8 Key Insights 5 ลักษณะการทำงานที่ทำให้ทีมไม่มีประสิทธิภาพ (5 Dysfunctions of a Team)

by Patrick Lencioni

5 ลักษณะการทำงานที่ทำให้ทีมไม่มีประสิทธิภาพ

ลักษณะการทำงานที่ผิดปกติส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพของทีม แต่สำหรับคนที่มีภาวะผู้นำและทักษะในการจัดการที่ดีจะสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้ โดย 5 ลักษณะการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของทีม ได้แก่

1. ไม่ใส่ใจผลลัพธ์

เกิดจากการที่แต่ละคนให้ความสนใจกับความสำเร็จของตนเอง และลืมโฟกัสเป้าหมายส่วนรวม เพื่อให้ทีมมุ่งเน้นผลลัพธ์ร่วมกันสิ่งสำคัญคือต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการประเมินผล

2. หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ

เพราะผลลัพธ์ของทีมขึ้นอยู่กับความสามารถของสมาชิกในทีม ทีมที่หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ทำให้พนักงานที่มีความทุ่มเทรู้สึกท้อแท้ (เฟล) เราสามารถแก้ไขโดย ทบทวนความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอและให้รางวัลแก่ความสำเร็จของทีมแทนการให้เป็นรายบุคคล

3. ขาดความมุ่งมั่น

หากสมาชิกในทีมหลีกเลี่ยงการพูดคุยกันในหัวข้อที่ขัดแย้งหรือได้ข้อสรุปที่ไม่ชัดเจน ทีมก็ไม่สามารถทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของทีมได้ แก้ไขได้โดยการบังคับให้สรุปเรื่องสำคัญที่ต้องตัดสินใจทั้งหมดที่เกิดขึ้นในที่ประชุม หารือเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือ worse case ที่อาจจะเกิดขึ้น หากสามารถทำได้ ทีมของคุณจะเข้าใจทิศทางการทำงานและสามารถจัด piority ได้อย่างชัดเจน

4. กลัวความขัดแย้ง

ทีมที่กลัวความขัดแย้งมักจะเกิดเหตุการณ์ที่สมาชิกในทีมลังเลที่จะออกความคิดเห็น เพราะกลัวว่าจะเกิดความขัดแย้งภายในทีมขึ้น ส่งผลให้ทีมของคุณจะไม่เกิดไอเดีย หรือความคิดที่หลากหลาย คุณสามารถช่วยเช็คความขัดแย้งได้โดยการเสนอไอเดียที่ไม่ดีในที่ประชุม ทำให้สมาชิกในทีมเกิดการคัดค้าน ซึ่งจะทำให้ทีมเห็นว่า การแสดงความคิดเห็นคัดค้านบางครั้งก็เป็นประโยชน์ต่อทีม ส่งแลให้ทีมเกิดแนวคิดที่หลายหลาก อีกทั้งยังสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

5.ขาดความไว้วางใจ

ทีมที่ขาดความไว้วางใจจะปกปิดจุดอ่อนและข้อผิดพลาดซึ่งกันและกัน เกิดความลังเลที่จะให้ความช่วยเหลือเมื่ออยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของตนเอง และหลีกเลี่ยงการประชุมหรือใช้เวลาร่วมกัน คุณสามารถเอาชนะได้ด้วยการให้สมาชิกในทีมมุ่งเน้นไปที่จุดแข็งของคนในทีมรวมถึงตนเองด้วย วิธีนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจรวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกในทีม และเสนอความช่วยเหลือในสิ่งที่ตนเองถนัด คุณจะได้ทีมที่รู้สึกสบายใจที่จะได้ทำงานร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน

326976607 3591898144372445 1625497490508017789 n

8 Key Insights 5 ลักษณะการทำงานที่ทำให้ทีมไม่มีประสิทธิภาพ

1 ทีมกําลังสร้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป

แต่ละขั้นตอนของการสร้างทีมควรได้รับความพึงพอใจ หากในทีมขาดความเชื่อใจกัน ก็จะไม่เกิดการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาและข้อตกลงที่ดีร่วมกัน

2 ความไว้วางใจมีรากฐานมาจากจุดอ่อน

คุณไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อใจแบบเดิมๆ คุณต้องการความเชื่อใจที่เกิดจากความกล้าที่จะบอกจุดอ่อนของตนเอง สมาชิกในทีมต้องรู้สึกสบายใจที่จะยอมรับจุดอ่อนของตนเองและพูดออกมาเมื่อพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในทีม

3 ทุกคนต้องการการรับฟัง

กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ สมาชิกทุกคนในทีมจำต้องการได้รับการรับฟังเพื่อให้เข้าถึงทุกระดับขั้นขององค์กร เราไม่ควรปฏิเสธข้อเสนอแนะโดยไม่พิจารณาก่อน แม้ว่าอาจจะดูเป็นเรื่องยากในการหรือเป็นไปไม่ได้ในช่วงแรกก็ตาม

4 การทำให้ผู้อื่นพอใจบางครั้งอาจไม่ช่วยแก้ปัญหา

ไม่มีใครอยากให้คนอื่นไม่สบายใจ แต่ถ้าคุณเห็นอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือไม่พอใจ คุณต้องพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างถูกวิธี การพยายามเอาอกเอาใจผู้อื่นนำไปสู่การสื่อสารที่ไม่ดี

5 ชนะหรือแพ้ขึ้นอยู่กับทีม

วัฒนธรรมที่ปราศจากการตำหนิเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสำเร็จ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในทีม อย่าหาคนมาตำหนิ ควรฉลองความสำเร็จและก้าวข้ามความท้าทายไปด้วยกัน

6 ทีมต้องมาก่อนเสมอ

เมื่อสมาชิกในทีมให้ความสําคัญกับความสําเร็จของตนเองมากเกินไป ในการทำงานร่วมกัน เราไม่ควรยึดตนเองเป็นจุดศูนย์กลางและควรเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จ

7 เป็นเรื่องผิดปกติเมื่อทีมไม่มีความขัดแย้ง

เมื่อในทีมไม่เกิดความขัดแย้ง เราอาจจะเข้าใจผิดคิดว่านั่นคือความปรองดอง แต่จริงๆ แล้ว บางคนอาจจะเก็บปัญหาไว้ภายในใจ การมีความขัดแย้งแล้วเกิดการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องจะช่วยให้ทีมก้าวไปหน้า 

8 การประชุมต้องเกิดการมีส่วนร่วม

เพื่อให้ได้การประชุมทีมที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการถกเถียงหรือแสดงความคิดเห็นกัน หากไม่มีประเด็นพูดคุยกันเพื่อให้เกิดการกระตุ้นหรือแรงผลักดัน ก็แปลว่าการชุมทีมนั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ

Blog 1600 × 500px 13

สนใจนำเครื่องมือและหลักสูตรเพื่อนำไปใช้ในการจัดการบริหาร Team Management หรือการสร้าง Team Building และการพัฒนาบุคลากรในองค์กร สามารถปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ADGES e-mail: marketing@adges.net หรือ 088-028-1111 หรือเว็บไซต์ www.adges.net

หมายเหตุ: ADGES เป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาทางด้านการจัดการรวมถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับสูงและทีมงาน หนึ่งในพันธกิจของ ADGES คือการแบ่งปันองค์ความรู้ในเรื่องของการบริหารและการพัฒนาตนเองเพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนา Learning Community ไปด้วยกัน ใน Campaign เรื่อง 50 Best Selling Books ทาง ADGES ได้สรุป Key Highlights ของหนังสือดังกล่าว ทางบริษัทไม่ได้แอบอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้อบรมหรือฝึกสอนให้กับบุคคลหรือกับองค์กรแต่อย่างใด อย่างที่ปรากฏอย่างชัดเจนในเนื้อหาและบทความข้างต้น และทางบริษัทของใช้สิทธิ์ในทางกฏหมายแก่ บุคคล องค์กร และหน่วยงานใดที่พยายามจะเบี่ยงเบนวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ในการทำหน้าที่ของบริษัทต่อไป

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง