Driving high technology with talented people – ARV’s Story

จาก Company Visit ครั้งที่ 2 กับการเสวนาในหัวข้อ “Enable High Impact Technology- ARV Now” โดย คุณสินธู ศตวิริยะ Head of Ventures and Commercial คุณณภาภัช หงสประภาส Head of People & Operations และคุณปฏิญญา อมรรัตนานนท์ Head of Technology จาก บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ดำเนินการเสวนาโดย ดร.ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ CEO, ADGES

ใบบทความนี้ ADGES จะขอเล่าเรื่องราว ว่าการทำงานในแบบของ ARV นั้นเป็นอย่างไรและทำไม ARV จึงเป็น Opportunity of a Lifetime ของทุกคน ผ่านมุมมองของ Head of team ทั้ง 3 ด้าน ดังนี้

1. ทางด้าน Ventures and Commercial

คุณสินธู ศตวิริยะ Head of Ventures and Commercial จากการชักชวนของ ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ General Manager, AI and Robotics Ventures (ARV) ให้มาช่วยดูทางด้านการเงิน และส่วนตัวเป็นคนที่สนใจในเรื่องเทคโนโลยี จึงนำสิ่งที่เรามีความสามารถและถนัดมาทำให้เกิดความร่วมมือกัน อาจดูเป็นเรื่องยากแต่นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาทำ Deep Tech ที่เกิด Input มากมายขนาดนี้ ซึ่งหาโอกาสทำงานประเภทนี้ได้ยาก

เมื่อ ปตท.สผ. เจอวิกฤตน้ำมัน ทำให้ต้องมีการกระจายความเสี่ยงไปยังธุรกิจอื่นเพื่อสร้างกระแสเงินสดอย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าอย่างน้อย 20% ของ Net Income หรือประมาณ 1,000-2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหนึ่งในนั้นคือการจัดตั้ง ARV ที่จุดเริ่มต้นจากเรื่องเทคโนโลยีที่เริ่มนำหุ่นยนต์มาใช้ที่ถือเป็นโจทย์ที่ได้รับมาจากบริษัทแม่ พอได้มาทำ Startup ก็ต้องหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรให้ ARV รองรับกับเทคโนโลยีที่ทำแล้วเกิดผลในระยะเวลาที่สั้นที่สุด ไม่เสียเวลา และตอบโจทย์เรื่อง Deep Tech ที่หลายคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า VC Model คือการเอาเงินไปลงทุนใน Startup โดยลงเงินที่มี Strategic Value ใน Corporate นั้น ARV จึงนำเอาเทคโนโลยีมาดูปัญหาในบ้านและในอุตสาหกรรมอื่นที่เห็นว่าเทคโนโลยีของ ARV น่าจะสามารถแก้ไขและตอบโจทย์ได้ 

ARV เป็น Entrepreneur Investment เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ In-house ในขณะที่ Benchmark ของ Startup ส่วนใหญ่ เมื่อไปซีรี่ส์ A หรือ B มักจะสะดุดขาตัวเอง แต่จุดแข็งของ ARV คือเรามีองค์กรใหญ่ที่เป็น Lesson Learned เต็มไปด้วย Best Practice และ Backend support จึงสามารถนำระบบ Back Office จากบริษัทแม่มา Design Model ทำให้เกิดการ Spin-Off เป็นบริษัทย่อยต่อไปได้ โดยในปี 2565 ARV มีรายได้ประมาณ 14 ล้านเหรียญซึ่งเติบโตจากปีก่อน อาจจะยังได้กำไรไม่มากนัก แต่ ARV สามารถบริหารต้นทุนการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี 

Blog 1600 × 500px 14

2. ทางด้าน Technology

คุณปฏิญญา อมรรัตนานนท์ Head of Technology เรียนจบวิศวะคอมพิวเตอร์ ก่อนหน้านั้นยังทำงานอยู่ที่ต่างประเทศ จนได้มีโอกาสติดต่อกับทาง ARV ซึ่งมองว่าเป็นโอกาสของตัวเองที่จะได้บริหารทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ไปด้วยกัน และด้วยเพราะมี Passion และชอบความท้าทาย และคิดในตอนนั้นว่าหากไม่ตัดสินใจมาที่ ARV ณ ตอนนั้น ก็คงจะหาโอกาสแบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว และเล่าประสบการณ์ที่เคยได้ชวนคนที่เคยทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นมาทำงานด้วยกัน ในช่วงที่ ARV ประสบปัญหาเรื่องการ Recruit คนท่ามกลางการแข่งขันที่สูง โดยใช้วิธีทัก Direct ไปหาคนที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น จนมาทำที่ ARV ด้วยกัน

คุณปฏิญญาได้แชร์มุมมองเกี่ยวกับบริบทของ ARV เมื่อเปรียบเทียบกับระดับ Global และการปรับตัวเองให้ฟังว่า หากพิจารณาว่าจะขยายไปยังอุตสาหกรรมไหน สิ่งสำคัญคือ ต้องหาคนที่สามารถแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน อันไหนที่ไม่ทันสถานการณ์แล้ว หรืออันไหนต้องอาศัยคนที่มีประสบการณ์ที่สูงมาก ARV เองมีหุ่นยนต์หลากหลายประเภท และกำลังมองการสร้างเทคโนโลยีและสามารถนำไปประยุกต์ในธุรกิจต่างๆ ได้ อย่างที่เน้นเสมอว่า ARV ไม่ได้มุ่งเน้นในการทำเพื่ออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง

เราพยายมหาโซลูชั่นไปเรื่อยๆ บางครั้งเจอแล้วแต่อาจจะไม่ตอบโจทย์หรือแพงเกินไป ซึ่งก็ยังไม่มีโมเดลที่ตอบโจทย์เราได้ทั้งหมด หรือพอไปติดต่อ Vender ต่างประเทศ บางครั้งก็พบว่า Vender เองก็ยังมีลักษณะการทำงานที่ยังไม่ครบเหมือนกัน แต่เขาอาจจะมีการโฆษณาเก่ง ในต่างประเทศ Startup จริงๆ จะโฟกัสมากกับ AI แต่ยังไม่สามารถนำไปปรับใช้กับข้อมูลได้ดีและนำไปสร้างกระบวนการโดยยังไม่มีโซลูชั่นที่ดีให้กับ Corporate แต่สิ่งที่ ARV กำลังทำคือการพัฒนา AI ซึ่ง AI จะเกิดขึ้นได้ต้องมี Digital Transformation และ Software ที่รองรับด้วย 

และในปัจจุบันอาจจะยังไม่ได้มี Benchmark โดยตรง แต่เพื่อเป็นการรองรับการบริการลูกค้าทำให้ต้องเริ่มเก็บข้อมูลและรวบรวม ซึ่งจะคล้ายๆ กับ Techsauce ที่ต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับด้าน Startup เองทั้งหมด

Blog 1600 × 500px 13

3. ทางด้าน People & Operations

คุณณภาภัช หงสประภาส Head of People & Operations ได้เล่าให้ฟังว่า ย้อนกลับไป 4-5 ปี ที่ Digital Transformation Agile เริ่มเข้ามา Fail Fast, Fail Often เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะความจริงกล้าตัดสินใจหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะทำไม่ได้เลย Culture ขององค์กรที่จะทำให้ Innovation เกิดคือการคุยภาษาเดียวกันพูดตรงกันและพูดกันแบบตรงๆ เป็นการช่วยให้น้องๆ กล้าที่จะเดินเข้ามาแล้วบอกเราว่าอยากทำอะไร ซึ่งก็มีทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ จาก Innovation ต่างๆ ที่เรามี ล้วนเกิดจากความอยากรู้ มีความอยากลองแล้วต้องมีพื้นที่ให้ลอง และที่สำคัญมากๆ คือต้องมีต้นทุนให้ลองด้วย แต่ไม่ว่ายังไงก็ตามเราต้องมีการ Commit ร่วมกันว่าหากไม่สำเร็จเราก็ต้องไปต่อ จะไม่มานั่งหาคนผิด สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็น Lesson Learned

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญสำหรับ ARV คือเรื่องคน ต้นทุนด้านทรัพยากรบุคคลของ ARV อยู่ที่ 60-70 % ต้นทุนของ Startup ด้านคนนั้นแพงมาก เพราะเป็นคนคิดเทคโนโลยี เป็นคนทำให้ทุกอย่างเกิดการขับเคลื่อนได้ เมื่อวิธีคิดการทำงานเปลี่ยน การบริหารจัดการก็ต้องเปลี่ยน เราจะเป็น Venture Builder ได้ ต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ทีมปล่อยของออกมา ทีมต้องมี Mindset อย่างไร ซึ่ง Startup แต่ละที่ก็จะมี Pain Point ไม่เหมือนกัน คนเก่ง Tech อาจจะไม่ถนัดเรื่องบริหารหรือเรื่องคน ดังนั้น เรื่อง Share Service จึงสำคัญ เราต้องออกแบบโมเดลที่เหมาะสมกับองค์กร และกลับไปแก้ Pain Point อะไรที่ไม่เวิร์กค่อยกลับมาคิดกันใหม่

“การจะสร้างให้สำเร็จไม่ใช่ความเก่งและเทคโนโลยีแต่จริงๆ แล้วคือ Talent”

ในช่วง Deep Tech ไทยกำลังเป็น Price War ตอนนี้ตลาด Tech หรือตลาดหมอเจอปัญหาเดียวกันคือไม่มีบุคลากร เด็กที่เรียนจบ Tech มาใหม่เงินเดือนสูงและแพงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตอนนี้ ARV ก็เริ่มหา Source จาก Global มาสักพักหนึ่งแล้ว เพราะความตั้งใจของ ARV คือไป Global แน่นอน บริษัทอื่นอาจจะใช้ Salary Structure แยกกัน แต่ ARV ใช้ Structure เดียวกันทั้งในไทยและต่างประเทศ 

Talent ที่ ARV เฟ้นหาไม่ใช่เพียงแค่ที่มีอยู่แล้วในตลาดเท่านั้น ARV ยังพยายามเดินสายไปตามมหาวิทยาลัย สร้าง Collaboration ต่างๆ เพื่อ Inspire เด็กๆ รุ่นหลัง ข้อดีของการไปเปิดตลาดหรือ Open house ที่ต่างประเทศ ได้ทำให้เด็กไทยเห็นว่าประเทศไทยก็มี Deep Tech อย่าง ARV สิ่งที่ ARV ต้องการจะสื่อ คือ ARV ไม่ได้ดึงดูดทุกคนได้เพียงแค่เรื่องของเงินเดือนอย่างเดียว แต่เค้าจะมองสิ่งที่เราทำและ Culture ในการที่เค้าจะเลือกมาทำงานกับเรา

สิ่งที่สัมผัสได้จาก ARV คือทุกคนจะ Believe มาจากข้างใน และพูดตรงกันว่า ARV เป็น Opportunity of a Lifetime เรื่องคนและ Culture เป็นเรื่องที่ ARV ให้ความสำคัญ การเลือกคนที่ใช่และวัฒนธรรมที่ใช่ไม่ใช่เรื่องง่าย ARV มักจะบอก Candidate เสมอว่าพวกเขาไม่ได้ตามหาลูกน้องแต่มาหาทีม การทำงานเป็นทีมคือการที่ทุกฝ่ายเห็นภาพเดียวกันเข้าใจไปพร้อมๆ กัน วางแผนงานไปพร้อมๆ กัน ARV เกิดจากความเชื่อของคนกลุ่มเล็กๆ ผู้บริหารที่ก่อตั้ง ARV ก็มีความเชื่อเหมือนว่า ARV จะเติบโตได้ พอพวกเขาเชื่อแล้วเราลงมือทำจนเดินทางมาถึงวันนี้ จนกลายเป็น Motto ในใจของ ARV  “I Dream I Dare We Do” ที่ช่วยคิดขึ้นมาร่วมกัน

นับเป็นโอกาสที่ดีของ ADGES ได้มาเจอคนเก่งๆ หลากหลายท่าน ขอขอบคุณ สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ร่วมกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) อีกครั้งที่เปิดบ้านต้อนรับ และแบ่งบันเรื่องราวถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ ARV มีวันนี้ รวมไปถึงบทเรียนและเส้นทางกว่าจะมาก่อตั้งเป็นบริษัท และแนวคิดการสร้าง Culture ที่สำคัญที่ทำให้มีเด็กๆ รุ่นหลังอยากร่วมงานด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

how can we help you?

If you have questions or require more information about our services.