่นเต้น และความคาดหวังในชีวิตในขณะที่คุณกำลังมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 4. ความหลงใหลเป็นพลังขับเคลื่อนคุณไปสู่เป้าหมาย โดยหากปราศจากความหลงใหล ชีวิตและการทำงานของคุณจะปราศจากพลังงานขับเคลื่อนที่จำเป็นในการดึงดูดผู้คนทรัพยากรและโอกาสที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต และทำตามเป้าหมายคุณ 5. เป้าหมายช่วยปรับสมดุลให้กับความหลงใหล เนื่องจากเป้าหมายคือเข็มทิศภายในจิตใจของคุณ เมื่อความหลงใหลหรือแรงปรารถนาของคุณนั้นไขว้เขวฟุ้งซ่านไป เป้าหมายจะเป็นตัวช่วยในการปรับสมดุลให้ความหลงใหลนั้นกลับมามั่นคงโดยการพุ่งเป้าไปที่การกระทำที่มีผลต่อคุณมากที่สุด คนทั่วไปนั้นต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่มีความสำคัญ มีความหมาย และทำงานที่พวกเขาหลงใหล ดังนั้นเมื่อใดที่คุณสามารถระบุและไตร่ตรองถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ คุณจะพบความชัดเจนและความเข้าใจเกี่ยวกับ
“หนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ผู้ฝึกอบรมต้องเผชิญคือการต่อต้านการฝึกอบรมจากผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง Supervisors และ Managers รู้สึกหงุดหงิดที่ต้องสละเวลาจากงานมาเพื่อฝึกอบรม และผู้บริหารระดับสูงไม่เชื่อว่าเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรมนั้นคือการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า” คุณสามารถโน้มน้าวให้ทั้งสองกลุ่มเห็นว่าการฝึกอบรมมีความสำคัญ โดยต้องพิสูจน์ให้พวกเขาเห็นว่าการฝึกอบรมไม่ได้ทำให้พนักงานเลิกงาน ในความเป็นจริงการฝึกอบรมเป็นส่วนสำคัญของงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งสำคัญคือพนักงานของคุณจะต้องรักษาทักษะและความรู้ที่ดีที่สุดเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดอย่างปลอดภัย คำถามคือจะโน้มน้าวให้ทุกคนยอมรับข้อเท็จจริงนั้นได้อย่างไร? ตรวจสอบ ROI การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ให้ข้อมูลเฉพาะที่คุณต้องการเกี่ยวกับโครงการฝึกอบรมผลกระทบทางการเงินที่มีต่อองค์กร เป็นการตอบคำถามสำคัญที่ผู้บริหารระดับสูงต้องการทราบ: “สำหรับทุก ๆ ดอลลาร์ที่เราลงทุนในการฝึกอบรม เราจะได้เงินดอลลาร์กลับมาอย่างไร” เนื่องจากคุณต้องการแน่ใจว่าการฝึกอบรมพนักงานเป็นประโยชน์ต่อองค์กร คุณต้องสามารถตอบคำถามนั้นด้วยข้อมูลที่แน่นอน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คุณจำเป็นต้องทราบเปอร์เซ็นต์ของกำไรที่ทำหรือเงินออมที่ได้รับสำหรับทุกๆ ดอลลาร์การฝึกอบรมที่ใช้ไป และนั่นคือสิ่งที่คำนวณ ROI การฝึกอบรมให้คุณได้ จะวัด ROI ของการฝึกอบรมได้อย่างไร? นี่คือสูตรง่ายๆ สำหรับการวัด ROI ของการฝึกอบรม: ROI (%) = ((ผลประโยชน์ทางการเงิน – ค่าฝึกอบรม)/ค่าฝึกอบรม) x 100 Example: สมมติว่าเป็นผลมาจากโปรแกรมการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยใหม่ อัตราการเกิดอุบัติเหตุขององค์กรลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ประหยัดเงินได้ทั้งหมด 200,000 ดอลลาร์ต่อปีในแง่ของการสูญเสียวันทำงาน ความเสียหายของวัสดุและอุปกรณ์ และค่าชดเชยของพนักงาน หากโปรแกรมการฝึกอบรมมีค่าใช้จ่าย $50,000 ในการดำเนินการ ROI จะเท่ากับ 300 เปอร์เซ็นต์ ROI = ((200,000
เราคงเคยเห็นโปสเตอร์ให้กำลังใจมากมายที่คอยเตือนเราว่า “We don’t remember days, we remember moments.” “เราไม่จดจำวัน เราจดจำช่วงเวลา” ซึ่งเป็นความคิดที่มีความสำคัญ แต่มันมีความหมายอย่างไรกับผู้นำ? หากเป็นความจริงที่ว่าเราสามารถสร้างผลกระทบแง่บวกที่ยั่งยืนในใจผู้อื่นได้โดยการสร้างช่วงเวลาที่จริงจังและปลุกอารมณ์ เราก็ควรถามตนเองว่าเราได้ใช้เวลาไปอย่างไรในช่วงเวลาแห่งการเป็นผู้นำ ลองทบทวนถึงทุกการ Interaction ที่มีตลอดทั้งวัน “How many of these are truly memorable?” “มีกี่ครั้งที่การปฏิสัมพันธ์เหล่านี้น่าจดจำ?” “How many of these are making permanent marks on others?” “มีกี่ครั้งที่การปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ได้ถูกจารึกอย่างถาวรในใจของผู้อื่น?” หากสงสัยว่าจำนวนครั้งที่เกิดขึ้นนั้นน้อยจนน่าผิดหวัง เราอาจต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงวิธีทำกิจกรรม ในฐานะผู้นำในแต่ละวันนี่ไม่ใช่เรื่องง่ายและมีสองปัญหาให้ตระหนักและก้าวข้ามให้ได้ ปัญหาแรก ในฐานะ Leaders ซึ่งถูกส่งเสริม ฝึกอบรม และให้รางวัลจากความเด็ดขาดและการกระทำ ในหลายๆ แง่ โดยภาพลักษณ์ของตนเองนั้นเกิดขึ้นจากความคิดที่ว่าเราทำให้ตนเองโดดเด่นในฐานะผู้นำ ด้วยการทำสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นและทำให้เกิดขึ้นทันที ทำต่อไป อย่าหยุด เวลาเป็นเงินเป็นทอง! ปัญหาที่สอง สมองของเราเต็มไปด้วยบทสนทนาที่เราพูดกับตนเองเกี่ยวกับความซับซ้อนในการบริหารองค์กร
3 สิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ในการโค้ช Leader As Coach (ผู้นำในฐานะโค้ช) มีความแตกต่างจาก External Coach (โค้ชจากภายนอก) อย่างไร หัวใจสำคัญ คือ ความสัมพันธ์ในการที่จะโค้ชมีความเหมาะสมไหม จากมุมมองของผู้ถูกโค้ชซึ่งเราจะขอเรียกว่า “Talent” มักจะตั้งคำถามว่าเราเชื่อใจและให้สิทธิ์ในการเป็นโค้ชแก่ผู้นำท่านนั้นแล้วหรือยัง การเรียนรู้ในฐานะที่เป็น Leader As Coach มีความแตกต่างในเรื่องของการเป็น External Coach ในขณะที่โค้ชจากภายนอกจะเข้ามาเมื่อถูกจ้างให้มาทำโค้ชแต่ Leader As Coach ที่เป็นหัวหน้า เพื่อนร่วมงานที่เราทำงานร่วมกันในทุกๆ ดังนั้น สิ่งที่เราเชื่อและสิ่งที่เราทำจะเป็น Personal Brand ที่ติดตัวเรา ผู้บริหารบางท่านผ่านการอบรมมาแล้วหลายหลักสูตร มีประสบการณ์ในด้านการโค้ชมานับไม่ถ้วน แต่อาจไม่ได้ให้สิทธิ์ในการเป็นโค้ชเนื่องด้วยคำพูดเรื่องโค้ชกับการกระทำไม่ได้สอดคล้องกัน ทุกครั้งที่ทาง ADGES ได้มีโอกาสทำหลักสูตรให้กับทาง Bluepoint Leadership เรามักจะถามผู้เข้าร่วมอบรมว่า ‘จริงๆ แล้ว เราเปิดรับการโค้ชจากทุกคน หรือเราเองก็เลือกที่จะฟังใคร และไม่ใช่ทุกคนที่เราให้สิทธิ์ในการเป็นโค้ช’ ผู้เข้าร่วมอบรมหลายท่านส่วนมากบอกว่า ‘ต่อให้เป็น CEO ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะยอมให้โค้ชง่ายๆ’ ยิ่งเป็นการอบรมให้กับกลุ่ม New
“เราจะสร้าง New Gen. Leader Program อย่างไรและที่สำคัญไปกว่านั้นคือจะสร้างไปทำไม?” องค์กรจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำรุ่นใหม่ๆมาเติมเต็มทางด้านธุรกิจขององค์กรและสามารถขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กรไปในสถานการณ์ซึ่งสามารถแข่งขันได้อนาคต วันนี้แอดเจสจึงอยากนำเสนอแนวคิด 4 ประการ ที่จะทำให้องค์กรสามารถออกแบบหลักสูตร New Gen. Leader ให้ประสบความสำเร็จ ข้อแรก องค์กรต้องมีความชัดเจนว่า Performance ขององค์กรและของ New Gen. Leader ว่าคือเรื่องใด หลากหลายองค์กรไม่ได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่าอะไรคือ Performance และในเรื่องของ Potential หรือศักยภาพ คำถามคือ ถ้าทำงานในตำแหน่งปัจจุบันได้ดี เราจะคาดเดาได้เลยไหมว่างานในอนาคตนั้นก็จะต้องทำได้ดีเหมือนกัน ผู้บริหารเก่งๆ หลายท่านทำงานในตำแหน่งปัจจุบันได้ดี แต่พอเมื่อได้รับการ Promote ในตำแหน่งงานที่สูงขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้นกลับไม่มีความพร้อม เพราฉะนั้นเกิดอะไรขึ้น? สิ่งที่เราเจอในหลากหลายองค์กรคือคำว่า ศักยภาพไม่มีการชี้วัดอย่างชัดเจน หลายองค์กรเก่งในเรื่องการวัดประสิทธิภาพในปัจจุบัน แต่เมื่อถึงบริบทที่ต้องถามตนเองว่า แล้วผู้บริหารท่านนั้นพร้อมสำหรับในอนาคตหรือไม่ กลับไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตอบโจทย์ ข้อ 2 แล้วการวัดศักยภาพวัดอย่างไร? หลายองค์กรใช้ Concept ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Competency หรือ Leadership competency ต่างๆ
สืบเนื่องมาจากอาทิตย์ที่แล้ว ทาง Bluepoint Leadership ที่ทางเราเป็น Exclusive Partner ที่เมืองไทยได้เชิญผมให้เป็น Facilitator และได้ร่วมทำงานกับบริษัทชั้นนำของโลกคือบริษัท GE (General Electric) ในการทำเวิร์คช็อปให้กับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่มาจากหลากหลายประเทศทั่วโลก ส่วนหัวข้อที่เราพูดถึงกันนั้น ก็คือเรื่อง Leading the Remote Team โดยครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ห้าแล้วที่ผมมีโอกาสได้ทำงานกับบริษัทระดับโลกอย่าง GE ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สองสามปีที่มาผ่านมาได้มีโอกาสได้เดินทางไปที่ GE Leadership Center เพื่อจัดเวิร์คชอปให้กับผู้บริหาร ซึ่งปีที่แล้วก็ไม่ได้ไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด แต่ก็ไม่เป็นไรปีนี้ก็ยังถือว่าได้มีโอกาสร่วมงานกันเพราะส่วนตัวแล้วผมค่อนข้างที่จะชอบทำงานกับ GE เพราะทุกครั้ง มีความรู้สึกว่าทำให้ตัวเองต้องพร้อมที่ทำหน้าที่ในฐานะของ Facilitator และต้องดึง Top Form ออกมาให้ได้ ซึ่งทุกครั้งที่มีการทำ Training ทาง GE ได้ให้แนวทางกับพนักงานว่า ถึงแม้ว่าทางองค์กรแนะนำให้เข้าการอบรมแต่ผู้บริหารสามารถที่จะตัดสินใจได้เลยในกรณีที่คิดว่าการอบรมไม่ได้เป็นประโยชน์และทำให้เสียเวลา เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่รู้กัน ว่าถ้าเนื้อหาไม่น่าสนใจในการนำเสนอน่าเบื่อและไม่สามารถที่จะดึงความสนใจของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรได้แล้วเรามักที่จะเห็น คนเรียนมาเช็คอินในระยะเวลาอันสั้นประมาณ 15 นาที เพื่อประเมินถึง คุณค่าของหลักสูตร พร้อมกับตั้งคำถามตัวเองว่าจะเสียเวลาหรือเปล่าแต่ถ้าผู้เรียนอยู่ได้เกินสักสิบห้านาทีเรามักจะเห็นว่าผู้เรียนเรียนตลอดทั้งหลักสูตร ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันในหัวข้อที่ว่า Leading the
7 ทักษะการทำงานระยะไกลที่ผู้นำทุกคนต้องเชี่ยวชาญ การนำทีมจากระยะไกลเป็นเรื่องยาก และต่อไปนี้คือวิธีการที่ถูกต้อง ผู้นำสามารถนำทีมจากทางไกลได้ดีแค่ไหน นี่คือคำถามที่เจ้าของธุรกิจ ผู้บังคับบัญชากำลังเผชิญอยู่ หรือแม้แต่ใครก็ตามที่ทำงานจากที่บ้าน รวมทั้งพนักงานที่อยากให้นโยบายนี้กลายเป็นนโยบายถาวร แต่การจัดการกับคนที่ทำงานจากระยะไกลนั้นยากกว่าการจัดการกับคนที่มาทำงานที่สำนักงานทุกวันมาก ความท้าทายเหล่านี้อาจทำให้การทดลองทำงานจากที่บ้านไม่ประสบความสำเร็จได้ และนั่นคือเหตุผลที่ผู้นำบางคนยังคงมีข้อสงสัยและไม่มั่นใจเกี่ยวกับการทำงานจากระยะไกล ผู้นำกำลังนำทีมงานที่ทำงานจากระยะไกลหรือทำงานที่บ้าน จำเป็นต้องมีทักษะ หรือเรียนรู้ทักษะที่สำคัญสำหรับการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะเหล่านี้ก็มีประโยชน์กับการทำงานในที่ทำงานด้วยเช่นกัน 1. การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารให้ชัดเจนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เมื่อเราทำได้เพียงติดต่อกับสมาชิกในทีมผ่านอีเมล์ ข้อความ โทรศัพท์ หรือ VDO Call และอาจเกิดความเสียหายร้ายแรงขึ้นได้หากตัวเราหรือสมาชิกในทีมเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน หรือมีข้อมูลสำคัญตกหล่นไป “ให้เริ่มด้วยการจัดตารางเวลาติดต่อสื่อสาร และคุยผ่านโทรศัพท์หรือ VDO Call กับสมาชิกในทีมเป็นประจำ” หากมีข้อสงสัย ให้ปรึกษาผู้นำคนอื่นหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างความมั่นใจว่าทักษะด้านการสื่อสารของเราดีเทียบเท่ากับคนอื่น 2. ความใส่ใจ (Caring) แน่นอนว่าผู้นำเองก็ใส่ใจและเป็นห่วงพนักงาน แต่จะแสดงออกให้พวกเขารู้ได้ดีแค่ไหน การทำงานที่บ้านอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน โดยเฉพาะคนที่ต้องดูแลลูกๆ ไปด้วย พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนในด้านการตัดสินใจ เช่น การที่หัวหน้างาน หรือผู้นำเต็มใจอนุโลมเรื่องเวลาการทำงานหรืออนุโลมเรื่องกำหนดส่งงานของพวกเขาได้ ในขณะเดียวกัน ความรู้สึกโดดเดี่ยวและความทุกข์ใจที่หลายคนต้องเผชิญขณะทำงานที่บ้าน ก็อาจส่งผลหลายอย่าง พนักงานอาจต้องการการสนับสนุนทางจิตใจมากขึ้นด้วย “ต้องทำให้พนักงานรับรู้ว่า ผู้นำของพวกเขาและบริษัทพร้อมสนับสนุนพวกเขาในทุกด้านที่ต้องการ” 3. การจัดระเบียบ
If you have questions or require more information about our services.
latest Events
Recent News
GET IN TOUCH
© 2022 ADGES. All rights reserved